ประชัน 2 รายใหญ่ กองทุนวายุภักษ์ 1 vs ประกันสังคม ถือหุ้นแบงก์มากที่สุด มูลค่ารวม 1.4 แสนล้าน

ประชัน 2 รายใหญ่ กองทุนวายุภักษ์ 1 vs ประกันสังคม ถือหุ้นแบงก์มากที่สุด มูลค่ารวม 1.4 แสนล้าน

ประชัน 2 รายใหญ่ กองทุนวายุภักษ์ 1 vs ประกันสังคม ถือหุ้นแบงก์มากที่สุด มูลค่ารวม 1.4 แสนล้าน "นักวิเคราะห์" เผยหุ้นกลุ่มแบงก์ยังแข็งแกร่ง มีฐานะความมั่นคงทางการเงิน มีกระแสเงินสด และมีปันผลสูง แนะ ลงทุน Earning Season

หุ้นกลุ่มธนาคาร (BANK) จัดเป็นหุ้นยอดนิยมที่นักลงทุนบุคคล และนักลงทุนสถาบันต่างให้ความสนใจเข้ามาลงทุนเป็นอันดับต้น ๆ ในตลาดหุ้นไทย ซึ่งอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม ธุรกิจการเงิน (FINCIAL) โดยในปัจจุบันกลุ่มธนาคารมีอยู่ 12 หลักทรัพย์ และเมื่อเข้าไปโฟกัสที่นักลงทุนสถาบันรายใหญ่ที่เข้ามาลงทุนหุ้นในกลุ่มธนาคารมากกว่า 1 หลักทรัพย์ มีอยู่ 2 รายใหญ่ คือ สำนักงานประกันสังคม  และ  กองทุนวายุภักษ์  ที่ร่วมลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้  6 หลักทรัพย์ มูลค่ารวมกันกว่า 139,812.66 ล้านบาท (ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ 26 เม.ย.2567)

 

ทั้งนี้ กองทุนกองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง มีถือหุ้นแบงก์ด้วยกัน 5 หลักทรัพย์ แต่แบ่งออกเป็น 3 บัญชี คือ กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง , กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) และกองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 

และนอกจากหุ้นกลุ่มแบงก์ที่กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง เข้าไปลงทุนแล้ว ยังมีอีก 24 หลักทรัพย์ ที่เข้าไปลงทุน

 

สำหรับหุ้นกลุ่มแบงก์ ที่เข้าไปลงทุน มีมูลค่า 113,632 ล้านบาท  

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL ถือหุ้นใหญ่อันดับ 23 ในนาม กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง จำนวน 10,000,000 หุ้น หรือ 0.52% มูลค่า 1,360 ล้านบาท (ราคาปิด ณ 26 เม.ย.2567ที่ 136.00 บาท)

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK ถือหุ้นใหญ่อันดับ 24 ในนาม กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่งจำนวน 12,600,000 หุ้น หรือ 0.53% มูลค่า 1,625.40 ล้านบาท (ราคาปิด ณ 26 เม.ย.2567ที่ 129.00 บาท)

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB รวมมูลค่า 9,027.11 ล้านบาท

  • ในนาม กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นใหญ่อันดับ 5 จำนวน 273,548,658 หุ้น หรือ 1.96% มูลค่า 4,513.55 ล้านบาท (ราคาปิด ณ 26 เม.ย.2567ที่ 16.50 บาท)
  • ในนาม กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นใหญ่อันดับ 6 จำนวน 273,548,657 หุ้น หรือ 1.96% มูลค่า 4,513.55 ล้านบาท 

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) SCB รวมมูลค่า 83,634.26 ล้านบาท

  • ในนาม กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 จำนวน 549,600,000 หุ้น หรือ 16.32% มูลค่า 58,532.40 ล้านบาท (ราคาปิด ณ 26 เม.ย.2567ที่ 106.50 บาท)
  • ในนาม กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นใหญ่อันดับ 6 จำนวน 117,849,100 หุ้น หรือ 3.50% มูลค่า 12,550.93 ล้านบาท 
  • ในนาม กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นใหญ่อันดับ 7 จำนวน 117,849,100 หุ้น หรือ 3.50% มูลค่า 12,550.93 ล้านบาท 

ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) TTB รวมมูลค่า 17,985.24 ล้านบาท

  • ในนาม กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง ถือหุ้นใหญ่อันดับ 4 จำนวน 6,673,600,000 หุ้น หรือ 6.86% มูลค่า 11,945.74 ล้านบาท (ราคาปิด ณ 26 เม.ย.2567 ที่ 1.79 บาท)
  • ในนาม กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นใหญ่อันดับ 6 จำนวน 1,687,009,408 หุ้น หรือ 1.73% มูลค่า 3,019.75 ล้านบาท
  • ในนาม กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นใหญ่อันดับ 7 จำนวน 1,687,009,408 หุ้น หรือ 1.73% มูลค่า 3,019.75 ล้านบาท


ด้าน ประกันสังคม มีลงทุนในหุ้นแบงก์ 4 หลักทรัพย์ และลงทุนในหุ้น กองทุนรวมอสังหาอีกเกือบ 100 หลักทรัพย์ 

