ถอดบทเรียน เมื่อวิกฤติ 'เดลตา' ระบาด 132 ประเทศทั่วโลก
โควิด-19 'สายพันธุ์เดลตา' ซึ่งระบาดไปกว่า 132 ประเทศทั่วโลก กลายเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่หลายประเทศกำลังรับมือ ขณะที่มีข้อสังเกตในประเทศที่มีการ 'ฉีดวัคซีน' พบว่า และมีการระบาดของ 'เดลตา' แม้ทำให้การติดเชื้อสูง แต่อัตราเสียชีวิตยังคงต่ำ
วันนี้ (10 ส.ค. 64) ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงอัปเดตสถานการณ์การรับมือกับ สายพันธุ์เดลตา จากทั่วโลก ผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ Mahidol Channel โดยระบุว่า สหประชาชาติ ออกมาประกาศต้นเดือน ก.ค. ว่าสายพันธุ์เดลตากระจาย 98 ประเทศ กำลังก่อปัญหาใหญ่ให้กับมนุษยชาติ เพราะสายพันธุ์นี้มีพฤติกรรมหลายอย่างที่เปลี่ยนไปจากเดิม
หลังจากนั้น 30 ก.ค. สหประชาชาติ ออกมาเตือนว่าสิ่งที่คาดการณ์ไม่ทันกับไวรัส เพราะเดลตา รุนแรง ไปเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ ซึ่งกระจาย 132 ประเทศ ที่สำคัญ คือ ใน หนึ่งสัปดาห์ ติดเชื้อเกือบสี่ล้านคน ในหนึ่งเดือนมีคนติดเชื้อเพิ่ม 80% รวมถึงการตาย 80% ในบางพื้นที่ เช่น แอฟริกา ขณะที่ 5 ส.ค. ไทยอยู่ในกลุ่มประเทศสีเข้มเรียบร้อย
- CDC แนะเร่งฉีดวัคซีน ใส่หน้ากาก
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) ซึ่งทำหน้าที่เฝ้าติดตามโรคระบาดต่างๆ ในสหรัฐ เมื่อวันที่ 27 ก.ค. CDC ได้ออกแนวปฏิบัติล่าสุด แก้ไขจากแนวคิดเดิม เนื่องจากสหรัฐ มีการแพร่ระบาดของเดลตา ขณะเดียวกัน การฉีดวัคซีนยังไม่ไปถึงจุดที่ควรจะเป็น โดยแนะนำ เร่งฉีดวัคซีนโควิดให้เร็วมากขึ้นและใส่หน้ากาก ซึ่งก่อนหน้านั้น เคยออกมาบอกว่าฉีดเยอะพอ บางรัฐส่งสัญญานว่าไม่ต้องใส่หน้ากาก ตอนนี้กลับมาแนะนำว่าขอให้ประชาชนอเมริกัน ไม่ว่าจะไปที่ใดขอให้พิจารณาเรื่องการใส่หน้ากาก
“เหตุผลเพราะมีการรวบรวมตัวเลขติดเชื้อใหม่ 7 วัน ปลายเดือนมิ.ย. อัตราเฉลี่ย 7 วัน ผู้ติดเชื้อราว 12,000 ราย ปลายเดือน ก.ค. ขึ้นไปที่เฉลี่ย 60,000 ราย แปลว่าติดเชื้อ 5 เท่าตัว แสดงว่าเหตุการณ์ต่างๆ ย้อนกลับไป ธ.ค.63 - ม.ค. 64 ทั้งๆ ที่สหรัฐฯ มีการฉีดวัคซีนไปเยอะพอสมควร โดยทั้ง 50 รัฐ มีการกระจายเดลต้ากว่า 80%
ขณะเดียวกัน สหรัฐมีการพูดว่า เดลตามีการเพิ่มขึ้น มีคนฉีดวัคซีนครบสองโดส 50% แต่พอเจอเดลตา มีการเพิ่มของการติดเชื้อและสายพันธุ์เดลตาก่อปัญหา 80-87% จากต้นเดือน มิ.ย. ซึ่งอยู่ที่ราว 8-14% ผู้ติดเชื้อเฉลี่ย 13,500 ราย และเพิ่มมากว่า 92,000 รายในช่วง 3 ส.ค. 64
- สหราชอาณาจักร เผยฉีดวัคซีนครบ ติดเชื้อได้
สหราชอาณาจักร เดลตา สัดส่วนกว่า 90% แทนที่อัลฟาไปเรียบร้อย ข้อมูลการตรวจรหัสพันธุกรรมเดลตา เมื่อ 21 มิ.ย. - 19 ก.ค. จำนวน 1,788 คน พบว่า ครึ่งหนึ่งไม่ได้ฉีดวัคซีน และ 30% เป็นคนฉีดครบแล้ว แปลว่าคนฉีดครบไม่ได้สื่อว่าเราไม่ติดเชื้อ โดยวัคซีนที่สหราชอาณาจักรฉีด คือ mRNA และ แอสตร้าเซนเนก้า
