นายกฯ ลงพื้นที่มหาสารคาม สั่งเร่งปรับปรุงปตร.D5 (ห้วยน้ำเค็ม) ให้เสร็จโดยเร็ว

นายกฯ ลงพื้นที่มหาสารคาม สั่งเร่งปรับปรุงปตร.D5 (ห้วยน้ำเค็ม) ให้เสร็จโดยเร็ว

นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนมหาสารคาม สั่งเร่งปรับปรุงประตูระบายน้ำ (ปตร.) D5 (ห้วยน้ำเค็ม) ให้เสร็จโดยเร็วรองรับฝนปี 68

20  ธันวาคม 2567 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม โดยมี นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน นายไพฑูรย์ ศรีมุก ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และรายงานสรุปผลการดำเนินงาน ณ โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำห้วยน้ำเค็ม ตำบลยางท่าแจ้ง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 

นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่า ในพื้นที่ลุ่มน้ำชี-มูล มีเขื่อนขนาดใหญ่ 9 แห่ง ได้แก่ เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ เขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำพะเพลิง เขื่อนลำแซะ เขื่อนมูลบน จังหวัดนครราชสีมา เขื่อนลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี มีปริมาณน้ำเก็บกักรวมกัน 7,547 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ปัจจุบัน (18 ธ.ค. 67) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 5,652 ล้าน ลบ.ม. (75% ของความจุอ่างฯ รวมกัน)

นายกฯ ลงพื้นที่มหาสารคาม สั่งเร่งปรับปรุงปตร.D5 (ห้วยน้ำเค็ม) ให้เสร็จโดยเร็ว

สำหรับในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ มีเฉพาะอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 17 แห่ง ความจุเก็บกักรวมกัน 82 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 54 ล้าน ลบ.ม. (66% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) มีอาคารชลประทานที่ กรมชลประทาน ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2556 คือ ประตูระบายน้ำ (ปตร.) D5 (ห้วยน้ำเค็ม) สำหรับใช้ในการป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ได้ประมาณ 30,000 ไร่ มีศักยภาพระบายน้ำได้สูงสุด 15 ลบ.ม./วินาที หรือวันละ 1.3 ล้าน ลบ.ม.

นายกฯ ลงพื้นที่มหาสารคาม สั่งเร่งปรับปรุงปตร.D5 (ห้วยน้ำเค็ม) ให้เสร็จโดยเร็ว

ทั้งนี้ เมื่อปี 2564 – 2565 ได้เกิดเหตุการณ์อุทกภัย ทำให้คันดินด้านท้ายอาคารที่ทำหน้าที่ป้องกันน้ำจากแม่น้ำชีไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ชลประทานชำรุดเสียหาย ทำให้ ปตร.D5 (ห้วยน้ำเค็ม) ไม่สามารถป้องกันน้ำจากแม่น้ำชีได้อย่างเต็มศักยภาพ กรมชลประทานได้วางแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะเร่งด่วน ด้วยการวางแผนปรับปรุงคันดินด้านท้าย ปตร. โดยการก่อสร้างกำแพงป้องกันตลิ่งยาว 60 เมตร และขุดลอกลำห้วยต่อเนื่องลงไปจนถึงแม่น้ำชีประมาณ 700 เมตร หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งให้กับพี่น้องชาวอำเภอเชียงยืนและอำเภอโกสุมพิสัย ได้ประมาณ 30,000 ไร่ รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และส่งเสริมการประมงในฤดูแล้ง ของประชาชนในพื้นที่ตำบลยางท่าแจ้งและบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย

นายกฯ ลงพื้นที่มหาสารคาม สั่งเร่งปรับปรุงปตร.D5 (ห้วยน้ำเค็ม) ให้เสร็จโดยเร็ว

ในการนี้ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ กรมชลประทาน เร่งดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมคันดินและก่อสร้างกำแพงป้องกันตลิ่งประตูระบายน้ำ D5 (ห้วยน้ำเค็ม) ให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2568 และเร่งดำเนินการแผนงานก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยระบบไฟฟ้า เพื่อบรรเทาอุทกภัยเมืองมหาสารคาม 3 แห่ง ในปีงบประมาณ พ.ศ.2569 ได้แก่ สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าท่าสองคอนแห่งที่ 2 ตำบลท่าสองคอน สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้ากุดแดง ตำบลเกิ้ง และสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าท่าตูมแห่งที่ 2 ตำบลท่าตูม เพื่อป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องชาวมหาสารคามต่อไป

นายกฯ ลงพื้นที่มหาสารคาม สั่งเร่งปรับปรุงปตร.D5 (ห้วยน้ำเค็ม) ให้เสร็จโดยเร็ว นายกฯ ลงพื้นที่มหาสารคาม สั่งเร่งปรับปรุงปตร.D5 (ห้วยน้ำเค็ม) ให้เสร็จโดยเร็ว นายกฯ ลงพื้นที่มหาสารคาม สั่งเร่งปรับปรุงปตร.D5 (ห้วยน้ำเค็ม) ให้เสร็จโดยเร็ว