สำหรับหุ้นกลุ่มแบงก์ที่ประกันสังคม เข้าไปลงทุนมีมูลค่า 26,180.66 ล้านบาท  

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL ถือหุ้นใหญ่อันดับ 3 จำนวน 59,377,000 หุ้น หรือ 3.11% มูลค่า 8,075.27 ล้านบาท (ราคาปิด ณ 26 เม.ย.2567ที่ 136.00 บาท)

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK ถือหุ้นใหญ่อันดับ 5 จำนวน 67,159,400 หุ้น หรือ 2.83% มูลค่า 8,663.56 ล้านบาท (ราคาปิด ณ 26 เม.ย.2567ที่ 129.00 บาท)

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) SCB ถือหุ้นใหญ่อันดับ 8 จำนวน 81,114,300 หุ้น หรือ 2.41% มูลค่า 8,638.67 ล้านบาท (ราคาปิด ณ 26 เม.ย.2567ที่ 106.50 บาท)

บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) TISCO ถือหุ้นใหญ่อันดับ 10 จำนวน 8,322,830 หุ้น หรือ 1.04% มูลค่า 803.15 ล้านบาท (ราคาปิด ณ 26 เม.ย.2567ที่ 96.50 บาท)

วีระวัฒน์  วิโรจน์โภคา ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. ฟินันเซีย ไซรัส เปิดเผยกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า พื้นฐานหุ้นกลุ่มแบงก์ ณ ปัจจุบันภาพรวมค่อนข้างแข็งแรงในแง่ของกำไรไตรมาส 1/67 ที่ออกมาจะเห็นว่า ไม่เป็นไปตามคาดก็จะผลงานออกมาดีกว่าคาด 

“ผลบวกจากดอกเบี้ยขาขึ้นในช่วงปีผ่านมา ที่ส่งมาเริ่มที่แผ่ว ๆ ลง สังเกตได้ว่า NIM ของแบงก์เริ่มย่อตัวลงมา สะท้อนให้เห็นว่า กำไรที่เติบโตในปีที่ผ่านมา อย่างก้าวกระโดด ปีนี้โดยภาพรวมกำไรอาจจะไม่ได้โตมากนัก แต่ก็ยังมีความแข็งแรงอยู่” 

อย่างไรก็ตาม หากนักลงทุนจะเข้ามาลงทุนในหุ้นกลุ่มแบงก์ถือว่า Valuation ค่อนข้างถูก โดยในระยะกลางถึงยาว ยังถือว่า เข้าไปลงทุนได้ โดยมอง หุ้น TTB เป็นหุ้นท็อปพิก ยังมีเครดิตภาษีที่ยังสามารถใช้ได้ และยังต่ำ และจะทำให้กำไรค่อนข้างแน่นอนที่สุด รองลงมาเป็นหุ้น KTB ที่การลงทุนของภาครัฐในระยะถัดไปจะฟื้น และความเสี่ยงของ ITD ที่ถือว่า เป็นแบงก์เดียวที่ตั้งสำรองได้ครบ 100% ไปแล้ว ส่วน SCB จะเป็นในแง่ของเงินปันผลที่จะสามารถจ่ายได้ในระดับค่อนข้างสูงต่อเนื่อง 

ณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กลุ่มแบงก์ถือว่ามีการล้อไปกับวัฎจักรของเศรษฐกิจ เพราะว่าเป็นหุ้นกลุ่มที่มีฐานะความมั่นคงทางการเงิน มีกระแสเงินสด และมีปันผลสูง 

โดยภาพรวมของกลุ่มแบงก์ถือว่า ดูดีขึ้นจากเศรษฐกิจที่มีการขยายตัว เห็นได้ว่า ไตรมาส 1/67 ผลงานออกมาค่อนข้างดี หลังจากที่มีการตั้งสำรองที่ลดลง นั่นแปลว่า การตั้งสำรองกับลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงนั่นได้จบไปแล้ว คาดว่าหลังจากนี้หากสินเชื่อมีการขยายตัวได้ก็จะเข้าไปช่วยเสริมให้ผลประกอบการดีขึ้นได้ 

ขณะที่ NIM ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้่ยยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง เพราะ ธปท.ยังไม่ได้มีการส่งสัญญาณกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 

“เรามองว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวในครั้งปีหลัง ช่วงจังหวะเวลานี้ น่าจะเป็นจังหวะที่เข้าไปลงทุน แต่ว่า ระยะสั้น กลุ่มแบงก์ราคาอาจจะไม่ได้ไปไหนไกลมาก เพราะว่า มีการประกาศผลประกอบการไปแล้ว และจ่ายปันผลไปแล้ว หากจะเข้าไปเก็งกำไรกัน น่าจะเป็นช่วง Earning Season หรือ ฤดูประกาศผลประกอบการ เพราะหุ้นกลุ่มแบงก์มีการเคลื่อนไหวแบบทรงตัว ไม่ได้มีความหวือหวาในช่วงนี้”

ประชัน 2 รายใหญ่ กองทุนวายุภักษ์ 1 vs ประกันสังคม ถือหุ้นแบงก์มากที่สุด มูลค่ารวม 1.4 แสนล้าน