“จะเห็นว่าตอนนี้ เรามียุทธศาสตร์กลางน้ำ คือ วัคซีน ที่ช่วยลดความรุนแรง เสียชีวิต ยิ่งฉีดเยอะ ส่งผลเชิงบวกกับอัตราการรอด อัตราการเสียชีวิต ขณะเดียวกัน ถ้าข้อมูลฉีดเยอะพอ ส่งผลต่อการแพร่กระจายของเชื้อด้วย”
- ทั่วโลกฉีดวัคซีนไปแล้ว 4.4 พันล้านโดส
ข้อมูลวันที่ 8 ส.ค. 64 ทั่วโลกหลังจากมีการฉีดวัคซีน อัตราการติดเชื้อเริ่มลดลง และกลับขึ้นมา ปัจจุบัน พบอัตราการติดเชื้อ 5-7 แสนรายต่อวัน เสียชีวิตราว 7 พัน – หมื่นกว่าราย ตอนนี้ทั่วโลก ฉีดวัคซีนแล้ว 4,414,063,632 โดส ฉีดวันละ 42,600,503 โดส (ประชากร 7,884,751,830 คน)
- สหรัฐฯ ปรับรูปแบบรับมือเดลตา
สหรัฐ หลังจากเริ่มมีการไล่ฉีดวัคซีน เดือน ม.ค. สถานการณ์เริ่มดีขึ้น แต่หลังจากนั้นเกิดเหตุขึ้นอีก มีการติดเชื้อบางวันแตะหลักแสน แต่การเสียชีวิตไม่เยอะไปตามส่วน แต่เดิมเสียชีวิตสูง 2 – 3 พันรายต่อวัน ตอนนี้เลขสามหลักไม่ถึงห้าร้อยเชื้อว่าเป็นผลของการฉีดวัคซีน
ฉีดวัคซีนแล้ว 350,627,188 โดส ฉีดวันละ 712,389 โดส (ประชากร 333,159,223 คน) 58.5% ของประชากร ได้รับ 1 โดส และ 50.1% ได้ครบโดส
สหรัฐ หลังจากที่ตัวเลขมีการเปลี่ยนแปลง CDC ประกาศให้ประชาชน ถึงแม้จะฉีดวัคซีนครบก็กลับมาใส่หน้ากาก โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง คนเยอะ เกิดขึ้น 11 สัปดาห์ ที่ CDC ประกาศให้ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบไม่ต้องใส่หน้ากากเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ขณะที่ ร้านค้า สถานประกอบการต่างๆ เร่งออกมาตรการรองรับการประกาศ CDC รวมถึงลูกค้าที่ฉีดวัคซีนครบ ขณะที่ รัฐกลาง และของแต่ละรัฐ เร่งออกมาตรการให้ผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนรับการฉีดวัคซีน รับรางวัลหรือบังคับ
“CDC ย้ำว่า คนที่ฉีดครบเรียบร้อยสามารถแพร่เชื้อใกล้เคียงกับคนที่ยังไม่ฉีดวัคซีน สิ่งที่ดี คือ คนที่ฉีดวัคซีนครบ โอกาสรุนแรงน้อยลง เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน”
- จับตา Freedom Day สหราชอาณาจักร
สหราชอาณาจักร มีประชากรใกล้เคียงกับไทย หลังจากฉีดวัคซีน 8 ธ.ค.63 ทุกอย่างเริ่มดูดี อัตราติดเชื้อลดลง และติดขึ้นมาใหม่จากการระบาดของเดลตาครอบคลุมกว่า 90% อัตราการติดเชื้อจากเดิมสองหลัก ตอนนี้ห้าหลัก 3-5 หมื่นราย แต่เสียชีวิตต่ำ คือ หลักสิบถึงหลักร้อย
ปัจจุบัน สหราชอาณาจักร ฉีดวัคซีนแล้ว 86,207,851 โดส ฉีดวันละ 181,407 โดส (ประชากร 68,281,783 คน) 70.4% ของประชากร ได้รับ 1 โดส และ 58.7% ได้ครบโดส
นายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน ประกาศวันประกาศ Freedom Day ในวันที่ 19 ก.ค. เนื่องจาก สหราชอาณาจักร ฉีดวัคซีน 70% อย่างน้อยหนึ่งโดส และ 60% ฉีดครบโดส ถึงวันที่เลิกใส่หน้ากาก ผับเปิด ภัตตาคารเปิดให้ทาน แต่ตัวเลขการแพร่กระจายไม่ได้วิ่งขึ้นมากมาย เชื่อว่าสาเหตุหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะประกาศ Freedom Day
