เช็กเลย เกษตรกรถูกน้ำท่วม จะได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยา รายละ 3,000 บาท

เช็กเลย เกษตรกรถูกน้ำท่วม จะได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยา รายละ 3,000 บาท

รู้แล้วบอกต่อ เช็กเลย เกษตรกรถูกน้ำท่วม จะได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยา รายละ 3,000 บาท ใครมีสิทธิ์ได้บ้าง

ความเดือดร้อนจากน้ำท่วมทั่วประเทศ ไม่มีเงินทรัพย์สินเสียหาย เกษตรกรถูกน้ำท่วม จะได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยา รายละ 3,000 บาท ใครมีสิทธิ์

ตรวจสอบแล้ว กยท. เร่งสำรวจพื้นที่สวนยางที่ได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วมทั่วประเทศ พร้อมเยียวยาสวนยางผ่านมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางภายใต้กองทุนพัฒนายางพารา เตรียมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้วิธีดูแลสวนยางหลังน้ำท่วม ลดความเสียหาย ฟื้นฟูสวนได้เร็ว หากสวนเสียหายสิ้นเชิงสามารถยื่นขอปลูกแทนได้ใหม่ทันที

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ สร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน รวมถึงเกษตรกรชาวสวนยางที่สวนยางได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมขังหนัก

กยท. ในฐานะหน่วยงานหลักที่ดูแลพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง มีมาตรการช่วยเหลือกรณีสวนยางประสบอุทกภัยผ่านกองทุนพัฒนายางพารา โดยมีหลักเกณฑ์ คือต้องเป็นสวนยางที่ถูกน้ำท่วมจนได้รับความเสียหายจนเสียสภาพสวน หรือได้รับความเสียหายไม่น้อยกว่า 20 ต้นในแปลงเดียวกัน เกษตรกรจะได้รับเงินช่วยเหลือ รายละ 3,000 บาท 

นอกจากนี้ กรณีสวนปลูกแทนที่ประสบอุทกภัยซึ่งหากพบว่าเสียสภาพสวน จะให้ระงับการปลูกแทน โดยไม่เรียกเงินคืนในส่วนที่เสียหาย จากนั้นจึงอนุมัติให้การปลูกแทนใหม่ แต่ต้องไม่เกินเนื้อที่ที่ระงับการปลูกแทน กรณีไม่เสียสภาพสวน ต้นยางหรือไม้ยืนต้นชนิดอื่น (พืชหลัก) อายุไม่เกิน 2 ปีครึ่ง ได้รับความเสียหายหนัก ไม่สามารถค้ำยันได้ ต้องปลูกซ่อมเท่านั้น 

โดย กยท. จะช่วยเหลือเป็นเงินค่าปลูกซ่อมครั้งเดียว อัตราต้นละ 45 บาท ส่วนต้นยางหรือไม้ยืนต้นชนิดอื่น ที่เสียหายเอนล้ม แต่สามารถตัดแต่ง และค้ำยันให้ตรงได้ กยท. จะช่วยเหลือค่าค้ำยันครั้งเดียว โดยต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีครึ่งขึ้นไป แต่ไม่เกิน 3 ปี อัตราต้นละ 35 บาท และต้นยาง อายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป อัตราต้นละ 110 บาท

เช็กเลย เกษตรกรถูกน้ำท่วม จะได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยา รายละ 3,000 บาท

ยางพาราถือเป็นพืชที่ค่อนข้างได้เปรียบ เนื่องจากสามารถทนต่อน้ำท่วมขังได้พอสมควร ประมาณ 2 สัปดาห์ถึง 2 เดือน ขึ้นอยู่กับอายุของต้นยาง ระดับน้ำและความยาวนานของน้ำที่ท่วมขัง ดังนั้นการฟื้นฟูสวนยางให้ดีขึ้นหลังจากน้ำลดจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดกยท. แนะนำเกษตรกรสำรวจความเสียหายสภาพสวนยาง เพื่อหาแนวทางในการฟื้นฟูและจัดการสวนยางหลังจากถูกน้ำท่วม โดยกำชับให้ กยท. ในพื้นที่ประชาสัมพันธ์เชิงรุก ให้ความรู้แก่เกษตรกรในการดูแลสวนยางหลังน้ำท่วมอย่างถูกวิธีผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ทุกช่องทาง ผู้ว่าการยางฯ กล่าวทิ้งท้าย

...

อ้างอิง - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์