เปิดหลักเกณฑ์ สปสช. ตรวจคัดกรอง รักษา โควิดฟรี !

เปิดหลักเกณฑ์ สปสช. ตรวจคัดกรอง รักษา โควิดฟรี !

สปสช. ยืนยัน กลุ่มเสี่ยงทุกคน-ผู้ป่วยทุกสิทธิ รักษาฟรีได้ทั้งโรงพยาบาลรัฐ-เอกชน ส่วนการจ่ายชดเชยให้โรงพยาบาลเอกชนนั้น จะเป็นไปตามระบบ UCEP หรือรักษาฉุกเฉินเร่งด่วน

วันนี้ (16 เมษายนต 2564) “พญ.กฤติยา ศรีประเสริฐ” ที่ปรึกษา สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวในงานแถลงข่าว สายด่วน-LINE’ ช่วยหาเตียงผู้ติดเชื้อโควิด ผ่าน Facebook live สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยระบุว่า สปสช. มีการจ่ายค่าใช้จ่ายต่อเนื่องตั้งแต่ระลอกแรก และมีสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับกลุ่มเสี่ยง ไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่ผ่านมา มีการจ่ายคัดกรองความเสี่ยง ครอบคลุมทั้งบัตรทอง ประกันสังคม ข้าราชการ ทุกคนที่เป็นคนไทยถือบัตรประชาชน ถ้าคัดกรองเจอความเสี่ยง ไปรักษา รพ.บัตรทอง หรือ รพ.รัฐอื่นๆ และหากมีเหตุจำเป็นไปตรวจใน รพ.เอกชน ก็มีการจ่ายเรื่องฉุกเฉินเร่งด่วนทั้งหมดโดยไม่เรียกเก็บ

“หากกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการคัดกรองแล้วพบว่าติดเชื้อโควิด-19 และมีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน สปสช.ได้ทำข้อตกลงกับภาคเอกชนแล้วว่าจะไม่มีการเรียกเก็บเงินจากผู้ป่วย แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยบางรายมีประกันสุขภาพเอกชนก็อาจจะต้องใช้ส่วนนั้นไปก่อน ส่วนการจ่ายชดเชยให้โรงพยาบาลเอกชนนั้น จะเป็นไปตามระบบ UCEP หรือรักษาฉุกเฉินเร่งด่วน”

  • “กลุ่มที่เข้าเกณฑ์” ตรวจคัดกรอง
  1. กลุ่มเสี่ยงตามที่กรมควบคุมโรคกำหนด
  2. การตรวจคัดกรองก่อนทำหัตถการ ตามที่กรมการแพทย์กำหนด เพื่อลดการฟุ้งกระจายเชื้อ
  3. แพทย์ตรวจรักษาประเมินว่ามีความจำเป็นทางการแพทย์สามารถตรวจได้

  • “กลุ่มเสี่ยง” ตามที่กรมควบคุมโรคกำหนด ล่าสุด 9 มี.ค. 64
  1. การเฝ้าระวังในกลุ่มผุ้ป่วย หรือมีอาการเข้าได้กับนิยาม PUI
  2. การตรวจคัดกรองในประชากรเสี่ยงตามจุดคัดกรองและด่านเข้าออกระหว่างประเทศ (Screening) การเฝ้าระวังในผู้เดินทางเข้าประเทศและอยู่ในสถานกักกันที่ราชการกำหนด และกลุ่มประชากรเปราะบาง ได้แก่ ผู้ต้องขังแรกรับในเรือนจำทุกแห่งทั่วประเทศ ผู้ต้องกัก ผู้หลบหนีเข้าเมืองที่ถูกจับกุม
  3. การเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่
  • ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในด้วย Community – acquired pneumonia และ ARI ในทุกจังหวัด
  • บุคลากรทางการแพทย์ สาธารณสุขในสังกัด สถานพยาบาลของรัฐ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ PUI
  • เจ้าหน้าที่สถานกักกันตามราชการกำหนด
  • เจ้าหน้าที่ด่านเข้าออกระหว่างประเทศ
  • การเฝ้าระวังเฉพาะพื้นที่ในชุมชน (คัดเลือกจาก 11 พื้นที่เสี่ยง)

 

  • ผู้สัมผัสใกล้ชิด ประกอบด้วย
  1. ผู้ที่อยู่ใกล้หรือมีการพูดคุยกับผู้ป่วยในระยะ 1เมตร เป็นเวลานานกว่า 5 นาที หรือถูกไอจามรดจากผู้ป่วย
  2. ผู้ที่อยู่ในบริเวณที่ปิด ไม่มีการถ่ายเทอากาศมากนัก ร่วมกับผู้ป่วย โดยอยู่ห่างจากผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร เป็นเวลานานกว่า 15 นาที เช่น ในรถปรับอากาศ หรือห้องปรับอากาศ

  • กลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิด แบ่งได้ดังนี้  
  1. ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง หมายถึง ผู้สัมผัสที่มีโอกาสสูงในการรับหรือแพร่เชื้อกับผู้ป่วยที่มีโอกาสสัมผัสสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย โดยไม่ใด้ใส่ personal protective equipment (PPE) ตามมาตรฐาน
  2. ผู้สัมผัสใกล้ซิดเสี่ยงต่ำ หมายถึง ผู้สัมผัสที่มีโอกาสต่ำในการรับหรือแพร่เชื้อกับผู้ป่วย ได้แก่ ผู้สัมผัสใกล้ชิดที่ไม่เข้าเกณฑ์ผู้สัมผัสใกล้ซิดเสี่ยงสูง

