'สุริยุปราคา' แต่ละภาคของไทย เห็นต่างกันมากน้อยแค่ไหน เช็คเลย!

'สุริยุปราคา' แต่ละภาคของไทย เห็นต่างกันมากน้อยแค่ไหน เช็คเลย!

เช็คเลย! ก่อนชม "สุริยุปราคา" บ่ายโมงวันนี้ (21 มิ.ย.) แต่ละภาคของไทยเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่งมากน้อยแค่ไหน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ต้องรออีก 7 ปีกว่าจะได้เห็นอีกครั้ง

วันนี้ (21 มิ.ย. 2563) คนไทยเฝ้ารอชมปรากฏการณ์ “สุริยุปราคาบางส่วน” ซึ่งจะเห็นได้เหนือท้องฟ้าประเทศไทย ในช่วงเวลาประมาณ 13:00–16:10 น.

จากข้อมูลคาดการณ์ระบุถึงเวลาของเกิดการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาครั้งนี้ว่า เวลา 13.10 เริ่มเงาคราส จนกระทั่งเวลา 16.09 น. คราสจะออกหมด

ส่วนแต่ละภาคของประเทศไทยจะเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่งมากเพียงใดนั้น ข้อมูลจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุว่า ช่วงเวลาประมาณ 13:00 - 16:10 น.วันที่ 21 มิ.ย. ตามเวลาประเทศไทย ดวงอาทิตย์จะปรากฏเว้าแหว่งมากที่สุด เวลาประมาณ 14:49 น. สังเกตได้ทุกภูมิภาคของไทย แต่ละภูมิภาคจะมองเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่งมากน้อยแตกต่างกันดังนี้
  • ภาคเหนือ ดวงอาทิตย์จะถูกบดบังมากที่สุดที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณร้อยละ 63
  • กรุงเทพมหานคร ดวงอาทิตย์จะถูกบดบังประมาณร้อยละ 40
  • ภาคใต้ ดวงอาทิตย์จะถูกบดบังน้อยที่สุดที่ อ.เบตง จ.ยะลา ประมาณร้อยละ 16

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

สุริยุปราคา เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน มีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เมื่อสังเกตจากโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้ามาบดบังดวงอาทิตย์
 
สำหรับสุริยุปราคาบางส่วน เกิดจากโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ไม่ได้เรียงอยู่ในแนวเดียวกัน ดวงจันทร์จึงบดบังดวงอาทิตย์เพียงบางส่วนเท่านั้น ทำให้มีเพียงเงามัวของดวงจันทร์ทอดผ่านพื้นผิวโลก ผู้สังเกตบนโลกภายในบริเวณที่เงามัวของดวงจันทร์พาดผ่านจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บดบังเพียงบางส่วนเท่านั้น
 
159271726499
สำหรับผู้สนใจชมปรากฏการณ์ห้ามสังเกตการณ์ด้วยตาเปล่า แว่นกันแดด ฟิล์มเอ็กซ์เรย์ หรือแผ่นซีดี เนื่องจากแสงอาทิตย์สามารถทำลายเซลล์ประสาทตาจนตาบอดได้ ควรสังเกตการณ์ผ่านอุปกรณ์เฉพาะ ที่มีคุณสมบัติกรองแสงได้อย่างปลอดภัย อาทิ แว่นตาดูดวงอาทิตย์ทำจากแผ่นกรองแสงพอลิเมอร์ดำ
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยว่า ปรากฏการณ์สุริยุปราคาครั้งต่อไปที่สามารถสังเกตได้ในประเทศไทยคือ สุริยุปราคาบางส่วน ในวันที่ 2 ส.ค. 2570 ซึ่งจะต้องรออีก 7 ปีต่อจากนี้เลยทีเดียว