ป่วยโควิด ตาย 0.97% เบาหวานร่วม 50% ปัจจัยเสี่ยงสนามมวย

ป่วยโควิด ตาย 0.97% เบาหวานร่วม 50% ปัจจัยเสี่ยงสนามมวย

สธ.แถลง ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 102 ราย ตายเพิ่ม 3 ราย ระบุผลวิเคราะห์อัตราป่วยตาย 0.97% โรคประจำตัวที่พบร่วม คือ เบาหวาน 50% และปัจจัยเสี่ยงมาจากสนามมวย เดินทางต่างประเทศ อาชีพเสี่ยง สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน สถานบันเทิง

เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงข่าวสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ประจำวันนี้ว่า ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น 102 ราย รวมยอดผู้ติดเชื้อสะสม 2,169 ราย ใน 66 จังหวัด เสียชีวิตเพิ่ม 3 ราย เป็นชายไทย 2ราย คือ ชายไทยอายุ 46 ปี อาชีพรับจ้าง ประวัติเดินทางกลับมาจากอังกฤษ และชายไทยอายุ 30 ปี อาชีพก่อสร้าง มีประวัติการดื่มสุรา และชาวต่างชาติ 1 ราย เป็นผู้ป่วยชาย สัญชาติสวิตเซอร์แลนด์ อายุ 82 ปี มีโรคประจำตัว โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รวมยอดผู้เสียชีวิต 23 ราย หายแล้วกลับบ้านได้เพิ่มขึ้น 62 ราย รวมยอดหายแล้วกลับบ้านได้ 674 ราย และรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 1,472 ราย ทั้งนี้ เป็นผู้ป่วยติดเชื้อ สัญชาติไทย 1,857 ราย สัญชาติอื่นๆ และรอตรวจสอบ 311 ราย

โดยจำนวนผู้ป่วยยืนยันจำแนกตามพื้นที่ที่รักษา กทม.และนนทบุรี 1,131 ราย ภาคเหนือ 85 ราย ภาคกลาง 333 ราย ภาคภาคใต้ 322 ราย ส่วนกลุ่มอายุยังคงเป็นกลุ่มวัยทำงาน 20-29 ปี กลุ่มอายุที่สูงสุด มีจำนวน 522ราย สัดส่วนหญิง:ชาย คือ 1:1.26 อายุเฉลี่ย 39 ราย อายุสูงสุด 86 ปี อายุน้อยสุด 1 เดือน

158606923729

นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ 102 รายนี้ สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้ กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน 48 ราย ได้แก่ สถานบันเทิง 2 ราย พิธีกรรมทางศาสนา 2 ราย และสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีรายงานมาก่อนหน้านี้ 44 ราย (ส่วนใหญ่ คือ กทม.14 ราย ภูเก็ต 8 ราย สมุทรปราการ 6ราย )

กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 42 ราย เป็นกลุ่มคนที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ 14 ราย เป็นคนไทย 13 ราย (ส่วนใหญ่มาจากอังกฤษ 7ราย เป็นนักศึกษาและทำงานร้านอาหาร) ชาวต่างชาติ 1 ราย สัมผัสผู้เดินทางจากต่างประเทศ 2 ราย ไปสถานที่ชุมนุม เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัด สถานที่ท่องเที่ยว 5 ราย กลุ่มอาชีพเสี่ยง เช่น ทำงานในสถานที่แออัด หรือทำงานใกล้ชิดสัมผัสกับชาวต่างชาติ 19 ราย(ส่วนใหญ่ คือภูเก็ต 10 รายซึ่งเป็นพนักงานนวด 5 ราย)และบุคลากรทางสาธารณสุข 2 ราย กลุ่มที่ 3 อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 12 ราย

158606926143

เมื่อจำแนกตามแผนที่แสดงจังหวัดที่มีผู้ป่วยยืนยันสะสมโควิด-19 มีจำนวน 2,169 ราย ใน 66 จังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ 5 เม.ย.2563 แบ่งเป็น กทม.1,011 ราย นนทบุรี 137 ราย ภูเก็ต 131 ราย สมุทรปราการ 108 ราย ชลบุรี 68 ราย ยะลา 52 ราย ปัตตานี 45 ราย สงขลา 37 ราย เชียงใหม่ 36 ราย ปทุมธานี 28 ราย และอยู่ระหว่างสอบสวน 179 ราย นอกจากนั้น 11 จังหวัดที่ยังไม่รายงานการรับรักษาผู้ป่วย ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยนาท ตราด น่าน บึงกาฬ พังงา พิจิตร ระนอง สตูล สิงห์บุรี และอ่างทอง

158606928380

สำหรับ แผนที่แสดงจังหวัดที่รับรักษาผู้ป่วยยืนยันรายใหม่ จำนวน 102 ราย แบ่งเป็น กทม. 34 ราย ภูเก็ต (อาชีพเสี่ยง 10 ราย ผู้สัมผัสผู้ป่วย 8 ราย ) 24 ราย สมุทรปราการ 9 ราย ชลบุรี 8 ราย นนทบุรี 7 ราย เชียงใหม่ 3 ราย ฉะเชิงเทรา,นราธิวาส,พัทลุง,ลำปาง 2 รายนครราชสีมา,ประจวบคีรีขันธ์,ปราจีนบุรี,ปัตตานี,พระนครศรีอยุธยา,ยะลา,สกลนคร,สระแก้ว,สุรินทร์ 1 ราย

158606930053

นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนั้นได้มีการวิเคราะห์สถานการณ์ผู้ป่วยเสียชีวิตโรคติดเชื้อ ไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค.-4 เม.ย.2563 พบผู้เสียชีวิต 20 ราย :อัตราป่วยตาย 0.97% ค่ามัธฐานอายุ 58.5 ปี (35-84ปี ) ชาย 18ราย หญิง 2 ราย โรคประจำตัวที่พบร่วม คือ เบาหวาน 50% ความดันโลหิตสูง 35% โรคไตเรื้อรัง 15% ไขมันในเลือดผิดปกติ 15% อื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง วัณโรค มะเร็ง

ทั้งนี้ สำหรับปัจจัยเสี่ยง สนามมวย 5 ราย เดินทางต่างประเทศ (มาเลเซีย อังกฤษ ปากีสถาน) 5 ราย อาชีพเสี่ยง (ขับรถสาธารณะ ร้านอาหาร พนักงานขายของ)5ราย สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน 2 ราย สถานบันเทิง/สถานพยาบาล/สถานที่แออัด อย่างละ 1 ราย

นอกจากนั้น ในส่วนของอัตราป่วยตายจำแนกตามเพศและกลุ่มอายุ พบว่า มีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ เพศชาย 1,124 ราย เพศหญิง 874 ราย และไม่พบข้อมูล 69 ราย อัตราการป่วยตาย เพศชาย:เพศหญิง 1.6:0.2 ปัจจัยเสี่ยงการเสียชีวิต กลุ่มอายุ 50-69 ปี9 ราย แบ่งเป็นไปต่างประเทศและพิธีทางศาสนา 4 ราย หรือ 50% อาชีพเสี่ยง 2 ราย สถานที่แออัด 1 ราย สถานพยาบาล 1 ราย และมวย 1 ราย ปัจจัยการเสี่ยงในอายุ 70 ปีขึ้นไป 8 ราย แบ่งเป็นมวย 4 ราย หรือ 50% สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน 2 ราย อาชีพเสี่ยง 1 ราย เดินทางต่างประเทศและสัมผัสผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย

นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า สำหรับลักษณะทางระบาดวิทยาของคนไทยที่ติดเชื้อจากต่างประเทศมี.ค.-4 เม.ย.2563 พบว่า ผู้ป่วยชาวไทยเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ได้แก่ ยุโรป 85 ราย มาเลเซีย 49 ราย อินโดนีเซีย 44 ราย กัมพูชา 26 ราย ปากีสถาน 14 ราย ญี่ปุ่น10 ราย สหรัฐอเมริกา9 ราย และอื่นๆ12 ราย ส่วนกิจกรรมในต่างประเทศ คือ ทำงาน 39% พิธีทางศาสนา 31 %นักเรียน/นักศึกษา 12% ท่องเที่ยว 4% และไม่ระบุ 14%

158606935619

เมื่อจำแนกตามที่มาของการติดเชื้อมี.ค.- เม.ย.2563 พบว่า การติดเชื้อภายในประเทศ 7 วันล่าสุด ในกทม.มีแนวโน้มลดลง แต่ในต่างจังหวัดค่อนข้างคงที่ ส่วนการติดเชื้อจากต่างประเทศ ใน 7 วันล่าสุดนั้น ต่างชาติไม่เกิน 10 รายต่อวัน ส่วนใหญ่ยุโรป และคนไทย 10-25 ราย ต่อวัน มาจากยุโรป ปากีสถาน และอินโดนีเซีย

นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวด้วยว่าขณะนี้ทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและภาคเอกชน หรือโรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชนนั้นได้มีการบูรณาการ และร่วมมือกันอย่างดี เพราะพละกำลังทั้งหมดไม่ได้อยู่ในภาครัฐอย่างเดียว ซึ่งตอนนี้มีตัวเลขที่กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้รวบรวมไว้ ต้องใช้เตียง 1,622 เตียง ในกระทรวงต่างๆ และภาคเอกชน พบว่า ภาคเอกชนมี 60 แห่ง คิดเป็น 31.1% ภาคการท่องเที่ยวและกีฬา 3 แห่ง 24 % กระทรวงสาธารณสุขมี 10 แห่ง 18% คณะแพทยศาสตร์ 9 แห่ง 17 % กรุงเทพมหานคร 8 แห่ง 8% และกระทรวงกลาโหมและสตช. 4 แห่ง 6% จะเห็นได้ว่าภาคเอกชนมีส่วนร่วมสูงมาก ทุกแห่งทำเพื่อพี่น้องประชาชน

158607158754

158607159573

158607160367

ทั้งนี้ ความร่วมมือด้วยการแพทย์ในพื้นที่กทม.และปริมณฑลของภาครัฐ และภาคเอกชน ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาและครองเตียงในภาคส่วนต่างๆ พบว่า โรงพยาบาลรัฐ 53.80% โรงพยาบาลเอกชน 275 เตียง จาก 650 เตียง หรือ 42.80% และสถานที่พักนอกโรงพยาบาล 111 เตียง จาก 510 เตียง หรือ 21.80% ดังนั้น ตอนนี้ถือเป็นความร่วมมือกันมาก โดยการคัดกรองทั้งหลายถ้าเป็นอาการเล็กๆ น้อย เอาโรงพยาบาลใกล้ประชาชนเป็นผู้คัดกรองก่อน ซึ่ง พบว่า มีการเข้าไปรับการคัดกรองในโรงพยาบาลเอกชนมากกว่า แต่เมื่อมีอาการหนัก โรงพยาบาลของรัฐจะเข้ารับการรักษามากกว่า ตอนนี้จึงเป็นความร่วมมือภาครัฐและเอกชนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประชาชนไม่ต้องกังวล