เช็คเงิน 'ประกันราคาข้าว' ผ่าน 2 ช่องทางจาก 'ธ.ก.ส.' ยันโอนเงินเกษตรกรต่อเนื่อง!
เงินยังไม่เข้าไม่ต้องตกใจ เกษตรกร สามารถตรวจสอบเงิน "ประกันราคาข้าว" ผ่านช่องทางจาก "ธ.ก.ส." รู้สิทธิ ติดตามสถานะได้ตลอด 24 ชั่วโมง ธนาคารยืนยันกระบวนการตรวจสอบได้รับเงินแน่นอน
จาก โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 มีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร 8.79 แสนครัวเรือน ซึ่ง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ได้เริ่มโอนเงินให้กับธนาคารแต่ละสาขาในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 เป็นงวดแรก และดำเนินการโอนเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง
ในงวดนี้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวแต่ละชนิดจะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด เช่น - ข้าวเปลือกเจ้า รับเงินส่วนต่างสูงสุด 36,670 บ. - ข้าวเหนียว รับเงินส่วนต่างสูงสุด 33,349 บ.
ทั้งนี้ รัฐบาลพร้อมจ่ายเงินประกันรายได้ข้าว ปี63/64 งวดแรก 16 พฤศจิกายนนี้ ช่วยชาวนาได้ทันที
เกษตรกรที่เป็นชาวนา สามารถเช็ค ธ.ก.ส. โอนเงินได้แล้ว กดที่ลิงค์ https://chongkho.inbaac.com/ กรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ถ้าเงินเข้าระบบจะแจ้งโอนเรียบร้อย แต่ถ้ายังไม่เข้าให้รอข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่ง ธ.ก.ส. จะทำการโอนให้เสร็จสิ้นภายใน 3 วันทำการ หรือ สมัครเช็คเงินเข้า-ออก ผ่านไลน์แอดได้ที่ @baacfamiy หรือตรวจสอบการโอนผ่านช่องทางการปรับสมุดเงินฝาก, ATM แอพพลิเคชัน A mobile ไปพลางก่อน
ข่าวที่น่าสนใจ :
- ธ.ก.ส. โอนเพิ่มหรือหักเงิน 'ส่วนต่างราคาข้าว' ตรวจสอบประกันรายได้เกษตร
- 'ธกส.' โอนเงิน 'ประกันราคาข้าว' แล้ว 8,387 ล้านบาท ใครได้บ้าง เช็คเลย!
- สรุป! รายละเอียดประกันรายได้เกษตรกร 'ข้าว' VS 'ยาง' ใครได้เท่าไหร่บ้าง
- ซื้อ 'สลากออมทรัพย์' จาก 'ออมสิน' 'ธ.ก.ส.' และ 'ธอส.' แบบรวยกว่ากัน
- วิธีโหลดแอพฯ 'เป๋าตัง' เตรียมรับเงิน 'คนละครึ่งเฟส 2'
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. มีมติอนุมัติให้ รวมวงเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกร แยกเป็น ประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 พร้อม 3 มาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพชีวิตผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2563/64 วงเงิน 5.1 หมื่นล้านบาท
คลิกตรวจสอบ https://chongkho.inbaac.com/
โดย ธ.ก.ส. พร้อมจ่ายเงินตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว เพื่อช่วยเหลือด้านรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวกว่า 4.04 ล้านราย วงเงินกว่า 18,000 ล้านบาท ดีเดย์วันแรก 16 พฤศจิกายนนี้กว่า 870,000 ราย เป็นเงินกว่า 9,200 ล้านบาท
สำหรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินประกันรายได้ราคาข้าว มีดังนี้
เกษตรกรจะต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และต้องแจ้งวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยว เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วงเวลาที่เกษตรกรจะได้รับสิทธิชดเชย