แต่คนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะสูงวัย คุ้นเคยกับการใส่หน้ากาก เชื่อว่ามีส่วนในการลด ขณะที่ บุคลากรทางการแพทย์ ลงนามร่วมกันและเสนอนายกท้วงติง Freedom Day คือ หากคนบอกว่าไม่ใส่หน้ากาก และเกิดมีการกลายพันธุ์ของเชื้ออีก และแพร่ระบาดใหม่ กลายเป็นสิ่งที่กลัวกันเกิดการดื้อต่อวัคซีน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ฝรั่งเศส มี Health Pass
เดิมฝรั่งเศสไม่ค่อยฉีดวัคซีน แต่เริ่มเจอเหตุการณ์พีค เริ่มระดมฉีดเต็มที่ ปัจจุบัน ฉีดวัคซีนแล้ว 77,681,231 โดส ฉีดวันละ 517,893 โดส (ประชากร 65,432,916 คน) 68.9% ของประชากร ได้รับ 1 โดส และ 57.3% ได้ครบโดส ฝรั่งเศสเจอเหตุการณ์เดียวกัน คือ อัตราการติดเชื้อลดลง และเริ่มเพิ่มขึ้นเมื่อเดลตาเข้ามา โดยเพิ่มมาเป็นหลักหมื่นและไม่มีท่าทีลดลง แต่อัตราตายเป็นตัวเลขสองหลัก
การปรับรูปแบบการรับมือวิกฤต COVID19 จากสายพันธุ์เดล จากการสายพันธุ์ เดลตา กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ประเทศฝรั่งเศสเข้าสู่การระบาดรอบที่ 4 (Fourth Wave) จากสายพันธุ์เดลตา รัฐบาลออกมาตรการให้ผู้เข้ารับบริการในสถานให้บริการต่างๆ มี Health Pass แสดงว่าได้รับวัคซีน หรือ ผลการตรวจไม่พบเชื้อ COVID-19 ในระยะเวลาใกล้การใช้บริการ หรือ เพิ่งหายจากการติดเชื้อ COVID-19
รวมถึง รัฐบาลออกมาตรการปรับหากสถานให้บริการต่างๆ ไม่ดำเนินการ (เริ่มจาก 1,500 euros และเพิ่มขึ้นหากผิดซ้ำ จากเดิมที่กำหนดปรับ 45,000 euros) พร้อม บังคับให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานในระบบดูแลสุขภาพ ต้องรับวัคซีน
- อิตาลี มี Health Certificate
เจอเหตุการณ์เดียวกัน และตัวเลขผู้ติดเชื้อยังเป็นหลักพัน และอัตราตายเป็นเลขสองหลัก ฉีดวัคซีนแล้ว 71,240,657 โดส ฉีดวันละ 403,547 โดส (ประชากร 60,364,365 คน) 65.2% ของประชากร ได้รับ 1 โดส และ 56.7% ได้ครบโดส
จากการสายพันธุ์เดลตา กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดอยู่ในประเทศอิตาลี รายงานวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา สายพันธุ์ Delta พบเปีน 94.8% ของสายพันธุ์ที่ ระบาดในประเทศ ขณะที่เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พบเพียง 22.7% รัฐบาลกำลังพิจารณาปรับแก้มาตรการเกี่ยวกับการเดินทางในประเทศ (12 มิถุนายน) มี Health Certificate แสดงว่าได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม หรือ ผลการตรวจไม่พบเชื้อโควิด-19 ในระยะเวลาใกล้การใช้บริการ หรือ เพิ่งหายจากการติดเชื้อโควิด-19
- อิสราเอล อาจล็อกดาวน์หากระบาดหนัก
อิสราเอล ถือเป็นประเทศที่มีการฉีดวัคซีนไปเยอะมาก ฉีดวัคซีนแล้ว 11,588,381 โดส ฉีดวันละ 119,085 โดส (ประชากร 8,808,673 ล้าน) 64.1% ของประชากร ได้รับ 1 โดส และ 59.6% ได้ครบโดส
