ใบเดียวจบ! ‘ตรวจสอบสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ’ ทำง่ายๆ แค่มี ‘บัตรประชาชน’
“ตรวจสอบสิทธิสวัสดิการรัฐ” แค่รู้หมายเลข “บัตรประชาชน” ก็สามารถเช็คทางออนไลน์ได้ว่า เราจะได้รับการช่วยเหลือเรื่องสวัสดิการด้านไหนบ้าง
เมื่อการลงทะเบียนรับความช่วยเหลือต่างๆ ไม่วาจะเป็น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ, เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, เบี้ยยังชีพผู้พิการ, เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด มักทำโดยใช้ "บัตรประชาชน" การตรวจสอบสิทธิ์ หรือความคืบหน้าของความช่วยเหลือถือเป็นอีกเรื่องสำคัญที่ผู้ลงทะเบียนทุกคนไม่อาจมองข้าม
โดยเฉพาะช่วงปลายเดือนนี้ ไปจนถึงต้นเดือนหน้า สิทธิ์ความช่วยเหลือต่างๆ จะทยอยให้ข้อมูลออกมาว่าตัวผู้ลงทะเบียนนั้น มีสิทธิหรือไม่ กระทั่งรายละเอียดเกี่ยวกับความช่วยเหลือนั้นจะได้รับกี่ด้าน เมื่อไหร่ การหมั่นตรวจสอบสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐจึงถือเป็นเรื่องสำคัญของผู้ลงทะเบียนรับความช่วยเหลือ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- 'เงินอุดหนุนบุตร' 10 ก.ค.63 เตรียมรับเงิน! พร้อมเปิดวิธีตรวจสอบสิทธิ ที่นี่!
- เช็คที่นี่! ‘บัตรคนจน’ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เดือนกรกฎาคม 2563 ได้สิทธิอะไรบ้าง?
- ลืมรหัส 'บัตรคนจน' แก้ไขด่วน! เตรียมรับเงินเยียวยา 3 พัน เปิดวิธีเปลี่ยนรหัสผ่านตู้ ATM ธ.กรุงไทย
- 'บัตรคนจน' บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สูญหาย-ชำรุด ต้องทำอย่างไร?
แต่รู้หรือไม่ว่า หากต้องการทราบสวัสดิการรัฐที่ตัวเองได้รับ วันนี้เราสามารถ ตรวจสอบสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ และสวัสดิการสังคมด้วยตัวเองได้ง่ายๆ โดยใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียว ผ่านเว็บไซต์ระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม ของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
การตรวจสอบสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ และสวัสดิการสังคมด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม ของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง มีขั้นตอนดังนี้
1. เข้าไปที่เว็บไซต์ govwelfare.cgd.go.th
2. กรอกหมายเลขบัตรประชาชน แล้วกดปุ่ม ตรวจสอบ
3. หน้าจอแสดงผลการตรวจสอบ
- หากเป็นผู้ได้รับสิทธิ จะปรากฏสวัสดิการที่ได้รับ เช่น จากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้รับค่าใช้จ่ายอะไร หรือได้สิทธิเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพผู้พิการ เป็นต้น
- หากไม่ได้รับสิทธิใดๆ จะปรากฏข้อความ ไม่พบสิทธิ
กรณีต้องการตรวจสอบประวัติการรับสิทธิสวัสดิการสังคม สามารถลงทะเบียนเพื่อขอใช้ระบบตรวจสอบได้ โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ govwelfare.cgd.go.th
เราสามารถใช้บัตรประชาชน ในการ ตรวจสอบสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ หรือสวัสดิการสังคมได้หลายประเภท ได้แก่
- บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
- เบี้ยความพิการ
- เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
- เงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
- เงินค่าป่วยการ อสม. / อสส.
- กองทุนคุ้มครองเด็ก
- การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่นักเรียน
- เงินอุดหนุนช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูในครอบครัวอุปถัมภ์
- เงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวช่วยเหลือเด็กขาดแคลนและเด็กฝากเลี้ยงตามบ้าน
- การให้บริการกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพจากกองทุนผู้สูงอายุ
- เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือชาวเขาด้านสังคมสงเคราะห์
- เงินอุดหนุนเงินสงเคราะห์ผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ทางการเมือง
- เงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง
- สวัสดิการพื้นฐานด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านการอาชีวศึกษา
- เงินทุนการช่วยเหลือทายาทผู้ประสบภัย
- เงินช่วยเหลือทุนการศึกษาและเงินยังชีพแก่บุตรเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เสียชีวิต ทุพพลภาพจากการปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความมั่นคง
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการตรวจสอบสิทธิ์ผ่านช่องทางออนไลน์ที่เว็บไซต์ e-Social Welfare หรือ “ระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม” ได้ถูกปิดให้บริการชั่วคราว สาเหตุจากมีความเข้าใจผิดจากข่าวปลอมที่บอกให้ประชาชนมาตรวจสอบสิทธิ์รับเงินเยียวยา 3,000 บาท ผ่านระบบ e-Social Welfare จนส่งผลให้การเข้าใช้งานบนเว็บไซต์ดังกล่าวเป็นไปด้วยความยากลำบาก ทางกรมบัญชีกลาง จึงได้ปิดระบบ “การตรวจสอบสิทธิสวัสดิการสังคม” ลงเป็นการชั่วคราวตั้งแต่เมื่อปลายเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา
ผู้ถือ "บัตรคนจน" หรือ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" หลายๆ คน จึงเกิดความรู้สึกกังวล ตัวเองจะเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา 3,000 บาทหรือไม่นั้น ขอให้ไม่ต้องกังวลแต่อย่างใด
หากท่าน “เป็นผู้มีรายชื่อได้รับสิทธิ์สวัสดิการแห่งรัฐ” อยู่แล้ว และไม่ได้รับการเยียวยาจากภาครัฐผ่านมาตรการอื่นๆ มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเงินเยียวยาเราไม่ทิ้งกัน หรือ เงินเยียวยาเกษตรกร หรือ เงินเยียวยาจากกองทุนประกันสังคม ก็เป็นอันสบายใจว่า “มีสิทธิ์ที่จะรับเงินเยียวยา 3 พันบาท” อย่างแน่นอน
ทั้งนี้หากมีข้อสงสัย หรือคำถาม รวมทั้งต้องการทราบว่าจะได้รับเงินช่วยเหลือด้านต่างๆ หน่วยงานที่ให้สวัสดิการในแต่ละแห่งเพื่อความชัดเจน และได้รายละเอียดที่ถูกต้องครบถ้วนอีกครั้งหนึ่ง