เขย่าเก้าอี้ 'อัศวิน' ตัดขาเลือกตั้ง 'กทม.'

เขย่าเก้าอี้ 'อัศวิน' ตัดขาเลือกตั้ง 'กทม.'

คำสั่ง คสช.แต่งตั้ง "อัศวิน" ขึ้นเป็นผู้ว่าฯ กทม. กลายเป็นมรดก "คสช." แหล่งท้ายๆ ที่เหลืออยู่ในอำนาจขณะนี้

"เป็นผม ผมไม่ทำ" ประโยคสั้นๆ จาก "บิ๊กแป๊ะ" พล...จักรทิพย์ ชัยจินดา อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. โพสต์สะเทือนไปถึงศาลาเสาชิงช้า เมื่อภาพที่ถูกโพสต์นั้นเป็นแอคชั่น "บิ๊กวิน" พล...อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม.คนปัจุบัน กับภาพผลงาน กทม.ที่ผ่านมา

คงไม่แปลกที่ภาพผู้ว่าฯ กทม.ที่โชว์ผลงานกลายเป็นเรื่องปกติ เช่นเดียวภาพผลงานผู้ว่าฯกทม.ในอดีต หรือผลงานจากระดับคนเป็นรัฐมนตรี

แต่เป็นเรื่องแปลกที่อดีต "ลูกน้อง" เก่าเปิดศึก "ลูกพี่" ก่อนถึงสนามเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.จะมาเร็วกว่าที่คิด เมื่อท่าทีจาก "บิ๊กแป๊ะ" ชัดเจนแล้วว่าพร้อมลงสมัครในนามอิสระ ส่วนท่าที "อัศวิน" ก็ไม่เคยปฏิเสธว่าจะถอยให้กับการเลือกตั้งครั้งต่อไป

ยิ่งสถานการณ์ทางการเมือง และการระบาดของโควิด กลายเป็น "นาทีทอง" ให้นักเลือกตั้งทั่ว กทม. ออกตัวเร่งโปรโมต "หาเสียงล่วงหน้า" กับสถานการณ์ "โควิด" ก่อนถึงการเลือกตั้งสนาม กทม. ซึ่งยังคาดว่าอยู่ในช่วงปลายปี 64 แต่กลับได้เห็น "มวยคู่แรก" ระหว่างศึกพี่-น้อง ถูกแสงสปอร์ตไลท์จับจ้องไปก่อนการสมัครรับเลือกตั้งเกิดขึ้น

หากย้อนไปดูจุดเริ่มต้นของ พล...อัศวิน ที่เข้ามานั่งเป็นผู้บริหาร กทม.ในเก้าอี้รองผู้ว่าฯ เมื่อ 3 เม..2556 เป็นยุคที่ "...สุขุมพันธุ์ บริพัตร" จากประชาธิปัตย์ ชนะเลือกตั้งถล่มทลายเป็นผู้ว่าฯ กทม. โดยในช่วงการเลือกทีมงานรองผู้ว่าฯ ในวงพูดคุยของแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ ที่มี "ชวน หลีกภัย" และ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" หัวหน้าพรรคในขณะนั้นได้เจรจาทาบทาม "บิ๊กวิน" ให้มารับเก้าอี้เป็นทีมรองผู้ว่าฯ ในยุค "สุขุมพันธ์ 2/1"

จากนั้น "อัศวิน" อยู่ในตำแหน่งรองผู้ว่าฯ กทม.เรื่อยมา จนกระทั่งฟ้าผ่าใหญ่ไปถึงศาลา กทม.เมื่อมีคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่ 64/2559 ลงวันที่ 18  ..2559 ปลด "สุขุมพันธ์" จากตำแหน่งพร้อมแต่งตั้ง "อัศวิน" ขึ้นเป็นผู้ว่าฯ กทม.แทน และอยู่ในตำแหน่งยาวนาน มาถึงขณะนี้เป็นเวลาเกือบ 4 ปีเต็ม กลายเป็นมรดก "คสช." แหล่งท้ายๆ ที่คงเหลืออยู่ในอำนาจขณะนี้

162107300725

จากปัญหากรุงเทพฯ มากมาย โดยเฉพาะภายหลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปลายปี 2554 ทำให้ "ผู้ว่าฯกทม." แบกรับความกดดันจากคนกรุงเทพฯ อย่างหนัก ต่อความสามารถในการแก้ปัญหาซึ่งไม่ใช่เรื่องน้ำท่วมเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงปัญหารถติด ความปลอดภัย การทำมาหากิน มลพิษฝุ่น PM 2.5 มาจนถึงวิกฤติ "โควิด" ขณะนี้

แน่นอนว่า "อัศวิน" ยังถูกตั้งคำถามจากคนกรุงเทพฯ ว่าทำได้ดีแค่ไหน ในหมวกผู้มีอำนาจพิเศษ คสช.ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งผ่านมติคนกรุงเทพฯ