จากการสายพันธุ์เดลตา กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดอยู่ในประเทศอิสราเอล รัฐบาลโดยผู้อำนวยการกระทรวงการสาธารณสุข (Health Ministry Director -Nachman Ash) ให้สัมภาษณ์ถึงอาจต้องมีการล็อกดาวน์หากการแพร่ระบาดเพิ่มจนอาจทำให้ระบบการดูแลสุขภาพล่ม ทั้งนี้ หากต้องล็อกดาวน์ อาจเกิดในเดือนกันยายนในช่วงวันหยุด (Jewish Holidays) ซึ่งน่าจะกระทบกับระบบเศรษฐกิจมากกว่าจะเลื่อนไปเดือนตุลาคม
- ออสเตรเลีย ล็อกดาวน์บางพื้นที่
ออสเตรเลีย ผู้ป่วยสามหลัก แต่อัตราตายต่ำ วัคซีนแม้จะฉีดไม่เยอะ ซึ่งมีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่ฉีด 1 โดส และครึ่งหนึ่งฉีดครบโดส ตอนแรกไม่ แต่ใช้ความเข้มในการจัดการ เมื่อ 3 ส.ค. ออสเตรเลีย มองว่าเดลตา มีแนวโน้มก่อเกิดความรุนแรง ติดเชื้อหนัก ควบคุมยาก ขณะที่การควบคุมพื้นที่ต่างๆ บางพื้นที่ล็อกดาวน์เต็มพื้นที่ และมีการติดเชื้อในเด็กเยอะขึ้น
ออสเตรเลีย ฉีดวัคซีนแล้ว 13,496,355 โดส ฉีดวันละ 184,239 โดส (ประชากร 25,832,112 ล้าน) 34.9% ของประชากร ได้รับ 1 โดส และ 17.1% ได้ครบโดส
- รัสเซีย เร่งฉีดวัคซีน
แต่เดิมรัสเซีย ฉีดวัคซีนน้อย แต่ตอนนี้เร่งมาก ปัจจุบัน รัสเซีย ฉีดวัคซีนแล้ว 66,216,817 โดส ฉีดวันละ 579,461 โดส (ประชากร 146,003,297 ล้าน) 25.9% ของประชากร ได้รับ 1 โดส และ 18.4% ได้ครบโดส สามารถลดความชันของกราฟได้ ทั้งการติดเชื้อและการเสียชีวิต แต่ยังอยู่ที่ระดับ 2-3 หมื่นรายต่อวัน และเสียชีวิตเลขสามหลัก
- ประเทศไทย อยู่ในช่วงขาขึ้น
สถานการณ์ไทย อยู่ในช่วงขาขึ้น มีผู้ติดเชื้อหลักหมื่นรายต่อวันและ เสียชีวิตสามหลัก ข้อมูล 8 ส.ค. 64 ฉีดวัคซีนแล้ว 19,632,537 โดส ฉีดวันละ 401,677 โดส (ประชากร 69,993,382 ล้าน) 21.8% ของประชากร ได้รับ 1 โดส และ 6.1% ได้ครบโดส
ขณะที่ ล่าสุดจาก ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) วันที่ 10 ส.ค. 64 จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. - 9 ส.ค. 2564) รวม 21,171,110 โดส ใน 77 จังหวัด ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 9 สิงหาคม 2564 ยอดฉีดทั่วประเทศ 501,330 โดส ได้แก่
- เดลต้า พบคนอายุน้อยติดเชื้อมากขึ้น
ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา ไม่เพียงแพร่ระบาดได้เร็ว (เร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟา ประมาณ 60%) แต่มีหลักฐานว่าก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงและอันตรายมากกว่าสายพันธุ์เดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน นอกจากนี้ ยังพบผู้ที่มีอาการรุนแรงในกลุ่มผู้ที่มีอายุน้อยลง (ผลจากหลายปัจจัย) ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ (ไม่ว่าชนิดไหน) มีโอกาสติดเชื้อและแพร่เชื้อได้ (รายงานจากสหรัฐอเมริกาว่าไม่แตกต่างจากผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน แต่อาการมักไม่รุนแรง)
