‘เลือกตั้งเทศบาล’ 28 มีนาคม เปิดวิธีเช็คสิทธิ์ทำอย่างไรได้บ้าง?

‘เลือกตั้งเทศบาล’ 28 มีนาคม เปิดวิธีเช็คสิทธิ์ทำอย่างไรได้บ้าง?

เช็ค 2 ขั้นตอนตรวจสอบสิทธิ “เลือกตั้งเทศบาล” ที่จะจัดขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ วันอาทิตย์ที่ 28 มี.ค.64 โดยสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

การเลือกตั้งเทศบาลครั้งนี้ จะเปิดคูหาตั้งแต่เวลา 08.00–17.00 . โดยเป็นการเลือกตั้งทั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาล

สำหรับการเลือกตั้ง "นายกเทศมนตรีให้ใช้เขตเทศบาลเป็นเขตเลือกตั้ง ส่วนการเลือกตั้ง "สมาชิกสภาเทศบาล" ให้ใช้การแบ่งเขตเลือกตั้งตามประเภทของเทศบาล ดังนี้

1. เทศบาลตำบล แบ่งเป็น 2 เขตเลือกตั้ง

2. เทศบาลเมือง แบ่งเป็น 3 เขตเลือกตั้ง

และ 3. เทศบาลนคร แบ่งเป็น 4 เขตเลือกตั้ง

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถลงคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรีได้ 1 คน และลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลได้ไม่เกิน 6 คน

สิ่งที่ผู้มีสิทธิ์ทุกคนต้องทราบ คือ ปกติแล้ว การเลือกตั้งเทศบาล ไม่มีการเลือกตั้งล่วงหน้า และไม่เปิดให้เลือกนอกเขต โดยทุกคนจะต้องไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งเทศบาล  ภูมิลำเนาที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเท่านั้น โดย กกต. จะทำการส่งเอกสารมาถึงทุก ๆ บ้านเลขที่ เพื่อแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิ์ หรือถ้าเราไม่ได้รับจดหมายก็สามารถไปตรวจสอบได้ที่ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการ อบจ. หรือบริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้ง

เมื่อได้รับเอกสารแล้วให้รีบตรวจสอบ หากพบว่า ไม่มีชื่อตัวเอง หรือมีข้อมูลผิดพลาด หรือมีรายชื่อคนไม่รู้จักมาอยู่ร่วมทะเบียนบ้านเดียวกันกับเรา ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ โดยยื่นคำร้องต่อขอเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ กรณีตรวจสอบไม่พบชื่อตัวเอง หรือ พบบุคคลอยู่ในทะเบียนบ้านโดยไม่ได้อาศัยอยู่จริง โดยต้องแจ้งภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง หรือภายใน 7 วันตั้งแต่วันเลือกตั้ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง ​:

นอกจากนี้ กกต.ยังเปิดให้สามารถเช็ครายชื่อของตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์ได้ด้วย

วิธีตรวจสอบสิทธิผ่านช่องทางออนไลน์ ทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ 

1. เข้าไปยังเว็บไซต์เพื่อตรวจสอบสิทธิ คลิกที่นี่

2. กรอกเลขบัตรประชาชนของเราลงไป และกด ค้นหา

เพียงเท่านี้ เราก็สามารถเช็คได้ว่า มีรายชื่อของตัวเองที่จะได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งนี้ไหม และต้องไปเลือกที่ไหน เลขที่เท่าไร เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาเปิดเอกสารหน้าคูหา

161657559983

161657561774

หากไม่ไปเลือกตั้งเทศบาลจะถูกจำกัดสิทธิ์อะไรบ้าง?

1. สมัครรับเลือกตั้งเป็น .. หรือ .. หรือ .. หรือสมัครรับเลือกเป็น ..

2. สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน

3. เข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอน .. หรือ ..

4. ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง

5. ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น

ทั้งนี้ การถูกจำกัดสิทธิ กำหนดเวลาครั้งละ 2 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง

   

อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง