เช็คเบาหวาน..ลดเสี่ยงโควิด-19

เช็คเบาหวาน..ลดเสี่ยงโควิด-19

“เบาหวาน” อีกหนึ่งโรคเสี่ยงที่ทางสหประชาชาติ หรือยูเอ็นได้ออกมาเตือนว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความเสี่ยอย่างมากในการติดเชื้อและเสียชีวิตจากโควิด-19

เนื่องด้วยขณะนี้มีผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อมีผู้มีภาวะเบาหวานไม่สามารถควบคุมหรือจัดการภาวะเบาหวานได้ จะส่งผลให้ค่าระดับน้ำตาลในเลือดมีความผันผวน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นจากเบาหวานตามมา

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย เผยสถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีจำนวนกว่า 5 ล้านคนหรือเปรียบเทียบ 1 ใน 11 คนไทยที่อายุ 15 ปีขึ้นไป กำลังป่วยด้วยโรคเบาหวานและมีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณ 1 แสนคนต่อปี โดยจำนวนนี้มีถึงร้อยละ 40 ที่ไม่รู้ว่าตัวเองป่วย ขณะที่ผู้ได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษามีเพียงร้อยละ 54.1 หรือเพียง 2.6 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้มีเพียง 1 ใน 3 คน ที่สามารถบรรลุเป้าหมายในการรักษา ทำให้มีผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทย เสียชีวิตมากถึง 200 รายต่อวัน

161030107465

สิ่งที่น่ากังวล คือ ความชุกของเบาหวานที่เกิดขึ้นจากปัญหาโรคอ้วนและพฤติกรรมการใช้ชีวิตในเด็กวัยรุ่นและวัยทำงานมีแนวโน้มสูงขึ้น

ยิ่งปัจจุบันภาวะการแพร่กระจายโควิด-19 ในประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะรัฐ เอกชน หรือภาคประชาสังคมต่างร่วมมือกันหาแนวทางในการป้องกันและดูแลสุขภาพของคนไทย

ดิจิทัลแพลตฟอร์มโรช ไดอะบี-ทีส แคร์ (Roche Diabetes Care)” ซอฟต์แวร์ทางการแพทย์ที่จะเข้ามาช่วยจัดการภาวะเบาหวานเฉพาะบุคคล เป็นอีกแนวทางที่ทางบริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด แผนกธุรกิจเบาหวานได้นำนวัตกรรมดังกล่าวมาใช้ เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนวิธีการดูแลรักษาและอำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์

161030109143

มร. มิไฮ อีริเมสซู ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค) บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด แผนกธุรกิจเบาหวาน กล่าวว่า บริษัทได้มีการนำแนวคิดของ iPDM - integrated personalized Diabetes Management ระบบการจัดการภาวะเบาหวานแบบบูรณาการเฉพาะบุคคลสู่การดูแลแบบองค์รวมแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทย 

161030111839

แนวทางการดูแลจะเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโรคทั้งหมดไว้ในแพลตฟอร์มเดียว เพื่อช่วยให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ป่วยสามารถตัดสินใจเลือกวิธีการในการรักษาได้เต็มประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาให้กับผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างเหมาะสม

แนวคิดของ iPDM ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถนำมาดูแลผู้มีภาวะเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิผล โดยงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาในกลุ่มผู้มีภาวะเบาหวานประเภทที่ 2 จำนวน 907 คน และแพทย์ 100 คน เป็นระยะเวลา 12 เดือน โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ประกอบด้วย 1) ผู้มีภาวะเบาหวานในกลุ่มควบคุมยังคงได้รับการดูแลตามมาตรฐานการรักษาเดิม และ 2) ผู้มีภาวะเบาหวานในอีกกลุ่มได้รับการดูแลตามแนวทาง iPDM โดยผู้มีภาวะเบาหวานในกลุ่มนี้จะได้รับคำแนะนำให้มีการติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ และนำผลระดับน้ำตาลที่ตรวจได้มาปรับเปลี่ยนการดูแลตนเองในเรื่องต่างๆ เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย

161030093234

รวมทั้งนำผลน้ำตาลที่ตรวจได้มาทำการวิเคราะห์กับแพทย์ โดยแพทย์จะวิเคราะห์ข้อมูลผลระดับน้ำตาลในเลือดโดยใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ซึ่งในส่วนนี้แพทย์จะมีข้อมูลในการอธิบายคนไข้เรื่องการใช้ยา และการปรับเปลี่ยนยาให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละรายในกลุ่ม iPDM ซึ่งหลังจากผ่านไป 12 เดือนผู้ป่วยในกลุ่ม iPDM ประสบความสำเร็จในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้นกว่าเดิม

 “ดิจิทัลแพลตฟอร์ม โรชฯรองรับการแพทย์ทางไกลในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีการนำมาใช้งานในสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และมีอัตราการใช้งานที่เติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ซึ่งแพลตฟอร์มดังกล่าวให้บริการต่างๆ ครอบคลุมไปถึง การตรวจคัดกรองทางไกล การให้คำปรึกษาทางไกล การติดตามและฝึกสอนผู้ป่วยทางไกล เป็นต้น

พญ.ณิชกานต์ หลายชูไทย แพทย์ต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า ระบบดิจิทัลเป็นเครื่องมือที่ช่วยเชื่อมต่อระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้มีภาวะเบาหวานให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นระบบจะแบ่งปันข้อมูลบนคลาวด์ช่วยให้แพทย์เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกและวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยได้เร็วและแม่นยำขึ้นกว่าเดิม จากเดิมที่โรงพยาบาลเป็นศูนย์กลางในการรักษาโดยคนไข้จะต้องเดินทางมาพบแพทย์ ไปสู่การดูแลรักษาเฉพาะบุคคลโดยที่คนไข้เป็นศูนย์กลางในการรักษา

161030116341

เช่นเดียวกับนพ.เอกพล พิศาล อายุรแพทย์และผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านตาขุน กล่าวว่า ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบัน ทำให้วงการแพทย์และการดูแลสุขภาพได้พลิกโฉมวิธีการรักษาและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี ผู้ป่วยเริ่มเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีเพื่อดูแลสุขภาพของตนเองผ่านอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ส่วนตัว ซึ่งสามารถแปลผลข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เช่น ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดตามคำแนะนำของแพทย์ผู้รักษาได้ด้วยตนเอง ส่วนแพทย์ก็สามารถดูข้อมูลเชิงลึกผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มการจัดการเบาหวานออนไลน์ได้ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยลดระยะเวลาในการรวบรวมข้อมูล ทำให้แพทย์มีเวลาที่จะให้คำปรึกษากับผู้ป่วยได้เต็มประสิทธิภาพ

161030118375

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเชื่อมต่อและเพิ่มข้อมูลเชิงลึกในการรักษาของผู้ป่วย ร่วมกับการใช้เครื่องมือดิจิทัลของแพทย์ ทำให้เกิดกระบวนการรักษาที่ครบวงจร เพราะผู้มีภาวะเบาหวานสามารถเข้าถึงบริการและดูแลตัวเองได้สะดวกสบาย นอกจากจะช่วยผู้ป่วยโรคเบาหวานยังเป็นการลดความเสี่ยงโควิด-19 อีกด้วย