ประสาน 9 จว. เตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน

ประสาน 9 จว. เตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน

กอปภ.ก. ประสาน 9 จังหวัดภาคกลางและภาคใต้ฝั่งตะวันตกเตรียมพร้อมรับมือ ฝนตกหนักและคลื่นลมแรงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ช่วงวันที่ 25-29 พ.ค. 64

เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 64 กระทรวงมหาดไทยโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประสาน 6 จังหวัดภาคกลางและภาคใต้ฝั่งตะวันตกเตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักและคลื่นลมแรงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 25-29 พ.ค. 64 โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศปริมาณฝนระดับน้ำและแนวโน้มสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิดพร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนติดตามพยากรณ์อากาศและปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด

นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในฐานะผู้อำนวยการกลาง กล่าวว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) ได้ติดตามสภาพอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยงประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 1 (76/2564) ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 เวลา 12.00 น. แจ้งว่า พายุไซโคลน “ยาอาส” บริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน กำลังเคลื่อนัวทางทิศเหนือค่อนตะวันตกคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศอินเดียตอนบนในช่วงวันที่ 26-27 พฤษภาคม 2564 ส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่คลื่นลมในทะเลอันดามันมีกำลังแรง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2-4 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ

กอปภ.ก.โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้ประสาน 9 จังหวัดในพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ฝั่งตะวันตกเตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักและคลื่นลมแรง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 25 – 29 พฤษภาคม 2564 แยกเป็น

สถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ดังนี้
ภาคกลาง 1 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี(อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอท่ายาง และอำเภอบ้านลาด)

ภาคใต้ 8 จังหวัด ได้แก่

  1. ประจวบคีรีขันธ์ (อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอบางสะพานอำเภอบางสะพานน้อยอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี อำเภอกุยบุรี และอำเภอสามร้อยยอด)
  2. ชุมพร (อำเภอเมืองชุมพรอำเภอปะทิว อำเภอสวี อำเภอท่าแซะอำเภอหลังสวน อำเภอละแม และอำเภอทุ่งตะโก)
  3. ระนอง (อำเภอละอุ่น และอำเภอกะเปอร์)
  4. พังงา (อำเภอตะกั่วป่า และอำเภอคุระบุรี)
  5. ภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต อำเภอกระทู้ และอำเภอถลาง)
  6. กระบี่ (อำเภอเขาพนมอำเภอปลายพระยา และอำเภอลำทับ)
  7. ตรัง (อำเภอเมืองตรัง อำเภอนาโยง อำเภอย่านตาข่าว อำเภอกันตัง อำเภอห้วยยอด อำเภอปะเหลียนและอำเภอวังวิเศษ)
  8. สตูล (อำเภอควนโดน อำเภอควนกาหลง อำเภอมะนังและอำเภอทุ่งหว้า)

สถานการณ์คลื่นลมแรง ดังนี้

  1. ระนอง(อำเภอเมืองระนอง อำเภอกะเปอร์ และอำเภอสุขสำราญ)
  2. พังงา (อำเภอเกาะยาวอำเภอตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอคุระบุรี และท้ายเหมือง)
  3. ภูเก็ต(อำเภอเมืองภูเก็ต อำเภอกระทู้ และอำเภอถลาง) กระบี่ (อำเภอเมืองกระบี่อำเภออ่าวลึก อำเภอเหนือคลอง
  4. อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา)
  5. ตรัง (อำเภอกันตัง อำเภอสิเกาอำเภอปะเหลียน และอำเภอหาดสำราญ)
  6. สตูล (อำเภอเมืองสตูล อำเภอละงูอำเภอมะนัง และอำเภอทุ่งหว้า)

รวมถึงสั่งการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัยเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยในช่วงดังกล่าวโดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝนพร้อมวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงและแนวโน้มสถานการณ์ภัยต่อเนื่องตลอด24 ชั่วโมง โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัย ทั้งที่ลาดเชิงเขา พื้นที่ลุ่มต่ำพื้นที่ชุมชนเมือง รวมถึงจัดชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) รถปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัยให้พร้อมเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีอีกทั้งประสานหน่วยงานในพื้นที่ อำเภอองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสร้างการรับรู้และแจ้งเตือนประชาชนติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิดตลอดจนประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้มงวดมาตรการความปลอดภัยทางทะเล โดยเพิ่มการติดตั้งสัญญาณแจ้งเตือนภัยบริเวณชายฝั่งทะเลจัดเตรียมเครื่องมือประจำเรือและอุปกรณ์ช่วยชีวิตทางน้ำให้พร้อมใช้งานอีกทั้งหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์“ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และแอปพลิเคชัน“พ้นภัย” รวมถึงสายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป