5 เรื่องต้องรู้! ‘ขอทบทวนสิทธิ์’ ก่อนอุทธรณ์ ‘เราไม่ทิ้งกัน’
เตรียมตัวให้พร้อมเพื่อ “ขอทบทวนสิทธิ์” ยื่นอุทธรณ์ “เราไม่ทิ้งกัน” มีอะไรที่ต้องไม่ลืมบ้างในการลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท วันที่ 20 เมษายน 2563 นี้
ทันที่ทีกระทรวงการคลังประกาศให้มีการยื่นอุทธรณ์ ขอทบทวนสิทธิ์ ในโครงการ เราไม่ทิ้งกัน มาตรการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท ดูจะเป็นความหวังให้กับผู้ลงทะเบียนที่ถูกระบบคัดกรองตรวจสอบตัดสินไม่ได้รับสิทธิขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งมียอดประชาชนไม่ผ่านเกณฑ์จะได้โอกาสอีกครั้งถึง 12 ล้านคน โดยทางคลังยืนยันว่า การยื่นอุทธรณ์ ขอทบทวนสิทธิ์ รับเงินเยียวยาเราไม่ทิ้งกัน ครั้งนี้ จะใช้วิธีการลงทะเบียนผ่านออนไลน์ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เท่านั้น
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :
เปิดขั้นตอน 'ขอทบทวนสิทธิ์' อย่างละเอียดที่นี่!
ห้ามลืม! หลักฐานสำคัญ ‘ยื่นอุทธรณ์เราไม่ทิ้งกัน’ ขอทบทวนสิทธิ รับ ‘เงินเยียวยา’ ห้าพัน!
ตรวจสอบสถานะ เงินเยียวยา 'เราไม่ทิ้งกัน' ถึงไหน ‘ขอทบทวนสิทธิ์’ ได้หรือไม่
โดยในการยื่นอุทธรณ์ ขอทบทวนสิทธิ รับเงินเยียวยา เราไม่ทิ้งกัน ในครั้งนี้นั้น ระบบจะมีความรวดเร็วในการทำงานเนื่องจากมีฐานข้อมูลของผู้ที่ลงทะเบียนเดิมไว้อยู่ก่อนแล้ว เพียงแค่ผู้ลงทะเบียนยื่นอุทธรณ์ขอทบทวนสิทธิ กรอกข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเป็นในเมนู ขอทบทวนสิทธิ เท่านั้น กรุงเทพธุรกิจ ได้รวบรวม 5 เรื่องสำคัญที่ผู้ที่ต้องการยื่นอุทธรณ์ขอทบทวนสิทธิ รับเงินเยียวยา เราไม่ทิ้งกันจะต้องไม่พลาดก่อนเข้าลงทะเบียน ดังนี้
- ใครที่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ขอทบทวนสิทธิบ้าง
หากย้อนกลับไปดูรายละเอียดในการลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท ตามมาตรการเราไม่ทิ้งกัน นั้นจะมี 3 เกณฑ์ใหญ่ระบุเอาไว้อย่างชัดเจน คือ
- ต้องเป็นแรงงาน ลูกจ้าง หรือประกอบอาชีพอิสระ เช่น วินมอเตอร์ไซค์ แท็กซี่ ร้านก๋วยเตี๋ยว ค้าขาย เป็นต้น แสดงว่าต้องมีงานทำ
- ต้องไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ส่วนสถานประกอบการขนาดเล็ก มีลูกจ้าง 2-3 คน เช่นร้านนวดแผนโบราณ ถ้าร้านถูกปิด แรงงานที่ทำงานในร้านนี้มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา
- ท่านได้รับผลกระทบจากโควิดอย่างไร จะต้องเป็นผลกระทบต่อรายได้ที่เป็นตัวเงิน เพราะมาตรการเป็นการชดเชยรายได้ที่หายไปจากโควิด
สรุปคือ สำหรับ คนที่ผ่านเกณฑ์ ในการ ขอทบทวนสิทธิ รับเงินเยียวยา เราไม่ทิ้งกัน คือ คนที่ประกอบอาชีพอิสระ ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม และ ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยได้คัดกรอง 4 กลุ่มอาชีพที่ได้รับการเยียวยา ได้แก่ กลุ่มผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาล แท็กซี่ วินมอเตอร์ไซค์ มัคคุเทศก์ แต่ถึงอย่างนั้น ก็ได้มีการเพิ่มกลุ่มผู้ที่ได้รับสิทธิเข้ามา เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา ได้แก่ นักเรียน กศน. และไกด์นำเที่ยวที่เป็นนักศึกษา
- คนที่กดยกเลิกการลงทะเบียนโดยไม่ได้ตั้งใจยื่นขอทบทวนสิทธิวันที่ 20 เมษายน นี้ได้ไหม
การเปิดให้ยื่นอุทธรณ์ขอทบทวนสิทธิในครั้งนี้ เป็นการเปิดให้ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับผลการตรวจสอบ และคัดกรอง ได้ยื่นเรื่องก่อน สำหรับประชาชนที่กดยกเลิกการลงทะเบียนด้วยความเข้าใจผิดจะเปิดให้ลงทะเบียนในระยะต่อไป
- ใช้หลักเกณฑ์อะไรมาตรวจสอบในการอุทธรณ์ขอทบทวนสิทธิในครั้งนี้
สำหรับผู้ลงทะเบียนที่มีความกังวลในระบบตรวจสอบกลัวว่าจะซ้ำรอยเหมือนครั้งที่ผ่านมา ทางคลังยืนยันว่าขอให้สบายใจได้ เพราะ ทางกระทรวงการคลังได้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่จริงเพื่อยืนยันตัวตน และความเดือดร้อนเพื่อความรวดเร็วในการตรวจสอบ
- ต้องเตรียมหลักฐานอะไรเพื่อเติมบ้าง
สิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมก็คือ รูปถ่าย หรือ หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ตนเองได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อาทิ ภาพถ่ายในร้านที่เคยทำงาน หากไม่มีสามารถใช้ค่าเช่าแผง ค่าน้ำ ค่าไฟ ตลอดจนหลักฐานอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นผลกระทบจากโควิด-19 ต่อการประกอบอาชีพจริงๆ
โดย ทางเจ้าหน้าที่ที่ลงพื้นที่นั้นจะมีการติดตั้งแอพพลิเคชั่น เพื่อส่งรูปถ่าย 3 ภาพมายังส่วนกลาง ประกอบด้วย ภาพของผู้ทบทวนสิทธิ ภาพบัตรประชาชน ภาพร้านค้าหรือการทำงาน หรือรูปที่ผู้ทบทวนสิทธิเคยถ่ายรูปร้านค้า หรือใช้เอกสาร จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่า เพื่อให้เป็นหลักฐานในการขอทบทวนสิทธิ์ แนะนำว่า หากสามารถนัดพบที่สถานที่จริงจะยิ่งเพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินการ
- จะได้รับเงินเยียวยาล่าช้าไหม
ผู้ผ่านการทบทวนสิทธิจะยังได้รับเงินเยียวยาครบทั้ง 3 เดือน เนื่องจากการให้เงินเยียวยา เราไม่ทิ้งกัน จะใช้วันลงทะเบียนในการเริ่มนับสิทธิ์ ดังนั้นการยื่น ขอทบทวนสิทธิ ไม่กำหนดระยะเวลาอาจต้องใช้เวลาพิจาณา และหากทราบผลการพิจารณาในเดือนพฤษภาคม ผู้ผ่านการทบทวนสิทธิจะได้รับเงินเยียวยาครั้งแรก 10,000 บาท เพราะได้รวมเงินเยียวยา 5,000 บาท ของเดือนเมษายนด้วย