ทำความเข้าใจ ‘Rapid Antigen Test’ ตรวจคัดกรอง 'โควิด 19'

ทำความเข้าใจ ‘Rapid Antigen Test’  ตรวจคัดกรอง 'โควิด 19'

คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบแนวทางการใช้ 'Rapid Antigen Test’ หรือ 'Antigen Test Kit' ในการตรวจหาเชื้อ 'โควิด 19'

ปัจจุบัน  Antigen Test Kit ที่ผ่านการรับรองและขึ้นทะเบียนกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แล้ว 24 ยี่ห้อ โดยอนุญาตให้ตรวจในสถานพยาบาล และหน่วยตรวจที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการตรวจ RT-PCR ที่มีมากกว่า 300 แห่ง

เพื่อช่วยลดระยะเวลารอคอย และในระยะต่อไปจะอนุญาตให้ประชาชนตรวจเองได้ที่บ้าน โดยมอบหมายให้คณะกรรมการโรคติดต่อ จังหวัด และคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร กำกับการดำเนินงานตามแนวทางปฏิบัติ

ล่าสุด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) และ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดให้บริการจุดตรวจโควิด 19 ด้วยการตรวจแบบ Rapid Antigen Test โดยผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ ซึ่งในวันแรก จะมีการจัดให้มีการตรวจ 1,000 ราย และจะเพิ่มปริมาณการตรวจในวันต่อๆ ไป

162609081575

ทั้งนี้การตรวจ Rapid test ได้เปิดให้บริการ 3 จุด ได้แก่ สนามกีฬาธูปะเตมีย์ สนามราชมังคลากีฬาสถาน และ ลานจอดรถ ชั้น 5 ศูนย์ ราชการ อาคาร บี โดยจะเปิดเพิ่มอีก 1 จุดในวันที่ 14 ก.ค. ที่ สนามฟุตบอลกองพล ปตอ. เกียกกาย ซึ่งเมื่อเปิดครบทั้ง 4 จุดแล้ว คาดว่าจะให้บริการตรวจโควิด 19 ได้วันละ 10,000 ราย

  • ทำความรู้ Rapid Antigen test 

Rapid Antigen test เป็นการตรวจองค์ประกอบของไวรัส ซึ่งข้อมูลที่มีวันนี้ Antigen test ชนิด Rapid มีขึ้นทะเบียนในประเทศไทยทั้งหมด 24 ยี่ห้อ ทั้งหมดสามารถถูกใช้ได้โดยบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพท ย์ได้มีข้อแนะนำในการตรวจ โดยข้อหนึ่งระบุว่า หากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ชุดตรวจ ซึ่งทำให้ทราบผลค่อนข้างเร็ว ก็สามารถทำได้ แต่ที่ตรวจแล้วผลเป็นลบ ไม่ได้แปลว่าไม่ติดเชื้อ เพราะเชื้ออาจจะยังน้อย หรือตรวจไม่เจอด้วยการตรวจชนิดนี้

ส่วนคนที่ตรวจแล้วเจอเชื้อ อาจจะต้องถูกคอนเฟิร์มโดย RT-PCR ที่เป็นมาตรฐานอีกครั้งหนึ่ง มีประมาณ 300 กว่าแห่ง

เพราะอาจจะมีอยู่บ้างที่พบผลบวกลวง ฉะนั้นการนำไปรักษาเป็นคนไข้ จะต้องถูกคอนเฟิร์มอีกครั้งหนึ่งสำหรับเรื่องค่าใช้จ่าย ถ้าตรวจด้วย Antigen test kit ถ้าเข้าเกณฑ์ สปสช. จะให้เบิกไม่เกินรายละ 450 บาท การตรวจในหน่วยบริการไม่เกิน 600 บาท

หากการมีผู้เข้าถึงการบริการลักษณะนี้มากขึ้น ตรวจได้เร็วขึ้น เราอาจเจอคนไข้เป็นบวกมากขึ้น ในขณะที่ระบบบริการควรสงวนไว้สำหรับคนที่อาการหนัก ดังนั้นคนที่ไม่มีอาการ จึงแนะนำให้ทำตามมาตรการ Home Isolation กักตัวที่บ้านอย่างมีคุณภาพ และต้องมีการดูแล หากอาการหนักจะต้องถูกส่งต่อไปรักษาต่อไป

162609087022

ทว่า สิ่งสำคัญต้องสร้างความเข้าใจว่า ชุดตรวจ โควิด-19 นี้ ยังมีผลลวงที่อาจเกิดขี้นได้ จำเป็นต้องแปลผลให้ถูกต้อง  

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขอให้เข้าใจว่าคนตรวจผลเป็นลบ ไม่ใช่ไม่ติดเชื้อ แต่อาจเชื้อน้อย และตรวจไม่เจอด้วยวิธีนี้หากตรวจแล้วบวก อาจจะต้องยืนยันผลด้วยวิธีRT-PCRอีกครั้งเพราะมีจำนวนอยู่บ้างอาจจะเกิดผลบวกลวง เพราะการจะรักษาคนไข้อาจต้องยืนยันอีกครั้ง

