ปรากฏการณ์จันทรุปราคา ลอยกระทง 2565 ประมวลภาพ-ไทม์ไลน์ ใครพลาดต้องรออีก 3 ปี
NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ประมวลภาพปรากฏการณ์ "จันทรุปราคา" ในคืนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งตรงกับวันลอยกระทงภาพลำดับเหตุการณ์ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงเหนือฟ้าเมืองไทย ซึ่งคนที่พลาดจะต้องเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอีก 3 ปีข้างหน้า
NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ประมวลภาพปรากฏการณ์ "จันทรุปราคา" ในคืนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งตรงกับวันลอยกระทงภาพลำดับเหตุการณ์ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงเหนือฟ้าเมืองไทยบันทึกภาพในช่วงเวลาประมาณ 18:30 - 21:00 น. เมื่อคืนที่ผ่านมา
ภาพลำดับเหตุการณ์ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงเหนือฟ้าเมืองไทยคืนวันลอยกระทง 8 พฤศจิกายน 2565 บันทึกภาพในช่วงเวลาประมาณ 18:30 - 21:00 น. ประเทศไทยเริ่มเห็นตั้งแต่ช่วงเข้าคราสเต็มดวงเป็นต้นไป จนสิ้นสุดปรากฏการณ์
ช่วงที่กำลังเกิดคราสเต็มดวง ดวงจันทร์ปรากฏเป็นสีแดงอิฐ จนถึงเวลาประมาณ 18:41 น. จากนั้นเริ่มเห็นดวงจันทร์ปรากฏเว้าแหว่งบางส่วนและค่อยๆออกจากเงามืดของโลก
จนกระทั่งเข้าสู่เงามัวหมดทั้งดวงในเวลา 19:49 น. เปลี่ยนเป็นจันทรุปราคาเงามัวที่สังเกตได้ยาก เนื่องจากความสว่างของดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และสุดท้ายดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลกเวลา 20:56 น. สิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคาในครั้งนี้โดยสมบูรณ์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ตื่นตา ! ปรากฏการณ์ จันทรุปราคาเต็มดวง สีแดงอิฐมีดาวยูเรนัสอยู่ด้านขวา
- ปรากฏการณ์จันทรุปราคาคืนลอยกระทง 2565 นทท.-ปชช.ชาวบุรีรัมย์แห่ชมคึกคัก!
- ลอยกระทง 2565 คืนจันทรุปราคา ราหูอมจันทร์ 4 ราศีไม่ควรออกจากบ้าน
สำหรับภาพดวงจันทร์ที่นำมาเรียงต่อกันเป็นวง แสดงให้เห็นขนาดของเงาโลกโดยประมาณที่ทอดออกไป ในภาพนี้จะเห็นว่าเงาโลกนั้นมีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์อย่างมาก
ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงในประเทศไทยครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า ตรงกับคืนวันที่ 7 ถึงเช้ามืดวันที่ 8 กันยายน 2568
ปรากฏการณ์จันทรุปราคา เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน โดยมีโลกอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์เต็มดวง หรือช่วงขึ้น 14-15 ค่ำ
ขณะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกที่ทอดไปในอวกาศ ผู้สังเกตบนโลกจะมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งไปเรื่อย ๆ จนดวงจันทร์เข้าไปอยู่ในเงามืดทั้งดวง และเริ่มมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งอีกครั้งหนึ่งเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ออกจากเงามืดของโลก
ขอบคุณภาพจาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