ถึงแม้ตลอด 4 ปีที่ "อัศวิน" พยายามพิสูจน์ตัวเองจากนโยบาย กทม. "ผลักดันทันใจ แก้ไขทันที" จะถูกแสดงผ่าน "ป้ายผลงาน" ที่ถูกติดตั้งในจุดสำคัญทั่วกรุง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า อีกด้านหนึ่งคนกรุงเทพฯ ต้องการเวทีเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.โดยเร็ว ไม่ต่างจากการเลือกตั้งท้องถิ่นระดับอื่นที่จัดขึ้นไปก่อนหน้านี้ เพื่อ "เสียง" คนกรุงจะถูกสะท้อนดังไปถึงว่าที่ผู้สมัครให้กำหนดนโยบายหาเสียงที่มาจากความต้องการของคนกรุงเทพฯ โดยตรง

จึงไม่แปลก ที่ขณะนี้ "ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม." และ ..หลายคน เร่งปรากฎตัวทำกิจกรรมหาเสียงทางอ้อมในสถานการณ์โควิดท่ามกลางกระแสเช็คเสียงคู่แข่งจากหลายพรรคการเมืองที่มีฐานเสียงในกรุงเทพฯ จะเลือกเปิดหน้าใครเป็นตัวแทนลงสมัครเลือกตั้ง

ที่ผ่านมาบนช่องทางเฟซบุ๊คที่ชื่อ "ผู้ว่าฯอัศวิน" ถูกใช้เป็นพื้นที่โปรโมต "ไลฟ์สไตล์" การใช้ชีวิตและประวัติความเป็นมาผ่านการเล่าจาก "อัศวิน" นอกจากนี้ ยังตั้งทีมงานประชาสัมพันธ์ส่วนตัวในนามกลุ่มรักษ์กรุงเทพเปิดแฟนเพจเฟซบุ๊ค เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับผู้ว่าฯ กทม. รวมถึงกลุ่มเพื่อนมิตรในแวดวงมวยไทย ราวกับโปรโมตตัวเองปูทางลงสมัครผู้ว่าฯ กทม.

162107312359

แต่หากนับบุคคลที่ประกาศตัวลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ชัดๆ แล้ว ตั้งแต่ชื่อ รสนา โตสิตระกูล ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ไม่เว้นแม้แต่"ทอม เครือโสภณ" นักธุรกิจดัง ที่เคยประกาศตัวสนใจลงสมัคร หรือกระทั่งชื่อ "ดร.เอ้" สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์" อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่มีกระแสกับ "ประชาธิปัตย์" และยังถูกพูดถึงในสนามเลือกตั้ง กทม.มาตลอด

แต่ท่าทีพรรคการเมืองใหญ่อย่าง "พลังประชารัฐ-เพื่อไทย-ก้าวไกล-ประชาธิปัตย์" ที่ยังไม่เปิดตัว "แคนดิเดต" จนกว่าถึงเวลาเหมาะสมในสถานการณ์การเมือง แน่นอนว่าทุกพรรคต้องรอดูเบื้องหน้า และต้องเช็คพรรคคู่แข่งว่าจะเลือกส่งใคร

โดยเฉพาะในปีกพลังประชารัฐ จากกระแส "บิ๊กป้อม" พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคผลักดัน..กทม.ของพรรคให้สนับสนุน "พล...จักรทิพย์" โดยมอบหมายให้ "..ธรรมนัส พรหมเผ่า" รมช.เกษตรและสหกรณ์ เป็นหัวเรือคุมเลือกตั้ง เพราะอย่างน้อยจากฐานเสียง ..กทม. 12 ที่นั่งจาก 30 เขตของพลังประชารัฐก็สร้างความมั่นใจในระดับหนึ่งว่า จะส่งคะแนนให้ "จักรทิพย์" ได้ไม่น้อย ซึ่งการเดินหมากภายใน "พลังประชารัฐ" จะเป็นตัวกำหนดสถานการณ์ทั้งกระดานว่าจะเลือกสนับสนุนใครเต็มตัวระหว่าง "บิ๊กแป๊ะ-บิ๊กวิน"

ขณะเดียวกัน อย่าลืมว่าสถานการณ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.รอบนี้ ต่างจากการเลือกตั้ง 24 มี..2562 เมื่ออัตลักษณ์คนกรุงเทพฯต้องการ "ของใหม่" มากกว่าของเดิม และมักเลือกผู้ว่าฯ กทม.ที่อยู่ตรงข้ามกับขั้วรัฐบาล ซึ่งทั้งสองโจทย์นี้เป็นงานหินทั้งสำหรับ "บิ๊กวิน" ซึ่งเป็น "ของเดิม" และ "บิ๊กแป๊ะ" ซึ่งมาจากแรงสนับสนุน "ขั้วรัฐบาล"

ทว่าสถานการณ์การเมืองใหญ่ ก็อาจกลายเป็นตัวแปรอีกด้าน เพราะหากรัฐบาลถูกรุกหนัก และทิ้ง "ไพ่ตาย" อีกใบในมือ คือการยุบสภา หากเกิดอุบัติเหตุ "รีเซต" ภาพใหญ่ทางการเมือง ย่อมกระทบไปถึงคิวเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่อาจถูกเลื่อนออกไปอีกอย่างน้อย 1 ปี อย่างเลี่ยงไม่ได้

เมื่อนั้น ตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.จากกลไกยุค คสช. ก็ยังคงเป็นชื่อ "อัศวิน ขวัญเมือง" ที่ยังครองเก้าอี้อำนาจไปอีกยาวนาน.

162107323827