เมื่อถูก 'เลิกจ้าง' ลูกจ้างจะได้ 'ค่าชดเชย' เท่าไร?

เมื่อถูก 'เลิกจ้าง' ลูกจ้างจะได้ 'ค่าชดเชย' เท่าไร?

ทำความเข้าใจ "กฎหมายแรงงาน" แบบย่อยง่าย เมื่อมีการ "เลิกจ้าง" ลูกจ้างต้องได้ "เงินชดเชย" หรือ "ค่าชดเชย" เท่าไร

เมื่อธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย และสถานการณ์ "โควิด-19" ทำให้ "การเลิกจ้าง" กลายเป็นทางเลือกของผู้ประกอบการ ในการปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อประคับประคองลูกจ้าง และธุรกิจให้ได้ผลกระทบน้อยที่สุด

ในมิติของ "ลูกจ้าง" การเลิกจ้าง นับเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงานและรายได้ ดังนั้นการพยายามทำความเข้าใจ "พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน" จึงเป็นเรื่องที่ควรรู้ เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของตัวเองเมื่อสถานการณ์ไม่คาดคิดมาถึง โดยหากมองเรื่อง "ค่าชดเชย" ที่ลูกจ้างควรจะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง จะต้องเป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ดังนี้

ตามบทบัญญัติมาตรา 118 "ค่าชดเชย" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งการเลิกจ้างที่จะได้รับค่าชดเชย จากนายจ้างนั้นต้องเป็นการเลิกจ้างตามความหมายที่กําหนดไว้ในมาตรา 118 วรรคสองด้วย

นั่นคือการเลิกจ้าง ที่เกิดจากการกระทําใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทํางานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุด สัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด หรือการเลิกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทํางาน และไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้าง ไม่สามารถดําเนินกิจการต่อไป

   

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

160129437814

  •  นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเป็นเงินเท่าไรบ้าง 

นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างเป็นจํานวนเท่าใด ต้องพิจารณาระยะเวลา การทํางานของลูกจ้างประกอบด้วย ซึ่งกฎหมายกําหนดไว้ ดังต่อไปนี้

1. ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางาน 30 วันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณ เป็นหน่วย

2. ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางาน 90 วันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณ เป็นหน่วย

3. ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางาน 180 วันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณ เป็นหน่วย

4. ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางาน 240 วันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณ เป็นหน่วย

5. ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน หรือ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางาน 300 วันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน โดยคํานวณเป็นหน่วย

  •  เกษียณอายุมีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากนายจ้าง 

มาตรา 118/1 ซึ่งบัญญัติเพิ่มโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560 กําหนดให้ลูกจ้าง "กรณีการเกษียณอายุ" ตามที่นายจ้างหรือลูกจ้างตกลงกัน หรือตามที่นายจ้างกําหนดไว้ให้ถือเป็น "การเลิกจ้าง" ตามความหมายดังกล่าวด้วย

รวมทั้งกรณีที่มิได้มีการตกลงหรือกําหนด การเกษียณอายุไว้ หรือมีการตกลงหรือกําหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่า 60 ปี และลูกจ้างที่มีอายุครบ 60 ปี ขึ้นไปนั้นใช้สิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุ โดยหากแสดงเจตนาต่อนายจ้างก็ "มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากนายจ้าง" ตามมาตรา 118 นี้เช่นกัน ซึ่งถือว่า เป็นการให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะขอเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 60 ปีขึ้นไป

   

  •  ลูกจ้างจะไม่ได้รับเงินชดเชยในกรณีใดบ้าง 

ลูกจ้างที่มีกําหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และเลิกจ้างตามกําหนดระยะเวลานั้น "ไม่อยู่ในบังคับที่จะได้รับค่าชดเชย" ซึ่งการจ้างที่มีกําหนดระยะเวลาที่ไม่อยู่ในบังคับที่จะได้รับค่าชดเชยนั้น จะกระทําได้สําหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจ หรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรืองานที่มีลักษณะเป็นครั้งคราวมีกําหนดการสิ้นสุด หรือความสําเร็จของงานหรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาล และได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทําสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

  •  นายจ้างไม่ให้ชดเชยตามกฎหมาย ต้องเจออะไรบ้าง 

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560 ได้เพิ่มบทกําหนดโทษกรณี นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรณีเกษียณอายุ เพื่อให้สอดคล้องกับการเพิ่มมาตรา 118/1 ด้วย กล่าวคือ "นายจ้างต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ"

ที่มา: กระทรวงยุติธรรม , พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับที่ 7 พ.ศ.2562