โควิด-19 กระทบส่งออกสินค้าเกษตร 'นายกฯ' สั่งระดมแผนรับมือ
จีนเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทยเมื่อจีนต้องปิดประเทศทางกายภาพเพื่อจำกัดวงการแพร่ระบาดของโควิด-19 กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ก็หยุดชะงักตามไปด้วย ทำให้เส้นทางส่งออกสินค้าผลไม้ของไทยไปย้งจีนเฉลี่ยมากกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ต่อปีได้รับผลกระทบทันที
จีนถือเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทยเมื่อจีนต้องปิดประเทศทางกายภาพเพื่อจำกัดวงการแพร่ระบาดของโควิด-19 กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆก็หยุดชะงักตามไปด้วย ทำให้เส้นทางส่งออกสินค้าผลไม้ของไทยไปย้งจีนเฉลี่ยมากกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ต่อปีได้รับผลกระทบทันที
พีรพันธ์ คอทอง ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แก่งชาติ ที่มี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในส่วนของกระทรวงเกษตรฯได้รายงาน ถึงผลกระทบจากโควิด-19 ต่อผลผลิตด้านการเกษตรที่ส่งออกไปจีน เนื่องจากกรณีด่านศุลกาการของจีนมีมาตรการเข้มงวดในการตรวจกักกันคน และสินค้าเข้า-ออกมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการเคลียร์สินค้านำเข้า
“ในที่ประชุมพล.อ.ประยุทธ์ ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การส่งออกสินค้า การนำเข้า ปัจจัยการผลิต เป็นต้น ให้ประเมินผลกระทบและวิเคราะห์มาตรการป้องกันบรรเทาผลกระทบเพื่อเสนอคณะกรรมการและหรือคณะรัฐมตรี (ครม.)เพื่อผลักดันเป็นแผนปฎิบัติต่อไป”
สำหรับกระทรวงเกษตรฯนั้นอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ได้สั่งการให้ กรมส่งเสริมการเกษตรเร่งประชุม คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (ฟรุ้ตบอร์ด) ประเมินผลกระทบ และเร่งหามาตรการช่วยเหลือเกษตรกร และทำหนังสือสั่งการไปยัง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) อีก 1 ฉบับให้เร่งประเมินสถานการณ์และมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรเช่นกันเบื้องต้นผลกระทบโควิด-19 ที่ทำให้ส่งเข้าจีนไม่ได้หลายชนิด เช่น กล้วยไม้ ลำไย มังคัด ทุเรียน เป็นต้น
ทั้งนี้ วันที่ 1 มี.ค.2563 จะมีการส่งมอบทุเรียนจากไทยไปจีนล็อตแรก ในราคา 13 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งล็อตนี้ไม่น่ามีปัญหา แต่ล็อตต่อไปที่จะทะยอยออกมาประมาณ 5-6 หมื่นตันมูลค่าประมาณ 8-9 พันล้านบาท และอีก 3-4 หมื่นตัน มูลค่าประมาณ 5 พันล้านบาทที่จะส่งไปตลาดอื่น
นอกจากนี้จะนำ ผลกระทบสถานการณ์ภัยแล้งหามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป ซึ่งเรื่องนี้ สศก.และกรมส่งเสริมสหกรณ์ อยู่ระหว่างเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าหารือถึงผลกระทบ และหามาตรการรับมือในการประชุมคณะกรรมการนโยบายเกษตรและสหกรณ์ เพื่อนำข้อสรุปรายงานต่อเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระเกษตรฯต่อไปในสัปดาห์นี้
ส่วนกรณีสถานการณ์การบริโภคยังซบเซา เช่นในจีนเนื่องจากประชาชนเลือกที่จะซื่้อสินค้าจำเป็นมากกว่าผลไม้ไทยซึ่งถือเป็นของฟุ่มเฟือยนั้น เบื้องต้นคาดว่าการส่งออกผลไม้ตามฤดูกาล ทุเรียน มะม่วง ลำไย ลิ้นจี่ และมังคุด ซึ่งได้มีข้อตกลงการส่งออกผลไม้จากไทยไปจีน โดยจะส่งออกในช่วงเดือน เม.ย.- ส.ค. และมีตลาดหลักในการส่งออก ได้แก่จีน ฮ่องกง เวียดนาม เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นทั้งหมดนี้อาจได้รับผลกระทบ
การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น กระทรวงเกษตรฯได้เร่งกระจายผลผลิตในประเทศให้สูงขึ้น ด้วยการ ประชาสัมพันธ์คุณค่าทางอาหาร และ หรือใช้ช่องทางการค้าออนไลน์ การขนส่งในประเทศเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคให้มากขึ้น ตั้งแต่ต้นฤดูกาล เปิดตลาดใหม่ที่มีศักยภาพและกำลังซื้อสูง และขอให้ชะลอการเก็บเกี่ยวผลไม้บางชนิด ให้ช้าลงกว่าเดิม 7-15 วัน เช่น ลำไย ทุเรียน เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของผลผลิต
จากรายงานข่าวจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) หรือทูตพาณิชย์ ในภูมิภาคจีน ทั้ง 8 แห่ง ได้แก่ เซี่ยงไฮ้ กวางโจว คุนหมิง เซี่ยเหมิน เฉิงตู หนานหนิง ชิงต่าว ฮ่องกง และส่วนที่2 มะนิลา นั้น ได้รายงานสถานการณ์ล่าสุด(24 ก.พ.)ว่า สถานการณ์นำเข้าผลไม้จากไทยผ่านด่านR3A มีการนำเข้าเป็นไปปกติ มีการทยอยนำเข้าลำไยจากไทยปริมาณ 32 ตันต่อวัน อย่างไรก็ตาม คาดว่าการนำเข้าผลไม้อาจปรับตัวลดลงเนื่องจากผู้นำเข้าส่วนใหญ่เป็นโรงแรม สถานบันเทิง ซุปเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งหลายแห่งปิดทำการและอาจไม่มีแผนนำเข้าผลไม้ไทยจึงคาดกว่าเฉพาะในมณฑลยูนนานอาจมีแนวโน้มนำเข้าผลไม้ไทยลดลง 50%
ด้านการนำเข้ามันสำปะหลังเส้นนั้น ก่อนหน้านี้ที่การระบายโควิด-19 เริ่มต้นทำให้มีการนำเข้าจำนวนมากและราคาสูง แต่ปัจจุบันแนวโน้มสถานการณ์ทรงตัวและอาจดีขึ้นทำให้จีนมีแผนที่จะทบทวนราคานำเข้ามันเส้นจากไทยก่อนตัดสินใจซื้อครั้งต่อไป
ส่วนสินค้าอื่นๆ ทูตพาณิชย์ ย้ำว่า การนำเข้าสินค้าอาหารสำเร็จรูปขนมขบเคี้ยวและเครื่องปรุงรสผ่านด่านเช่น ด่านรุ่ยลี่ มีการตรวจเช็คสินค้าที่เข้มงวด ต้องใช้เวลานานประมาณ 20-30 วันเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร จึงคาดว่าอาจทำให้สินค้าไทยที่จะเข้าไปในยูนนานมีแนวโน้มลดลง50%
ปัจจุบันสถานการณ์โควิด -19 เปลี่ยนแปลงทุกวัน และมีทีท่าว่าจะกระจายออกไปทั่วโลก ดังนั้นการยกจีนโมเดลเพื่อประเมินและรับมือกับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้จึงเป็นสิ่งที่น่านำปถอดบทเรียนอย่างยิ่ง