ทบ.-กฟผ.ลุยศึกษา 'โซลาร์ฟาร์ม' บนพื้นที่ 6 แสนไร่ รองรับลงทุน 3 หมื่นเมกะวัตต์

ทบ.-กฟผ.ลุยศึกษา 'โซลาร์ฟาร์ม' บนพื้นที่ 6 แสนไร่ รองรับลงทุน 3 หมื่นเมกะวัตต์

กองทัพบก-กฟผ.จับมือศึกษาพัฒนาโซลาร์ฟาร์มบนที่ราชพัสดุกองทัพ 6 แสนไร่ รองรับการผลิตได้ 3 หมื่นเมกะวัตต์ ดึงเอกชนร่วมลงทุน ยึดผลประโยชน์ 8 ด้านต่อประชาชนและเศรษฐกิจ

พล.ท.รังษี กิติญาณทรัพย์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 กล่าวในพิธีลงนำมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโรงไฟฟ้ำพลังงานทางเลือกระหว่างกองทัพบก (ทบ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ว่า ปัจจุบันพลังงานสะอาด (Green Energy) ที่เคยมีสถานะเป็นพลังงานสำรองกำลังจะเปลี่ยนเป็นพลังงานหลักที่จะมีบทบาทสาคัญในอนาคตอันใกล้

ขณะเดียวกันหลายประเทศ ได้ร่วมมือกันด้านพลังงานเพื่อให้สามารถก้าวสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ไปสู่การผลิตและการใช้พลังงานสะอาดในอนาคต โดยเฉพาะประเทศมหาอานาจทางเศรษฐกิจ เช่น จีน ได้มียุทธศาสตร์ทางด้านพลังงานไฟฟ้าว่าภายใน 7 ปี ข้างหน้า โดยจีนจะใช้พลังงานไฟฟ้า 80% จากพลังงานแสงอาทิตย์ และ 20% จากพลังงานน้า

แนวทางดังกล่าวเป็นการพลิกโฉมรูปแบบพลังงานอย่างสิ้นเชิง (Energy Disruption) พลังงานไฟฟ้าที่เป็นผลผลิตจากพลังงานสะอาดจะเป็นพลังงานหลักที่จะขับเคลื่อนให้เกิดสิ่งต่างๆ ขึ้นมากมาย อาทิ Smart City, Smart Grid รวมถึงยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นรถยนต์ส่วนบุคคลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงระบบขนส่งสาธารณะ

161182871377

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีภูมิประเทศอยู่พื้นที่โซน A คือ มีแสงอาทิตย์เฉลี่ยวันละ 8 ชั่วโมง ตลอดทั้งปี เหมาะสมกับการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ อีกทั้งปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจของโลกเข้าสู่สภาวะถดถอยเนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งประเทศไทยก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน ดังนั้น ประเทศไทยจะต้องปรับยุทธศาสตร์ในเรื่องต้นทุนการผลิตของทุกภาคส่วน ซึ่งไฟฟ้าเป็นปัจจัยสาคัญในการลดต้นทุนการผลิต

โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำพื้นที่ราชพัสดุที่มอบให้กองทัพบกปกครองดูแล กระจายอยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศ มีพื้นที่ในความรับผิดชอบกว่า 4.5 ล้านไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การทำโซล่าร์ฟาร์ม โดยโครงการนี้จะเป็นความร่วมมือระหว่างกองทัพบกและ กฟผ.ในการสร้าง โซล่าร์ฟาร์มในพื้นที่ 6 แสนไร่ ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 3 หมื่นเมกะวัตต์ โดยให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน

161182876183

ทั้งนี้ ถือเป็นการปฏิรูปพลังงานไฟฟ้าครั้งใหญ่ และเป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย อีกทั้งประเทศไทยและประชาชนยังได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้ 7 ประการ คือ

1.ประชาชนจะจ่ายค่าไฟในอัตราที่ลดลง

2.ประเทศจะลดการขาดดุลจากการซื้อไฟฟ้าและนาเข้าก๊าซ

3.เป็นการระดมทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

4.เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพของประชาชนที่ตกงาน

5.เป็นการสร้างความมั่นคงในด้านพลังงานไฟฟ้าโดยที่ไม่ต้องพึ่งพาใคร

6.ช่วยเกษตรกรไทยในการจาหน่ายสินค้าทางการเกษตรด้วยวิธีการ Barter Trade กับประเทศที่จาหน่ายเทคโนโลยีของโซล่าร์เซลล์

7.ลดมลภาวะและสภาวะโลกร้อน

8.เพิ่มช่องทางจาหน่ายสินค้าเกษตรของไทย เนื่องจากโครงการนี้ใช้วิธี Barter Trade

จาก 8 ข้อนี้ จึงเป็นที่มาของการลงนามบันทึกข้อตกลงในวันนี้ ซึ่งต่อจากนี้จะเริ่มโครงการแรกของการสร้างโซล่าร์ฟาร์ม ณ พื้นที่ ต.แก่งเสี้ยน อ.เมือง จ.กาญจนบุรี บนพื้นที่ 3 พันไร่ ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 3 พันเมกะวัตต์