เบื้องหลัง.. ไทยไขปริศนา 'โคโรน่าพันธุ์ใหม่' เจอเชื้อก่อนจีนเปิดเผยรหัส 2 วัน
ไทยนับเป็นประเทศแรกที่สามารถยืนยันพบผู้ป่วยติดเชื้อ “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019” รายแรกนอกพื้นที่เมืองอู่ฮั่น เบื้องหลังการเฝ้าระวัง คัดกรอง ป้องกัน จนถึงการที่สามารถยืนยันเชื้อไวรัสได้ ไม่ใช่เรื่องง่าย ท่ามกลางข้อมูลที่ค่อนข้างจำกัดจากจีน!!!
สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี รองหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า หลังจากที่กรมควบคุมโรค(คร.) ได้คัดกรองพบผู้เข้าเกณฑ์สงสัยต้องเฝ้าระวังที่สนามบินสุวรรณภูมิ และนำตัวเข้ารับการรักษาที่ห้องแยกโรคความดันลบสถาบันบำราศนราดูร และตรวจเชื้อเบื้องต้นไม่พบเชื้อที่ก่อโรคระบบทางเดินหายใจ 33 ชนิดที่รู้จักมาก่อน จึงส่งตัวอย่างเชื้อให้ศูนย์ฯทำการตรวจ โดยระบุโจทย์ว่า “สงสัยจะเป็นโรคใหม่ในจีน ซึ่งไม่รู้โรคอะไร”
ศูนย์ดำเนินการตรวจมุ่งไปที่ไวรัส 2 ตระกูล คือ โคโรน่า และอินฟลูเอนซา เนื่องจากช่วงเวลานั้นจีนยังไม่เปิดเผยว่าเป็นไวรัสตระกูลโคโรน่า โดยใช้วิธีพิเศษเพราะการตรวจวิธีปกติไม่สามารถตรวจเจอเชื้อ คือ เพิ่มปริมาณไวรัสแบบทั้งตระกูล(Family wide PCR) แล้วถอดรหัสพันธุกรรม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงในการตรวจต่อ 1 ตัวอย่าง 1.2 แสนบาท ก่อนนำมาเปรียบเทียบรหัสพันธุกรรมจากธนาคารรหัสพันธุกรรมโลก
ในวันที่ 9 ม.ค.63 ไทยพบว่า เป็นเชื้อไวรัสตระกูลโคโรน่า แต่ไม่สามารถระบุสายพันธุ์ย่อยได้
แต่พบว่า มีความคล้ายคลึงกับเชื้อที่ก่อโรคซาร์ส เพราะไม่มีรหัสพันธุกรรมของสายพันธุ์นี้ในธนาคาร
ม่สามารถระบุสายพันธุ์ย่อยได้ แต่พบว่ามีความคล้ายคลึงกับเชื้อที่ก่อโรคซาร์ส เพราะไม่มีรหัสพันธุกรรมของสายพันธุ์นี้อยู่ในธนาคาร
..กระทั่งหลังจากไทยพบลักษณะเชื้อเช่นนี้ 2 วัน ในวันที่ 11ม.ค.2563 ทางการจีนนำรหัสพันธุกรรรมไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่พบในเมืองอู่ฮั่นใส่ในธนาคาร และระบุว่าเป็นไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2019 ทำให้ไทยสามารถนำรหัสพันธุกรรมของไวรัสมาเทียบเคียงและพบว่าตรงกับที่ตรวจเจอจากผู้ป่วยชาวจีนในไทย
“เท่าที่มีข้อมูลตอนนี้ ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019นี้ มีรหัสพันธุกรรมใกล้เคียงกับเชื้อที่พบในค้างคาวมากที่สุดที่ประมาณ 89 % ซึ่งเป็นค้างคาวมงกุฎซึ่งพบในจีน 2 สปีชี่ส์ คือ ค้างคาวเกือกม้าของจีน (Rhinolophus sinicus) ไม่พบในไทย และค้างคาวมงกุฎยอดสั้นเล็ก (Rhinolophus thomast) พบในไทย ส่วนที่เชื้อจากค้างคาวจะอาศัยสัตว์ทะเลเป็นตัวกลางปรับเปลี่ยนสารพันธุกรรม ในการมาสู่คนนั้น ค่อนข้างยาก เพราะค้างคาวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม การจะเป็นตัวกลางก็น่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกัน แต่ก็อยู่ที่ความสามารถของตัวเชื้อด้วย” สุภาภรณ์กล่าว
