'กู๊ด ดอกเตอร์ เทคโนโลยี' เปิดตัวบริการดูแลสุขภาพ สั่งงานผ่านเทคโนโลยี
กู๊ด ดอกเตอร์ เทคโนโลยี (Good Doctor Technology: GDT) บริษัทเทคโนโลยีด้านสุขภาพระดับภูมิภาคประกาศเปิดตัวในประเทศไทยอย่างเป็นทางการเดินหน้าเปิดให้ผู้ใช้บริการ รับคำปรึกษาจากแพทย์ที่ผ่านการฝึกอย่างเชี่ยวชาญเน้นย้ำความก้าวหน้าการดูแลสุขภาพแบบเสมือนจริง
การแพทย์ทางไกล หรือโทรเวช ซึ่งเป็นการให้บริการทางการแพทย์ผ่านวิธีการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้มีการเปิดให้บริการในประเทศไทยมาหลายปีแล้วภายใต้ใบอนุญาตสถานพยาบาลคลินิกเวชกรรม อย่างไรก็ตาม การเร่งออกใบอนุญาตการแพทย์ทางไกลท่ามกลางการแพร่กระจายของการติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นนี้ แสดงให้เห็นถึงการที่หน่วยงานด้านสุขภาพภายในประเทศให้ความสำคัญและยอมรับการให้คำปรึกษาทางการแพทย์รูปแบบใหม่ผ่านช่องทางออนไลน์
จำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงของการระบาดใหญ่ครั้งนี้ได้เป็นแรงผลักดันให้สถาบันสุขภาพและผู้ให้บริการทางการแพทย์อื่น ๆ หันมาใช้วิธีการทางเลือกที่อยู่ในรูปแบบเสมือนจริงนี้ ท่ามกลางการระบาดที่ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และความพยายามในการควบคุมการระบาดให้ได้ประสิทธิภาพ การแพทย์ทางไกลถือเป็นทางออกที่ทุกภาคส่วนกำลังมองหา ซึ่งช่วยไม่ให้ผู้ป่วยต้องเดินทางไปโรงพยาบาลเอง อีกทั้งยังเป็นการช่วยเรื่องการจัดสรรเตียงภายในโรงพยาบาล เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยกรณีร้ายแรงจะมีเตียงรักษา และได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและทันท่วงทีแก่ประชาชนทุกคน
GDT เริ่มดำเนินการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2563 และจัดตั้งคลินิกเวชกรรมที่ได้รับใบอนุญาตอย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2564 นับแต่นั้นเป็นต้นมา บริษัทได้มุ่งเน้นที่จะส่งเสริมให้ประชาชนในประเทศสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ และนวัตกรรมล่าสุด ซึ่งพิสูจน์แล้วในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียว่าเป็นสิ่งที่มาช่วยเติมเต็มการเข้าถึงและลดอุปสรรคด้านราคาได้สำเร็จ
ด้วยใบอนุญาตการแพทย์ทางไกลที่ได้รับจากสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุขนี้ GDT Thailand ได้วางแผนที่จะมุ่งให้บริการแบบบูรณาการระดับสูง ผสานความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ อันมาพร้อมราคาที่เข้าถึงได้และการให้บริการที่ไม่มีอุปสรรค ซึ่งรวมถึงการดำเนินการทางคลินิกที่ได้มาตรฐานและระบบการให้คำปรึกษาทางไกลผ่านข้อความที่มีประสิทธิภาพ
ด้วยรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ครอบคลุมทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ (O2O) ที่ไม่เหมือนใครนี้เอง หากผู้ใช้บริการต้องการการช่วยเหลือทางการแพทย์อย่างใกล้ชิดหลังจากที่ได้ทำการปรึกษากับแพทย์ผ่ายระบบออนไลน์ทางไกลแล้ว ผู้ใช้ก็สามารถทำการรักษาเพิ่มเติมที่สถานพยาบาลคลินิก้วชกรรมได้อีกด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้โมเดล O2O ยังช่วยให้ผู้ป่วยมีทางเลือกที่จะขอพบแพทย์คนเดียวกับที่ได้ปรึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ อันเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาศรับบริการที่ต่อเนื่องและสะดวกสบาย ด้วยการใช้แนวทางแบบองค์รวมในการดูแลการเจ็บป่วยและเพื่อสุขภาพที่ดี GDT จึงตั้งเป้าที่จะเชื่อมช่องว่างการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่มีอยู่ในประเทศไทย