รายงานจากมหาวิทยาลัย Wisconsin พบว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว ยังสามารถพบมีปริมาณไวรัสในจมูกและคอ ไม่แตกต่างไปจากผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน และหลายประเทศพบการติดเชื้อในเด็กมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง
- วัคซีนฉีดแล้ว ยังต้องระวังตนเอง
ขณะเดียวกัน สัดส่วนของประชากรที่ได้รับวัคซีนที่มากพอ จะมีส่วนสำคัญในการลดการแพร่ระบาดและอัตราการเสียชีวิต แต่ไม่ควรเป็นข้อบ่งชี้ในการยกเลิกหรือผ่อนคลายการระวังตนเอง (ใส่หน้ากาก รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล หมั่นทำความสะอาดมือ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีคนจำนวนมากในพื้นที่ ที่จำกัด)
การแพร่ระบาดในกลุ่มคนจำนวนมาก อาจนำสู่การเกิดการกลายพันธุ์ และสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดเร็ว จะทดแทนสายพันธุ์เดิมหรือสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดช้ากว่า ขณะที่ ความปลอดภัยจากเชื้อโควิด-19 ในประเทศใดประเทศหนึ่ง ขึ้นกับสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของเชื้อในโลก
- 3 มาตรการสำคัญ รับมือเดลตา
ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวต่อไปว่า การลดความเสียหายที่เกิดจากวิกฤตที่เกินศักยภาพของระบบการดูแลสุขภาพ โดยการเร่งลดโอกาสการแพร่ระบาดของเชื้อ ขึ้นอยู่กับ 3 มาตรการ สำคัญ คือ มาตรการทางการปกครอง มาตรการทางการสาธารณสุข (การบริหารจัดการควบคุมโรค การพัฒนา ศักยภาพการตรวจหาผู้ติดเชื้อ การบริหารจัดการเตียง สถานพยาบาล) และ มาตรการส่วนบุคคล และทางสังคม (การชี้แจงเหตุและมาตรการ วินัย)
รวมถึง การเร่งฉีดวัคซีนเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต ได้แก่ กลุ่มเสี่ยง สูงวัย 7 โรคเรื้อรัง และ ตั้งครรภ์ มากและเร็ว การเร่งค้นหาผู้เสี่ยงติดเชื้อและแพร่เชื้อ (ATK; RT-PCR) การได้รับยาที่เร็ว (แจ้งลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบ) พัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ติดเชื้อ (Home Isolation, Community Isolation)
"การเร่ง ฉีดวัควีน ป้องกันการติดเชื้อ ผู้เสี่ยง สูงวัย 7 กลุ่มโรค หญิงตั้งครรภ์ ให้มากและเร็ว ขณะเดีวกัน การเร่งค้นหาผู้ติดเชื้อและเสี่ยงแพร่เชื้อ ซึ่งขณนี้มี Antigen Test Kit (ATK) ในการตรวจได้เร็ว ยี่ห้อต่างๆ มีความแม่นยำดีระดับหนึ่ง ไม่ว่าจะความไวและจำเพาะกว่า 90% การตรวจ ATK จะสามารถค้นหาคน ควบคุม เข้ากระบวนการรักษา ให้เร็ว และให้ยาเร็ว ตอนนี้มีนโยนบายออกมาแล้ว ในกลุ่มที่เสี่ยงจะอาการรุนแรง มีการแจกยา แต่ต้องลงทะเบียนเข้าสู่ระบบเพื่อติดตาม รวมถึง การพัฒนาศักยภาพ การดูแลผู้ติดเชื้อ Home Isolation และ Community Isolation" คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าว