โดยกรมส่งเสริมการเกษตรจัดส่งข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จำแนกตามช่วงเวลาที่เก็บเกี่ยว และคำนวณปริมาณผลผลิต โดยใช้พื้นที่ทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวแต่ละชนิด คูณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เป็นปริมาณผลผลิตที่ต้องชดเชย แต่ต้องไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ ส่งให้ธ.ก.ส. เพื่อเป็นข้อมูลในการจ่ายเงิน
จากนั้น ธ.ก.ส. จะดำเนินการจ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง ภายใน 3 วัน นับจากวันที่ได้รับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงในแต่ละรอบจากคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งเกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทางแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง และจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connect
สำหรับ แอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ถือเป็นบริการทางการเงินรูปแบบใหม่เพื่อรองรับการทำธุรกรรมทางการเงินของ เกษตรกรที่เป็นลูกค้าของธนาคาร ซึ่งให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงอีกด้วย
บริการ ธ.ก.ส. A-Mobile มีดังต่อไปนี้
- โอนเงิน
- เติมเงินทุกเครือข่าย
- จ่ายบิล
- สแกน QR Code เพื่อชำระเงิน
- ถอนเงินไม่ใช้บัตร
- ฝากสลาก (เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด)
- ขอรายการเคลื่อนไหวบัญชี (Statement)
- ตรวจสอบยอดเงินฝาก สินเชื่อและสลากออมทรัพย์
- ลงทะเบียน และยกเลิกการลงทะเบียนพร้อมเพย์
- สร้างรายการเตือนเพื่อจ่าย (Pay Alert)
- โอนเงิน หรือจ่ายบิล เมื่อได้รับรายการเรียกเก็บ
- QR รับเงิน
- ดึงภาพ QR เพื่อชำระเงิน
- อื่นๆ เช่น ข่าวสาร ผลิตภัณฑ์ธนาคาร ความรู้ ราคาสินค้าเกษตร ทีวี ธ.ก.ส. ปรึกษาสินเชื่อ ค้นหาที่ตั้งสาขา ตรวจสลาก และข้อมูลทางการเงิน
สำหรับโครงการประกันราคาข้าวนั้น เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสามารถใช้แอพลิเคชั่นนี้ในการตรวจสอบสถานะการโอนเงินส่วนต่างได้จากแอพลิเคชั่นนี้เช่นกัน โดยมีรายละเอียดการสมัครใช้งานดังต่อไปนี้
คุณสมบัติผู้สมัคร
- บุคคลธรรมดา อายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ทั้งชาวไทยและต่างชาติ
- มีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือบัญชีกระแสรายวันของ ธ.ก.ส.
- บัญชีออมทรัพย์ใช้สมุด (Type 2001)
- บัญชีออมทรัพย์ไม่ใช้สมุด (Type 2002)
- บัญชีออมทรัพย์รักษาทรัพย์ (Type 2101)
- บัญชีออมทรัพย์ทวีโชค (Type 2004)
- บัญชีเงินฝาก A-Savings (Type 2014)
- บัญชีเงินฝาก Senior Savings (Type 2004)
- บัญชีเงินฝากพื้นฐาน (Type 2015)
- บัญชีกระแสรายวัน (Type 1001)
- มีโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ทโฟนที่มีระบบปฏิบัติการ IOS 10.0 หรือ Android 5.0 ขึ้นไป และรองรับการเชื่อม
ต่อ Internet (GPRS,EDGE,3G,4G,WIFI)
เอกสารการสมัครใช้บริการ (กรณีสมัครผ่านสาขา)
- แบบฟอร์มใบคำขอใช้บริการ ธ.ก.ส. A-Mobile
- บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือ บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน
- บัตรประชาชน
ช่องทางการสมัครใช้บริการ
- เจ้าของบัญชี ติดต่อสมัครใช้บริการได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา
- สมัครผ่านแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ด้วยตนเองผ่านบัตร ATM หรือ บัตรเดบิต ธ.ก.ส.
การ Download ธ.ก.ส. A-Mobile