เช็ก "ประกันรายได้ข้าว" ตรวจสอบเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 อัปเดตล่าสุด
เช็ก "ประกันรายได้ข้าว" ตรวจสอบเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 อัปเดตล่าสุด หลังคลัง-พาณิชย์ จับมือหั่นงบประมาณจาก 1.5 แสนล้าน เหลือ 6.6 หมื่นล้าน
ความคืบหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2555/2566 หรือโครงการ "ประกันรายได้ข้าว" ปี 4 และ เงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ล่าสุดวันนี้ (14 พ.ย.65) กระทรวงการคลัง และ กระทรวงพาณิชย์ มีความเห็นตรงกันที่จะปรับลดกรอบงบประมาณสำหรับใช้ในโครงการอุดหนุนสินค้าข้าวทั้งแพ็คเกจลง จากเดิมที่ใช้มากกว่า 1.5 แสนล้านบาท เหลือประมาณ 6.6 หมื่นล้านบาท
ข่าวล่าสุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
รายละเอียดการปรับลดเงินโครงการ "ประกันรายได้ข้าว" ปี 4 และ เงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท มีดังนี้
- โครงการ "ประกันรายได้ข้าว" ปี 4
มีเกษตรกรเข้าร่วม 4.68 ล้านครอบครัว กรอบวงเงินใหม่จะปรับลดเหลือ 1.8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากปัจจุบันราคาข้าวปรับตัวดีขึ้นมาก อาทิ
- ข้าวหอมมะลิ อยู่ที่ 15,000-16,000 บาทต่อตัน สูงกว่าราคาประกันที่กำหนดไว้ 15,000 บาทต่อตัน
- ข้าวหอมปทุมธานี 11,000-11,500 บาทต่อตัน สูงกว่าราคาประกันที่ตั้งไว้ 11,000 บาท
- ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,500 บาทต่อตัน ต่ำกว่าราคาประกันที่ตั้งไว้ 10,000 บาทเพียงเล็กน้อย
- ข้าวเปลือกเหนียว 11,000-12,200 บาทต่อตัน ใกล้เคียงกับราคาประกันที่ 12,000 บาท
- โครงการไร่ละ 1,000 บาท หรือ เงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท
เป็นการสนับสนุนค่าบริหารจัดการ และพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่เกินครอบครัวละ 20 ไร่ หรือไม่เกิน 20,000 บาท จำนวน 4.68 ล้านครอบครัว ลดเหลือประมาณ 40,000 ล้านบาท
เช็ก "ประกันรายได้ข้าว" ตรวจสอบเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท
- เข้าไปที่เว็บไซต์ chongkho.inbaac.com (คลิกที่นี่) ตลอด 24 ชั่วโมง
- กรอกเลขที่บัตรประชาชนจำนวน 13 หลัก
- โดยระบบจะแจ้งรายละเอียดของบัญชี จํานวนเงิน และโครงการของเงินช่วยเหลือที่ได้รับ
นอกจากนี้ ประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมสามารถเช็กเงินเยียวยาน้ำท่วม จากรัฐบาลได้ ดังนี้
- ประชาชนที่ถูกน้ำท่วม ระยะเวลา 1 เดือน ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท/ครัวเรือน
- ประชาชนที่ถูกน้ำท่วม 2 เดือน ได้รับเงินเยียวยา 6,000 บาท/ครัวเรือน
- ประชาชนที่ถูกน้ำท่วมนาน 3 เดือน ได้รับเงินเยียวยา 7,000 บาท/ครัวเรือน
สำหรับ การจ่ายเงินเยียวยาในครั้งนี้ จะเป็นการเพิ่มกำลังใจให้กับประชาชนจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น ซึ่งการจ่ายเงินดูแลดังกล่าวเป็นคนละส่วนกันกับการดูแลค่าเสียหายของครัวเรือน