การตรวจโดย Rapid Antigen Test จะตรวจตัวอย่างจากจมูกหรือคอ เพื่อช่วยให้คนเข้าถึงบริการมากขึ้น ไม่อยากให้คนไม่มีคิวตรวจ แล้วไม่ได้ไปตรวจแล้วเกิดปัญหาคนจำนวนหนึ่งแพร่เชื้อได้ โดยที่ไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้ออยู่ในตัว แต่คนตรวจ Antigen Test แล้วเป็นลบ ก็ต้องระวังตัว กักตัว เพราะการตรวจนี้มีความไวต่ำกว่าRT-PCR และถ้ามีอาการหรือผ่านระยะเวลาหนึ่งต้องตรวจซ้ำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : รู้จัก 'Rapid Antigen Test' ก่อนซื้อตรวจ 'โควิด-19' เอง

                      'Rapid Antigen Test' ไม่เท่ากับ 'Rapid Antibody Test' อย่าสับสน!

                      'ศบค.'เปิดจุดตรวจโควิดเพิ่ม จัดตั้ง 'Home isolation' ทั่วกรุง

  • รพ.เอกชนให้บริการตรวจได้

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า ขณะนี้ประชาชนต้องการตรวจหาเชื้อและพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น สัปดาห์ที่ผ่านมา กรมสบส. จึงประชุมกับสมาคมโรงพยาบาลเอกชน โดยอนุญาตให้ใช้การตรวจ Rapid Antigen Test เพื่อให้ตรวจหาเชื้อได้เร็วขึ้น ตามสถานการณ์เปลี่ยนไป และหากตรวจพบผู้ติดเชื้อ มีระบบการดูแล 2 แนวทาง

แนวทางที่ 1 หาก โรงพยาบาลเอกชน มีเตียง และประเมินผู้ติดเชื้อเบื้องต้น พบว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ควรรักษาในโรงพยาบาล เช่น อาการหนัก อายุมาก เป็นกลุ่มเสี่ยง ให้หาเตียงรองรับ

แนวทางที่ 2 หากผู้ติดเชื้อแข็งแรงดี ไม่มีอาการ สถานพยาบาลเอกชนสามารถดำเนินมาตรการ แยกกักตัวที่บ้าน ได้ทันที โดยได้รับความยินยอมและสมัครใจจากผู้ติดเชื้อ

162609115939

ขณะนี้ ได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องสถานพยาบาลอื่นซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องอยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล เฉพาะผู้ป่วยโรคติดต่ออันตรายตามด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ณ ที่พำนักของผู้ป่วย (Home Isolation) เป็นการชั่วคราว และทำหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายการแยกกักตัวที่บ้าน เพื่อช่วยให้ประชาชนได้รับการดูแลติดตามอาการอย่างรวดเร็ว ดูแลค่าใช้จ่าย ไม่ให้เป็นภาระ โดยจะนำเข้าสู่ที่ประชุม ครม.ต่อไป

  • สภาเทคนิคฯให้คำปรึกษาแปลผล

ทนพ.สมชัย เงิดเสริมอนันต์  นายกสภาเทคนิคการแพทย์ ออกแถลงการณ์สภาเทคนิคการแพทย์ เรื่อง การบริการทางเทคนิคการแพทย์ในสถานการณ์โควิค 19 โดยระบุว่าสภาเทคนิคการแพทย์ สนับสนุนการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ของโรคติดเชื้อเชื้อโควิด19 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

162605162070

โดยสนับสนุนให้ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ทั่วประเทศบริการทางเทคนิคการแพทย์อย่างเต็มกำลังความสามารถ รวมถึงการให้บริการคำปรึกษาแก่ประชาชนในการใช้และแปลผล “ชุดตรวจที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยการติดเชื้อโควิด 19 แบบตรวจด้วยตนเอง”(COVID-19 Ag self test kits) ที่มีนโยบายให้ใช้ในอนาคต

  • แยกกักตัวที่บ้าน และในชุมชน

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้นำ 2 มาตรการ คือ การแยกกักตัวที่บ้าน และการกักตัวในชุมชนมาใช้ เนื่องจากผู้ติดเชื้อโควิด 19 มีจำนวนมากขึ้oขณะนี้ มีผู้ขึ้นทะเบียน Home Isolation ที่รพ.ราชวิถี รพ.เลิดสิน และรพ.นพรัตน์ราชธานี 200 กว่าราย

ขึ้นทะเบียน Community Isolation อีกกว่า 200 ราย และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รวมแล้วประมาณ 400 – 600 ราย เพื่อให้ผู้ติดเชื้อได้รับการดูแลอย่างรวดเร็ว ซึ่งสปสช.สนับสนุนงบประมาณค่าอาหารให้กับผู้ป่วยทุกราย สำหรับผู้ติดเชื้อที่ต้องการร่วมโครงการ ติดต่อได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือโทรสายด่วน 1330

162609122261