หลังจากไทยพบลักษณะเชื้อ 2 วัน ในวันที่ 11ม.ค.2563 ทางการจีนนำรหัสพันธุกรรรมไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่พบในเมืองอู่ฮั่นใส่ในธนาคาร และระบุว่าเป็นไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2019 ทำให้ไทยสามารถนำรหัสพันธุกรรมของไวรัสมาเทียบเคียง และพบว่าตรงกับที่ตรวจเจอจากผู้ป่วยชาวจีนในไทย
สุภาภรณ์ บอกด้วยว่า จากการที่ศูนย์ฯได้ร่วมกับกรมควบคุมโรค กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินการสำรวจไวรัสที่พบในสัตว์ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2553-2562 ใน 9 จังหวัด ได้แก่ เลย ชลบุรี ราชบุรี เชียงใหม่ ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา พังงา สระแก้ว และตราด โดยส่งตรวจในห้องแล็บกว่า 42,000 ตัวอย่าง พบว่า เป็นไวรัสที่รู้จักแล้ว 402 ชนิด และไวรัสใหม่ที่ไม่รู้จัก 458 ชนิด ส่วนใหญ่พบในค้างคาว และเป็นไวรัสตระกูลโคโรน่า
แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ อัลฟา(AlphaCoV) เบต้าโค เอ(BetaCov A) เบต้าโค บี (BetaCov B) เบต้าโค ซี(BetaCov C) และเบต้าโค ดี (BetaCov D) โดยกลุ่มที่สนใจเป็นพิเศษ คือ เบต้าโค บี ซึ่งกลุ่มเดียวกับที่ก่อให้เกิดโรคซาร์สและตัวระบาดที่อู่ฮั่น ส่วนอัลฟายังไม่พบรายงานก่อโรคในคน
ขณะที่ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อธิบายว่า ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่าหายนะที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์มีส่วนหรือความเป็นไปได้ที่จะเกิดจากเชื้อโรคโดยเฉพาะไวรัสที่ส่งผ่านมาจากสัตว์โดยตรงสู่คน หรือมีตัวกลางจากแมลง ยุง เห็บ ไร ริ้น
ทั้งนี้ เมื่อกว่า 20 ปี ที่แล้ว เริ่มเป็นที่รับทราบว่า ไม่ต่ำกว่า 60-70%ของเชื้อก่อโรคในคนมีต้นตอจากสัตว์ทั้งสิ้น และมีศักยภาพ ในการทำให้เกิดโรคอุบัติใหม่ที่จะสร้างผลกระทบในวงกว้าง ทั้งจากการเกิดโรคระบาดและในการกระทบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะจากไวรัสที่สามารถผันแปรรหัสพันธุกรรม ซึ่งเอื้อต่อการตั้งตัวในสัตว์ต่างชนิดจากตระกูลแรกและเป็นหนทางสู่คนในที่สุด
การที่เชื้อจะเข้าคนได้นั้นจะต้องมีการสมยอม ให้เชื้อผ่านเข้าเซลล์และเนื้อเยื่อได้แต่แม้จะมีการสมยอมก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเกิดโรคหรือมีอาการเสมอไป
ไม่ต่ำกว่า 60-70%ของเชื้อก่อโรคในคนมีต้นตอจากสัตว์ทั้งสิ้น
และมีศักยภาพในการทำให้เกิดโรคอุบัติใหม่ที่จะสร้างผลกระทบในวงกว้าง
ทั้งจากการเกิดโรคระบาดและในการกระทบเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะจากไวรัสที่สามารถผันแปรรหัสพันธุกรรม ซึ่งเอื้อต่อการตั้งตัว
ในสัตว์ต่างชนิดจากตระกูลแรกและเป็นหนทางสู่คนในที่สุด
กระบวนการที่ก่อให้เกิดโรค จำเป็นจะต้องมีขั้นตอนหลบหลีก จากระบบป้องกันภัยของคนและเมื่อมีการตั้งตัวโดยเริ่มขยายจำนวนได้แล้ว จึงจะมีกลไกในการทำร้ายเซลล์ไม่ว่าจากการกระตุ้นให้มีการอักเสบมากเกินพอเหมาะพอควร หรือเป็นกระบวนการแฝงอาศัยอยู่ในเซลล์ดูดพลังงานจนเซลล์หมดกำลัง (bioenergetic failure) อีกทั้งไม่ยอมให้ระบบกำจัดสิ่งแปลกปลอมขจัดตัวเชื้อโรคออกจากเซลล์
