'เราไม่ทิ้งกัน' 5 เรื่องที่ผู้ขอรับ 'เงินเยียวยา' ต้องรู้!
เปิด 5 เรื่องสำคัญที่ผู้ขอรับ "เงินเยียวยา" 5,000 บาท จากโครงการ "เราไม่ทิ้งกัน" ต้องรู้และต้องทำความเข้าใจ เพื่อปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและไม่เสียสิทธิ์
"เราไม่ทิ้งกัน" มาตรการเยียวยาผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ "โควิด-19" เป็นอีกหนึ่งโครงการที่มีรายละเอียดปลีกย่อยมาก และมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไข หรือสิทธิประโยชน์ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ผู้ที่เข้าร่วมโครงการเพื่อขอรับเงินเยียวยา จึงต้องติดตามข่าวสาร ทำตามข้อกำหนดเลยเงื่อนไข ให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เสียสิทธิ์ในการรับ "เงินเยียวยา" ในครั้งนี้
"กรุงเทพธุรกิจ" 5 เรื่องที่ผู้ขอรับเงินเยียวยาต้องรู้ โดยอัพเดทล่าสุดเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 63 ดังนี้
- ใครมีสิทธิ์รับเงินเยียวยา "เราไม่ทิ้งกัน" บ้าง
ใครมีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา ตามข้อกำหนดของ “โครงการเราไม่ทิ้งกัน” บ้าง (อัพเดท ณ วันที่ 3 พ.ค. 63) โดยคนที่เข้าเกณฑ์การพิจารณาว่าใครจะได้รับสิทธิ์มี 3 เกณฑ์ใหญ่ คือ
- ต้องเป็นแรงงาน ลูกจ้าง หรือประกอบอาชีพอิสระ เช่น วินมอเตอร์ไซค์ แท็กซี่ ร้านก๋วยเตี๋ยว ค้าขาย เป็นต้น แสดงว่าต้องมีงานทำ
- ต้องไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ส่วนสถานประกอบการขนาดเล็ก มีลูกจ้าง 2-3 คน เช่นร้านนวดแผนโบราณ ถ้าร้านถูกปิด แรงงานที่ทำงานในร้านนี้มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา
- ได้รับผลกระทบจากโควิดอย่างไร จะต้องเป็นผลกระทบต่อรายได้ที่เป็นตัวเงิน เพราะมาตรการเป็นการชดเชยรายได้ที่หายไปจากโควิด
โดยกลุ่มอาชีพที่เข้าเกณฑ์อย่างแน่นอน ได้แก่
1. กลุ่มผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาล
2. แท็กซี่
3. วินมอเตอร์ไซค์
4. มัคคุเทศก์
5. นักเรียน กศน. (เพิ่มเติมเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 63)
6. ไกด์นำเที่ยวที่เป็นนักศึกษา (เพิ่มเติมเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 63)
นอกจากนี้ วันที่ 3 พ.ค. 63 ประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้พิจารณาการช่วยเหลือกลุ่มตกหล่นที่ไม่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท เราไม่ทิ้งกัน เพิ่มเติม โดยให้กระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์(พม.) กลับไปจัดทำแนวทางช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางเพิ่มเติม จากเดิมที่เสนอมาใช้เงิน 39,000 ล้านบาท สำหรับช่วยเหลือกลุ่มผู้พิการ เด็กแรกเกิด ผู้สูงอายุ และคนไร้บ้านรวม 13 ล้านคนยัง และจะมีการพิจารณาว่า อาชีพนาฎศิลป์ นักกีฬา จะพิจารณาดูว่ามีสิทธิได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาทหรือไม่ และหากไม่ได้จะมีการจัดหามาตรการช่วยเพิ่มเติมอย่างไรต่อไปได้อีกบ้าง
วันนี้โอน ‘เงินเยียวยา’ ก่อน 1 แสนรายแล้ว! ที่เหลือทยอยโอนภายใน 8 พ.ค.แน่นอน
เช็คก่อน 'ขอทบทวนสิทธิ์' ใครได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท 'เราไม่ทิ้งกัน' บ้าง?
