Bank Sector (25 มิ.ย.64)

Bank Sector (25 มิ.ย.64)

เน้นโตในสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงตํ่า และยีลด์ตํ่า

Event

สรุปงบดุลเดือนพฤษภาคม 2564

Impact

BBL, KBANK, KTB ปล่อยกู้ในตลาดเงินมากขึ้น

ธนาคารส่วนใหญ่มีฐานเงินฝากเพิ่มขึ้น (+1.2% MoM และ +2.5% YTD) โดยเฉพาะ BBL (+3% MoM และ +5% YTD) รองลงมาคือ KBANK (+2% MoM และ +6% YTD) และ KTB (+2% MoM และ+2.5% YTD) อย่างไรก็ตาม เราพบว่ามีกระแสเงินฝากไหลออกจากฐานขนาดเล็กและกลาง โดยธนาคารขนาดใหญ่นำกระแสเงินฝากที่ไหลเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำในตลาดเงิน ซึ่งมีรัฐบาลเป็นผู้กู้หลัก ดังนั้น ยอดปล่อยกู้ในตลาดเงินจึงเพิ่มขึ้น 4% MoM และ +19% YTD โดยธนาคารที่ปล่อยกู้อย่างคึกคักที่สุดคือ KBANK, BBL และ KTB โดยในกรณีของ KBANK ยอดปล่อยกู้ในตลาดเงินเพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 25% MoM (แต่ยังลดลง -18% YTD) ส่วนของ BBL เพิ่มขึ้น 18% MoM และ +111% YTD ในขณะที่ของ KTB เพิ่มขึ้น 7% MoM และ +34% YTD

มีการซื้อขายตราสารหนี้อย่างคึกคัก นำโดย SCB

นอกจากจะปล่อยกู้ในตลาดเงินอย่างคึกคักแล้ว ธนาคารต่าง ๆ ยังนำสภาพคล่องส่วนเกินบางส่วนไปลงทุนในตราสารหนี้ด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลมีการออกตราสารทางการเงินในตลาด เราจึงคิดว่าธนาคารอาจจะเข้าซื้อตราสารที่ออกใหม่เข้ามาเพิ่มในพอร์ตการลงทุน ทั้งนี้ พอร์ตการลงทุนของธนาคารเพิ่มขึ้น 3% QoQ แต่ยังลดลง 4% YTD นำโดย SCB (+12% MoM แต่ -15% YoY) ในขณะที่ของธนาคารอื่น ๆ เพิ่มขึ้นเท่าๆ กันที่ +2% MoM

มีสัญญาณว่ามาร์จิ้น ถูกกดดัน

โดยสรุปแล้ว ธนาคารมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม ซึ่งส่วนใหญ่ถูกนำไปปล่อยกู้ในตลาดเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ และลงทุนในตราสารหนี้โดยมี yield ประมาณ 1.5-2% ในขณะที่เดียวกัน สินทรัพย์ที่ให้ yield สูงอย่างสินเชื่อค่อนข้างทรงตัว MoM และเพิ่มขึ้นเพียง 2% YTD นำโดย KTB (+1.6% MoM
และ +5% YTD) และ KBANK (+1% MoM และ +5% YTD) ทั้งนี้ เนื่องจากธนาคารส่วนใหญ่เพิ่มจำนวนสินทรัพย์ yield ต่ำจำนวนมาก เราจึงคาดว่ามาร์จิ้นของ BBL และ KTB จะถูกกดดัน

Valuation & action

Margin ของธนาคารขนาดใหญ่จะถูกกดดันใน 2Q64F จากการเพิ่มจำนวนสินทรัพย์ yield ต่ำในตลาดเงินซึ่งเป็นไปตามที่เราคาดไว้อยู่แล้วว่าผลประกอบการจะชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ฐานเงินทุนที่เพิ่มขึ้นของทุกธนาคารแสดงให้เห็นว่าผลการดำเนินงานใน 2Q64 ไม่ได้แย่จนเกินไป ทั้งนี้ การแช่แข็งสินเชื่อที่มี
ปัญหาเอาไว้ก่อนเปิดโอกาสให้ธนาคารสามารถบริหารจัดการ NPL และคุณภาพสินทรัพย์แบบค่อยเป็นค่อยไปได้ เรายังคงเลือก KBANK เป็นหุ้นเด่นของเราในกลุ่มธนาคารจากการปรับโครงสร้างรายได้ไปเน้นรายได้ค่าธรรมเนียมในตลาดทุน และเติบโตสินเชื่อดิจิตอล

Risks

ผลขาดทุนจาก FVTPL, ตั้งสำรองก้อนใหญ่, NIM ลดลงเกินคาด