เช็คมาตรการศาสนสถาน 'วัด-โบสถ์-มัสยิด-ศาลเจ้า'
เจาะมาตรการป้องกัน "โควิด" แพร่ระบาดภายใน "วัด-โบสถ์-มัสยิด-ศาลเจ้า" อีกหนึ่งจุดเสี่ยงรวมตัวคนในสังคม
จากตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ ศบค.รายงานประจำวันขณะนี้ ยังอยู่ในสถานการณ์น่าเป็นห่วงจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่กระจายในแต่ละจังหวัดที่เชื่อมโยงมาจาก จ.สมุทรสาคร และบ่อนการพนันหลายพื้นที่
แน่นอนว่าการ "ยกระดับ" มาตรการควบคุม ป้องกัน โดยเฉพาะแอพลิเคชั่น "หมอชนะ" ถูกใช้เป็นเครื่องมือหลักของเจ้าหน้าที่รัฐติดตามสอบสวนโรคเพื่อตีกรอบการระบาดของผู้ป่วยให้ยอดผู้ติดเชื้ออยู่ในกราฟคงที่เร็วที่สุด เพราะนอกเหนือจากมาตรการคุมเข้มที่รณรงค์ไปถึงประชาชนตั้งแค่การระบาดของโควิดในระลอกแล้ว หากพิจารณาในแต่ละสถานที่ซึ่งเป็นจุดรวมกลุ่มของคนจำนวนมากเป็นสิ่งที่ ภาครัฐเป็นห่วงว่ามีโอกาสจะเป็นจุดระบาดได้เช่นกัน
ทำให้ที่ผ่านมาสถานที่ "สาธารณะ" เป็นพื้นที่เฝ้าระวังต่อความเสี่ยงแพร่เชื้อได้ง่าย เมื่อคำสั่ง "ปิดสถานที่เสี่ยง-จำกัดพื้นที่เดินทาง" ประชาชนหลายจังหวัด ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมายังเป็นมาตรการที่รัฐบาลเชื่อว่าจะช่วยลดกราฟผู้ติดเชื้อให้ต่ำลงมาให้อยู่ในระดับที่ดูแลผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด
ถึงแม้ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 17) ที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 6 ม.ค.2564 ไม่ได้ครอบคลุมล็อคดาวน์ไปถึงสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา โดยเฉพาะ "ศาสนสถาน" หลายแห่ง แต่ก่อนหน้านี้ "ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน" กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาตรการป้องกันการระบาด สำหรับ "วัด-โบสถ์-มัสยิด-ศาลเจ้า" ให้เป็นแนวปฏิบัติให้ประชาชนทุกศาสนาในช่วงสถานการณ์โควิด
เริ่มตั้งแต่ "ศาสนสถาน" แต่ละสถานที่ ควรจัดหาสื่อประชาสัมพันธ์การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค ให้ผู้มาเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา และต้องประชาสัมพันธ์หากพบว่าผู้ร่วมพิธรมีอาการป่วยไม่ว่าจะเป็นโรคใด ขอให้ "งด" การมาประกอบพิธีกรรม เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกันระหว่างผู้มาร่วมงาน รวมถึงศาสนสถานต้องเตรียมจัดหาเจลล้างมือแอลกอฮอล์วางไว้ในจุดต่างๆ อาทิประตูทางเข้าอาคาร ห้อง สุขา จุดประชาสัมพันธ์
นอกจากนี้ "ศาสนสถาน" ต้องทำความสะอาดอุปกรณ์ เน้นไปที่บริเวณท่ีมีผู้สัมผัสปริมาณบ่อยครั้ง อาทิ ลูกบิดประตู ราวบันได ไม้ตีระฆัง กระบอกเซียมซี ห้องน้ำ โดยต้องทำความสะอาดด้วยผงซักฟอก น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ที่ผสมแอลกอฮอล์ 70 % โดยต้องทำอย่างน้อยวันละ 2 คร้ัง
แต่หาก "ศาสนสถาน" ใดที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา พบผู้มีอาการป่วย ขอให้จัดจุดปฐมพยาบาล เพื่อดูแลเบื้องต้น จากนั้นให้แยกผู้ป่วยออกจากกิจกรรมหรือพิธีกรรม เพื่ออำนวยความสะดวก ส่งกลับไปรักษาตัวที่บ้านหรือโรงพยาบาล
ที่สำคัญการจัดพิธีทางศาสนาต่างๆ ต้อง "ลดความแออัด" ผู้เข้าร่วมประกอบพิธี กระจายมุมที่ประกอบพิธีได้หลายๆ แห่งในศาสนสถานน้ันๆ หรือมีเสื่อของตนเองในการทำละหมาด และจัดที่นั่งให้ผู้มาร่วมประกอบพิธีให้อยู่ห่างจากกันอย่างน้อย 1 เมตร แต่หากพบว่ามีนักบวชหรือผู้ดูแลในศาสนสถานแห่งน้ันติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้แยกผู้ป่วยหรือผู้สัมผัสตามแนวกรมควบคุมโรค และให้ "หยุด" ประกอบพิธีกรรมทุกประเภท จนกว่าจะไม่พบผู้ป่วยรายใหม่อย่างน้อย 14 วัน
นอกจากนี้ ข้อปฏิบัติสำหรับ "ผู้เข้าร่วม" ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ถูกกำหนดไว้ 6 มาตรการ ประกอบด้วย 1.ก่อนเข้าร่วมประกอบพิธีกรรมในศาสนสถาน ควรจัดเตรียมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยน้าสบู่หรือแอลกอฮอล์ เจล และควรปฏิบัติตามหลักสุขอนามัย2.ล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสส่ิงที่มีบุคคลอื่นๆ สัมผัสร่วมกันปริมาณมาก อาทิ ลูกบิดประตู ราวบันได หนังสือ 3.ผู้ที่มีอาการป่วย เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีนำ้มูก ถึงแม้จะมีอาการไม่มากขอให้งดการร่วมประกอบพิธีกรรม
4.ผู้เข้าร่วมประกอบพิธีกรรมไม่ใช้ส่ิงของร่วมกัน อาทิ แก้วนำ้ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว 5.หากสังเกตเห็นผู้ร่วมประกอบพิธีกรรมคนใด มีอาการไอจามผิดปกติ ขอให้เว้นระยะห่างจากผู้นั้น และ 6.หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานท่ีแออัดอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานาน
ทั้งหมดเป็นมาตรการ "ตั้งรับ" เชิงรุกป้องกันการแพร่ระบาดภายใน "วัด-โบสถ์-มัสยิด-ศาลเจ้า" ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดเสี่ยงรวมตัวของคนในสังคม จากมาตรการคุมเข้มสถานที่สาธารณะเพื่อลดการแพร่เชื้อโควิดให้เร็วที่สุด.