กลยุทธ์การลงทุน (4 มี.ค.64)

กลยุทธ์การลงทุน (4 มี.ค.64)

ค้นหาหุ้นที่ยังมี valuations ต่ำกว่าวัฎจักรในอดีต

นอกจากหุ้นหลักอย่างกลุ่มธนาคาร, หุ้น cyclical และท่องเที่ยว ถึงเวลาเพิ่มหุ้น valuations laggards ตั้งแต่ต้นปี 2564 ตลาดหุ้นไทยเป็นไปตามกลยุทธ์ใน 1Q64 ของเรา โดยเน้นที่ธีม i) การนำวัคซีนป้องกัน COVID-19 มาใช้ทั่วโลก และในประเทศไทย ii) ข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคโลกที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง iii) โหมด risk-on ที่หนุนหุ้นในกลุ่มที่ได้อานิสงส์จากวัฏจักรสินค้าโภคภัณฑ์, อัตราผลตอบแทนพันธบัตร และเงินเฟ้ อ ทั้งนี้ หลังจากที่หุ้นวิ่งขึ้นแรงในวันที่ 3 มีนาคม ดัชนี SET ขยับขึ้นมายืนเหนือ 1,540 จุด และเหลือ upside อีกแค่ 3% เท่านั้นจากเป้ า 1Q64 ของเราที่ 1,590 จุด เราคิดว่าตลาดอาจจะผันผวนมากขึ้นเมื่อเหลือ upside น้อยกว่า 3% นอกจากนี้ เรายังมองว่าถึงเวลาที่จะขยายขอบเขตการลงทุนออกไปนอกธีมหุ้นหลักอย่างกลุ่มธนาคาร, หุ้น cyclical และท่องเที่ยว ให้ครอบคลุมหุ้น valuations laggards บางตัวด้วย ซึ่งเป็นที่มาของบทวิเคราะห์ฉบับนี้

หุ้นกลุ่มธนาคาร, อสังหาริมทรัพย์, โรงพยาบาล และรับเหมาก่อสร้างดูน่าสนใจในแง่ P/E ต่ำ และ ช่วง S.D. ของ P/E ต่ำสุดในรอบ 5 ปี

Figure 1 แสดงให้เห็นหุ้น 20 ตัวที่ forward P/E ต่ำที่สุด และ Figure 2 แสดงหุ้น 20 ตัวที่ช่วง S.D ของ forward P/E ต่ำสุดในรอบ 5 ปี เราพบว่ากลุ่มที่ P/E ต่ำที่สุดส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นกลุ่มธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ ในขณะที่หุ้น laggards ในกลุ่มโรงพยาบาล อย่างเช่น BCH* และ CHG* และหุ้น
รับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ อย่างเช่น CK* และ STEC มีช่วง S.D. ต่ำที่สุด เรามองว่าโมเมนตั้มการฟื้นตัวของหุ้นกลุ่มโรงพยาบาล และรับเหมาก่อสร้างอาจจะช้ากว่าหุ้นหลักที่เรา Overweights แต่เนื่องจากราคาหุ้นมี downside จำกัด นักลงทุนระยะกลางน่าจะเข้าลงทุนได้แล้วในช่วงนี้ เราคิดว่าหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้ าอย่างเช่น CKP*, RATCH* และ GULF* มีช่วง S.D. ต่ำที่สุด แต่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น และการที่นักลงทุนมุ่งเน้นธีมการฟื้นตัวมากกว่าหุ้น defensive ทำให้เราเชื่อว่าราคาหุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคจะยังอยู่ในระดับต่ำต่อไป

เมื่อเทียบ P/BV กับช่วง S.D. เราพบว่าราคาหุ้นกลุ่มธนาคาร, รับเหมาก่อสร้าง, โรงพยาบาล และ CPALL* ยังมี upside อีก

figure 3 และ 4 แสดงภาพของหุ้น 20 ตัวที่ forward P/BV ต่ำที่สุด และมีช่วง S.D. ของ P/BV ต่ำที่สุด ที่เราดูแลอยู่ โดยหุ้นกลุ่มธนาคารยังคงมี P/BV ต่ำที่สุด ในขณะที่หุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างอย่างเช่น CK,STEC และหุ้นหลักในกลุ่มโรงพยาบาลอย่างเช่น BDMS* มีช่วง S.D. ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับ P/BV 5 ปี ในขณะเดียวกัน เราพบว่าราคาหุ้น CPALL* ซึ่งเป็นหุ้น laggard ในกลุ่มการพาณิชย์ต่ำกว่า P/BV เฉลี่ยระยะยาวอยู่ถึง 1.5 S.D. และน่าจะฟื้นตัวได้เมื่อการบริโภคในประเทศ และสถานการณ์การท่องเที่ยวกลับมดีขึ้นอีกครั้ง ทั้งนี้ เรายังชอบหุ้น big-cap อย่างเช่น ADVANC* และ EGCO* ซึ่งราคาหุ้นยังมี discount อย่างมากจาก P/BV เฉลี่ยระยะยาว แต่เรายังไม่เห็นปัจจัยกระตุ้นด้านบวงกที่จะช่วยหนุนให้หุ้นมือถือ และ IPP วิ่งขึ้นได้ในเร็ว ๆ นี้

ในช่วงที่เหลือของเดือนนี้ แนะนำจับตาปัจจัยมหภาคโลก อย่างเช่นการลงมติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของวุฒิสภาสหรัฐ และการตัดสินนโยบายของ FOMC ซึ่งจะกำหนดภาวะความเสี่ยงตลาด เรามองว่าตลาดหุ้นไทยจะผันผวนมากขึ้น เนื่องจากราคาหุ้นในตลาดตึงตัวมากขึ้น และอัตราผลตอบแทน UST อาจจะขยับสูงขึ้นอีกจากการที่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาด 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ในช่วงสุดสัปดาห์นี้ ในขณะเดียวกัน การประชุม FOMC ของสหรัฐในวันที่ 16-17 มีนาคมก็มีความสำคัญ เพราะผู้เล่นในตลาดกำลังจับตาดูความเป็นไปได้ที่ Fed จะใช้สองมาตรการเพื่อดึงให้ yield curve ราบลง โดยมาตรการแรกคือ operation twist หรือการขายตราสารระยะสั้น และซื้อพันธบัตรอายุยาว ส่วนมาตรการที่สองคือการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของสำรองส่วนเกิน (interest rate on excess reserves หรือ IOER)