คอนเสิร์ต BLACKPINK ทำไมต้องจัดที่สนามศุภชลาศัย?
คอนเสิร์ต BLACKPINK WORLD TOUR [BORN PINK] ที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 และ 8 มกราคม 2566 ที่ สนามศุภชลาศัย ท่ามกลางกระแสดราม่าในโลกโซเชียล ล่าสุด ดร.นิวัตน์ ลิ้มสุขนิรันดร์ ได้ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องนี้
คอนเสิร์ต BLACKPINK WORLD TOUR [BORN PINK] ที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 และ 8 มกราคม 2566 ที่ สนามศุภชลาศัย ท่ามกลางกระแสดราม่าในโลกโซเชียล ที่มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็น โดยเฉพาะ สถานที่จัดคอนเสิร์ต ว่า ทำไมต้องเป็นสนามศุภชลาศัย ซึ่งล่าสุดมีคำตอบจาก ดร.นิวัตน์ ลิ้มสุขนิรันดร์ อธิบดีกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
สำหรับการเตรียมการจัดคอนเสิร์ต BLACKPINK โดยก่อนหน้านี้โลกออนไลน์ได้มีการแชร์ภาพบรรยากาศบริเวณด้านหน้าของ สนามศุภชลาศัย มีการขึ้นป้ายของ 4 สาว ลิซ่า จีซู เจนนี่ และ โรเซ่ ติดตามรอบๆสนาม ซึ่งเรื่องนี้ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ไปอย่างกว้างขวาง ส่วนหนึ่งตั้งคำถามว่าที่นี่ดูเก่าหรือโทรมไปหรือไม่ ไม่เหมาะกับงานคอนเสิร์ตใหญ่หรือเปล่า แต่อีกส่วนก็เข้าใจสถานการณ์ว่า สถานที่จัดงานสำคัญๆอื่นๆถูกจับจองเต็มหมดแล้วในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นกระแสดราม่าขึ้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ในเวลาต่อมา ดร.นิวัตน์ ลิ้มสุขนิรันดร์ ได้ชี้แจงพร้อมเผยที่มาของการจัดคอนเสิร์ต BLACKPINK ที่สนามศุภชลาศัย ถึงการตัดสินใจของทาง YG ว่า “เขามองว่าที่นี่เคยผ่านการจัดคอนเสิร์ตไมเคิล แจ็กสัน (MICHAEL JACKSON) มาแล้วเมื่อปี พ.ศ.2536 และยังเคยต้อนรับสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อปี พ.ศ.2562 ด้วย จึงถือว่าสนามกีฬาแห่งชาติ หรือ สนามศุภชลาศัย เป็นสถานที่ที่มีศักยภาพ นอกจากนี้แฟนคลับก็ยังเดินทางมาชมคอนเสิร์ตได้สะดวกด้วย เนื่องจากมีรถไฟฟ้าฯคอยให้บริการ
ส่วนประเด็นดราม่าที่เกิดขึ้น ทางอธิบดีกรมพลศึกษา มองว่เป็นเรื่องปกติ แฟนคลับต่างมีมุมมองของแต่ละคน ซึ่งตนมองว่าการจัดงานนั้น ไม่มีที่ไหนสมบูรณ์แบบ 100% และการเลือกสถานที่จัดคอนเสิร์ต BLACKPINK ครั้งนี้ เป็นการตัดสินใจของทางผู้จัดฯ รวมถึงทางค่าย YG ที่เป็นผู้ตัดสินใจเลือกเอง เชื่อว่ามีการตรวจสอบและวางแผน และได้เลือกแนวทางที่ดีที่สุดแล้ว ก่อนที่จะเลือกสนามศุภชลาศัย เป็นที่จัดงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- คอนเสิร์ต BLACKPINK เช็กกฎข้อบังคับ ตารางกำหนดการ แนะนำการเดินทาง สำคัญมาก
- นับถอยหลังคอนเสิร์ต BLACKPINK WORLD TOUR [BORN PINK] มีอะไรห้ามพลาด
ประวัติ สนามศุภชลาศัย
ชื่อเดิมคือ กรีฑาสถานแห่งชาติ ก่อนมาเป็นสนามกีฬาแห่งชาติของประเทศไทย อยู่ในความดูแลของ กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สนามกีฬาแห่งชาติ เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480 และเสร็จสิ้นสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2484 ส่วนการเปิดใช้สนามครั้งแรก คือ การแข่งขันกรีฑาประชาชนชายประจำปี พ.ศ. 2481
4 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 กรมพลศึกษา ได้เปลี่ยนชื่อสนามกรีฑาสถาน เป็น สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ ปัจจุบันนิยมเรียกสั้นๆเพียงว่า "สนามศุภชลาศัย" หรือสนามกีฬาแห่งชาติ
โดยวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลระดับชาติ เฉพาะรอบรองชนะเลิศ หรือรอบชิงชนะเลิศ หรือกีฬาฟุตบอลระหว่างประเทศ ใช้ในการแข่งขันกรีฑาระดับชาติ หรือกรีฑาระหว่างประเทศ จัดกิจกรรมทางการกีฬา หรือกิจกรรมอื่นที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อลู่วิ่งและอุปกรณ์ประจำสนาม ซึ่งกรมพลศึกษาจะพิจารณาอนุญาตเป็นรายๆไป รวมถึงการจัดกิจกรรมอื่นๆในการให้บริการประชาชน
ส่วนผู้มีสิทธิขอใช้สนามศุภชลาศัย ประกอบด้วย หน่วยงานของทางราชการ สมาคมกีฬาสมัครเล่น หรือ หน่วยงานอื่นที่กรมพลศึกษาให้ความร่วมมือไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือ ภาคเอกชน รวมถึงหน่วยงานอื่นๆด้วย
สนามศุภชลาศัย มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอาร์ตเดโค หรือ อลังการศิลป์ ที่เน้นการออกแบบเล่นกับเส้นสายแนวตั้งที่ชัดเจน กันสาดแผ่นบางๆ หน้าต่างเข้ามุมอาคาร หรือการออกแบบแนวเสาอิงให้แสดงออกถึงเส้นแนวตั้ง เป็นต้น
มีซุ้มประตูทางเข้าใหญ่ที่มีอาคาร เป็นรูปทรงเรขาคณิตหนักแน่นเป็นมวลทึบ มีการตกแต่งอาคารด้วยองค์ประกอบของแท่งตั้งของซุ้มประตูทางเข้าใหญ่ที่มีการซอยเส้นเหมือนการย่อมุมทำให้เกิดเส้นทางตั้งถี่ ๆ และปลายของแท่งทางตั้งที่โค้งน้อย ๆ ตรงปลายที่มีการซอยเส้นตามเส้นกรอบของแต่งตั้งเป็นลักษณะของอาคาร และการใช้องค์ประกอบที่หนักแน่นแต่แฝงรายละเอียดของเส้นลดหลั่นเป็นจังหวะ
ขอบคุณภาพจาก ทวิตเตอร์
ข้อมูลประกอบจาก วิกิพีเดีย