  • สปสช. ดูแลครอบคลุมอะไรบ้าง  

            ทั้งนี้ สปสช. ดูแลคนไทยทุกคนทุกสิทธิ ทั้งภาครัฐ เอกชน แม้จะไม่ได้ร่วมโครงการ 30 บาท หากเป็นกลุ่มเสี่ยง ดังนี้

  1. ตรวจแล็บ และค่าบริการ
  2. ค่าเก็บตัวอย่าง (UC)
  3. ยาโควิด 19
  4. PPE รักษา และ อุปกรณ์ป้องกันการแพร่เชื้อ
  5. ค่าห้อง รวมค่าอาหาร
  6. ค่าพาหนะส่งต่อผู้ป่วย

  • ตรวจคัดกรองโควิด วิธีใดได้บ้าง

ปีงบประมาณ 2564 เพิ่มเดิมรายการตรวจคัดกรองและตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อ ยืนยันการติดเชื้อ COVID-19 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (สำหรับประชาชนไทยทุกคน) ด้วยวิธีดังนี้

1. การตรวจด้วยวิธี Realtime RT-PCR โดย nasopharyngeal and throat swab Sample

2. การตรวจด้วยวิธี Realtime RT-PCR โดยการทำ Pooled Sample

    2.1) ตัวอย่างน้ำลายแบบรวมตัวอย่าง (Pooled saliva samples)

    2.2) ตัวอย่างป้ายหลังโพรงจมูก และป้ายลำคอแบบรวมตัวอย่าง (Pooled nasopharyngeal and throat swab samples)

3. การตรวจภูมิคุ้มกัน (Antibody)

4. การตรวจเชื้อไวรัส (Antigen)

ทั้งนี้ การตรวจคัดกรอง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยันการติดเชื้อ COVID-19 ขึ้นอยู่กับแพทย์พิจารณาวิธีการตรวจที่หมาะสมสำหรับผู้มีสิทธิแต่ละราย และขอรับค่าใช้จ่ายตามเงื่อนไขในแต่ละวิธีที่ สปสช.กำหนด

  • อัตราจ่ายค่าคัดกรองโควิด 19

RT-PCR

  • ตรวจแล็บ จ่ายตามจริง ไม่เกิน 1,600 บาท
  • ค่าบริการ เหมาจ่าย 600 บาท
  • เก็บตัวอย่าง เหมาจ่าย 100 บาท

Pooled saliva

  • ตรวจแล็บ จ่ายตามจริง ไม่เกิน 320 บาท
  • ค่าบริการ เหมาจ่าย 100 บาท
  • เก็บตัวอย่าง เหมาจ่าย 40 บาท

Pooled Swab

  • ตรวจแล็บ จ่ายตามจริง ไม่เกิน 400 บาท
  • ค่าบริการ เหมาจ่าย 75 บาท
  • เก็บตัวอย่าง เหมาจ่าย 100 บาท

RT-PCR (Pooled ผลบวก)

  • ตรวจแล็บ จ่ายตามจริง ไม่เกิน 1,600 บาท
  • ค่าบริการ และ เก็บตัวอย่าง เหมาจ่าย 200 บาท

Antibody

  • ตรวจแล็บ ค่าบริการ และ เก็บตัวอย่าง เหมาจ่าย 350 บาท

Antigen

  • ตรวจแล็บ ค่าบริการ และ เก็บตัวอย่าง จ่ายตามจริงไม่เกิน 1,200 บาท

** กรณีฉุกเฉิน ตรวจร่วมกับ RT-PCR จ่าย Ag ตามจริงไม่เกิน 500 บาท  

  • ตรวจพบเชื้อ สปสช. จ่ายชดเชย รพ.เอกชน อย่างไร

กรณีผู้ป่วยนอก OP

  1. ค่าตรวจแล็บ และ ค่าเก็บตัวอย่าง
  2. ค่ายาที่เป็นการรักษาเฉพาะผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด 19 จ่ายตามจริงไม่เกิน 7,200 บาทต่อราย
  3. ค่ารถส่งต่อระหว่างหน่วยบริการ บ้าน ด่าน SQ + ชุด PPE + ยาฆ่าเชื้อ (จ่ายตาจริงตามระยะทาง +3,700 บาท)

กรณีผู้ป่วยใน IP

1. ค่าตรวจแล็บ ค่าเก็บตัวอย่าง

2. ค่ายาที่เป็นการรักษาเฉพาะผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด 19

3. ค่าชุด PPE เหมาจ่าย 740 บาท ต่อชุด หรือ ค่าอุปกรณ์อื่นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ตามอาการเล็กน้อย จ่ายตามจริงไม่เกิน 11,100 บาท ต่อวัน หรือ อาการรุนแรงจ่ายตามจริงไม่เกิน 22,200 บาทต่อวัน

4. ค่าห้อง ได้แก่  1) ค่าห้องควบคุม หรือห้องดูแลการรักษาภายใน รพ. จ่ายตามจริงไม่เกิน 2,500 บาทต่อวัน 2) ค่าหอผู้ป่วยเฉพาะกิจโควิด 19 จ่ายตามจริงไม่เกิน 1,500 บาทต่อวัน

5. ค่ารถส่งต่อระหว่างหน่วยบริการ , บ้าน , ด่าน , SQ + ชุด PPE + ยาฆ่าเชื้อ (จ่ายตาจริงตามระยะทาง +3,700 บาท)

“เนื่องจากโควิดเป็นโรคที่ฉุกเฉิน และ ค่ารักษาค่อนข้างสูง หากไม่ปฏิเสธสิทธิการรักษา และทำตามคำแนะนำของแพทย์ และหน่วยบริการนั้น ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายแน่นอน”  ที่ปรึกษา สปสช. กล่าว