‘เกษตรกร’ ตรวจสอบสิทธิ์ลงทะเบียน ใครบ้างที่ได้ ‘เงินเยียวยา’ 5 พัน!
- เงินเยียวยาเท่าไหร่
ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา จะได้รับเงิน 5,000 บาท ต่อเนื่องกัน 3 ครั้ง เฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้งเป็นเวลา 3 เดือน
- ดำเนินการถึงไหนแล้วบ้าง
ความคืบหน้าของเงินเยียวยาล็อกแรกทยอยโอนถึงบัญชีของผู้ของรับเงินเยียวยาที่เข้าเกณฑ์แล้วรวมกว่า 1.4 ราย ตั้งแต่วันที่ 8-10 เมษายน 2563 โดยสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับเงิน วันที่ 5 พฤษภาคมจะเป็นวันแรกของการเริ่มจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ที่ผ่านการปรับปรุงสถานะ 2.6 ล้านคน ไปจนถึงวันที่ 8 พฤษภาคมนี้ จะมีผู้ได้รับเงินเยียวยาจาก เราไม่ทิ้งกัน รวมทั้งสิ้น 11 ล้านคน สำหรับใครที่ผ่านเกณฑ์แต่ยังไม่ได้รับเงินในเดือนแรก ก็จะได้รับรวม 2 เดือนรวมเป็นเงิน 1 หมื่นบาทในวันเดียวกันด้วย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ‘เราไม่ทิ้งกัน’ ตรวจสอบสถานะ ‘เงินเยียวยา’ ไม่ได้กั๊ก! เริ่มจ่ายอีกรอบ 5 พ.ค.นี้
- กระบวรการถึงไหน ตรวจสอบยังไงได้บ้าง
สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจสอบสถานะของตัวเองหลังมีการลงทะเบียนขอรับเงินเยียวยาไปแล้ว สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่ เว็บไซต์เราไม่ทิ้งกัน เลือกปุ่มตรวจสอบสถานะ ซึ่งเป็นช่องทางที่ใช้ตรวจสอบสถานะการลงทะเบียน มาตรการเยียวยาฯ ว่า ณ เวลาปัจจุบัน ดำเนินการไปถึงขั้นตอนใดแล้วบ้าง เพียงกรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก, หมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ลงทะเบียน และวัน เดือน ปีเกิด ของผู้เข้าร่วมโครงการ
- ผู้พิทักษ์สิทธิ์ 'เราไม่ทิ้งกัน' คือใคร
- ผู้พิทักษ์สิทธิ์ คือ เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลังปฏิบัติหน้าที่เก็บข้อมูล/หลักฐานการประกอบอาชีพ จากประชาชนผู้ขอยื่นทบทวนสิทธิตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ทั้งนี้ ผู้พิทักษ์สิทธิ์ไม่มีอำนาจในการตัดสินผลการพิจารณา โดยเพียงทำการส่งข้อมูลเข้ากระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาตามคุณสมบัติของมาตรการฯ ต่อไป
- สำหรับผู้ยื่นขอทบทวนสิทธิที่อยู่ระหว่างรอตรวจสอบข้อมูล กระทรวงการคลังอาจจะมีการตรวจสอบหลักฐานประกอบอาชีพของผู้ยื่นทบทวนสิทธิเพิ่มเติม โดยเจ้าหน้าที่ “ผู้พิทักษ์สิทธิ์” ซึ่งจะมีการติดต่อเพื่อขอเข้าพบผู้ยื่นขอทบทวนสิทธิ์
- ผู้ยื่นขอทบทวนสิทธิ์ สามารถเข้าไปตรวจสอบผลการพิจารณาได้ที่ปุ่มตรวจสอบสถานะ
- ผู้พิทักษ์สิทธิ์ที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลังไม่มีการเรียกรับเงินหรือรับสิ่งของอื่นใดเพื่อประโยชน์ในกระบวนการพิจารณาทบทวนสิทธิของผู้ลงทะเบียนตามมาตรการฯ
คำเตือน: โปรดระวังมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นผู้พิทักษ์สิทธิ์