นพ. สุทธิชัย โชคกิจชัย หัวหน้าฝ่ายการแพทย์ บริษัท กู๊ด ดอกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในฐานะผู้ให้บริการการแพทย์ทางไกลระดับภูมิภาค GDT Thailand มีข้อได้เปรียบจากการเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีและประสบการณ์จากประเทศอื่น ๆ ที่เราให้บริการแล้ว ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ทันสมัยและนวัตกรรมด้านสุขภาพแบบดิจิทัล เราจะสามารถให้บริการผู้ใช้บริการชาวไทยได้มากขึ้นผ่านบริการที่ล้ำสมัยเหล่านี้ จากประสบการณ์การดูแลผู้ใช้บริการเทคโนโลยีนี้กว่า 12 ล้านรายในประเทศอินโดนีเซีย ผนวกรวมกับความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจากประเทศจีน เราจึงสามารถสร้างบริการที่ตรงตามความต้องการ อันเป็นการตอบโจทย์ด้านการดูแลสุขภาพของผู้ใช้ชาวไทยได้อย่างเหมาะสม
ด้วยการออกแบบที่ต้องการเอื้อให้ผู้ใช้งานเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพสูงเมื่อรู้สึกไม่สบาย และส่งเสริมให้พวกเขารักษาสุขภาพ คุณลักษณะต่างๆในแอปพลิเคชัน เช่น การเตรียมจัดส่งยาที่สั่งโดยแพทย์ไปยังผู้ป่วยทันที และการอำนวยความสะดวกในการนัดหมาย เมื่อลงชื่อเข้าใช้แอปสำเร็จ ผู้ใช้จะเชื่อมต่อกับแพทย์ของ GDT ภายใน 60 วินาที เพื่อขอรับคำปรึกษาและคำแนะนำด้านการรักษา พร้อมสั่งซื้อยาที่แพทย์สั่งผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ร้านขายยาออนไลน์ได้ภายใน 15 นาที
ก่อนรับยาที่ส่งตรงถึงที่บ้านภายในเวลาไม่ถึง 60 นาที ปัจจุบัน GDT Thailand ได้ทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อนำเสนอการบริการด้านการดูแลสุขภาพให้กับพนักงาน ด้วยการบริการที่มีความเหมาะสมด้านเวลา การให้บริการการเฝ้าติดตาม Covid-19 และความสามารถในการคัดกรองที่บ้าน ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้งานปัจจุบันสามารถเข้าถึงได้ง่ายดาย
เมลวิน หวู ประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับภูมิภาคของกู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี กล่าวเสริมว่า ด้วยการเปิดตัวบริการการแพทย์ทางไกลและบริการสุขภาพดิจิทัลในประเทศไทยนี้ เรามีความต้องการที่จะทำให้ผู้ใช้งานของเราทุกคน สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมแอปพลิเคชั่นที่ประกอบด้วยความรู้ด้านสุขภาพและสวัสดิภาพทางด้านการแพทย์จำนวนมาก
ซึ่งผู้ใช้บริการจะสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น เราหวังว่าการทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ให้บริการอื่นๆ ในประเทศไทย อาทิ รัฐบาล โรงพยาบาล สมาคมทางการแพทย์ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักอื่น ๆ จะสามารถทำให้เรามีบทบาทในการกำหนดทิศทางอนาคตของสุขภาพในรูปแบบดิจิทัลของประเทศไทยได้ต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