“ความรุนแรงหรืออาการมีได้ตั้งแต่ อาการน้อยมากจนแทบไม่รู้สึกถึงรุนแรงมาก กระทั่งถึงเสียชีวิต เมื่อมีการสมยอมเกิดมีอาการแล้วอาจจะยังตัดกันไม่ขาด ยังคงหลบซอกซอนอยู่ในร่างกายตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นที่เดิม และเกิดโรคซ้ำซ้อนขึ้นมา แม้ว่าจะผ่านไปหลายเดือน จนเป็นปีก็ตาม เช่น ในโรคไข้เลือดออกอีโบล่า สมองอักเสบนิปาห์ และโรคซิกา (zika) โดยที่ในระหว่างที่มีการสมยอมนั้นยังมีการแพร่ให้คนอื่นได้ และเป็นกระบวนการสำคัญอีกอย่างในการพัฒนาการแพร่กระจายของเชื้อ โดยที่การติดต่อทางการหายใจ ถือเป็นขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพที่สุดของเชื้อโรค และเชื้ออุบัติใหม่เหล่านี้เนื่องจากคนไม่เคยสัมผัสมาก่อนดังนั้นจะไม่มีภูมิคุ้มกันเลย ทำให้โรคอาจจะมีความรุนแรงมาก” ศ.นพ.ธีระวัฒน์กล่าว
นสพ.ภัทรพล มณีอ่อน สัตวแพทย์ประจำกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บอกว่า ผลจากการทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สิ่งเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามมา ซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ มี 2 รูปแบบ คือ ภัยธรรมชาติ และโรคระบาดบางพื้นที่เกิดภัยธรรมชาติ บางพื้นที่เกิดโรคระบาดโรคติดต่อ และในบางกรณีเกิดขึ้นพร้อมๆกัน โดยเฉพาะโรคระบาด จากข้อมูลพบว่า โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นกว่า 70 %มาจากสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ป่า ถือเป็นแหล่งเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งหากอยู่ในตัวสัตว์ป่าเอง จะไม่ก่อโรคหรือแสดงอาการเจ็บป่วยออกมา แต่หากเชื้อโรคเหล่านี้ติดต่อสู่มนุษย์หรือสัตว์เลี้ยง ก็จะเกิดโรคและแสดงอาการเจ็บป่วยออกมา รวมถึงสามารถติดต่อสู่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้
ปัจจัยที่ทำให้เชื้อโรคจากสัตว์ป่าติดต่อสู่คน ได้แก่
1. ถิ่นอาศัยถูกบุกรุก ทำลาย หรือรบกวน สัตว์ป่าไม่มีที่อยู่ พฤติกรรมเปลี่ยน ออกมาอยู่ในพื้นที่ เดียวกันกับมนุษย์
2. ภัยธรรมชาติ ที่ทำลายสมดุลของสภาพแวดล้อม ระหว่างคนและสัตว์ป่า ทำให้ระบบนิเวศน์เปลี่ยนแปลง เช่น อุทกภัย อัคคีภัย เป็นต้น
3.อาชญากรรมสัตว์ป่า เป็นอีกปัจจัยคุกคามการอยู่รอดของมนุษยชาติที่สำคัญ เพราะสัตว์ป่าในขบวนการนี้ มักถูกจับจากธรรมชาติ ถูกเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ถูกจำกัดพื้นที่ กักขัง สัตว์จึงเกิดความเครียด
เมื่อร่างกายสัตว์เกิดความเครียด ภูมิคุ้มกันร่างกายจะลดลง โอกาสที่เชื้อโรคที่มีอยู่ในร่างกายจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น โอกาสที่จะแพร่กระจายเชื้อก็มีมากขึ้น
4.การบริโภคสัตว์ป่า เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ โดยเฉพาะ ขั้นตอนและกระบวนการประกอบอาหาร เช่น การฆ่า ผ่า ช าแหละ ซากสัตว์ป่า มีโอกาสที่สัมผัสกับสารคัดหลั่งต่างๆ ของสัตว์ป่า เช่น เลือด น้ำาลาย อุจาระ ปัสสาวะ โดยในสารคัดหลั่งเหล่านี้ สามารถตรวจพบเชื้อไวรัสต่างๆ ได้