'จุดความร้อน' ในไทยวานนี้ 4,433 จุด - ปภ. เตือน 3 จังหวัดเฝ้าระวังอากาศร้อนจัด
GISTDA เผยดาวเทียมพบ 'จุดความร้อน' ในไทยวานนี้ 4,433 จุด และยังพบมากที่สุดในเขตป่าอนุรักษ์ ขณะที่ ปภ. เตือน 3 จังหวัดเฝ้าระวัง 'อากาศร้อนจัด'
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของวันที่ 28 มีนาคม 2566 ไทยพบ 'จุดความร้อน' 4,433 จุด ขณะที่เพื่อนบ้านอย่างเมียนมาขึ้นนำอยู่ที่ 4,894 จุด , สปป.ลาว 4,548 จุด , กัมพูชา 701 จุด , เวียดนาม 190 จุด และมาเลเซีย 36 จุด
สำหรับ จุดความร้อนในประเทศไทย ส่วนใหญ่พบในพื้นป่าอนุรักษ์ 2,361 จุด , พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 1,544 จุด , พื้นที่เกษตร 222 จุด , พื้นที่ชุมชนอื่นๆ 180 จุด , พื้นที่เขต สปก. 121 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 5 จุด
ในส่วนของจังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุด 3 อันดับ คือ แม่ฮ่องสอน 588 จุด , น่าน 569 จุด และเชียงใหม่ 488 จุด
ทั้งนี้สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://fire.gistda.or.th หรือ ติดตามข้อมูลจาก https://fire.gistda.or.th/dashboard.html และควรติดตามสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ผ่านแอปพลิเคชัน 'เช็คฝุ่น'
ขณะที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 29 มีนาคม 2566 เวลา 08.00 น. พื้นที่เฝ้าระวัง 'อากาศร้อนจัด' พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และเฝ้าระวังคุณภาพอากาศ PM 2.5
สำหรับพื้นที่เฝ้าระวังอากาศร้อนจัด (อุณหภูมิตั้งแต่ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป) มีดังนี้
ภาคเหนือ : ลำปาง (อ.เมืองฯ อ.เถิน) น่าน (อ.เมืองฯ) และตาก (อ.เมืองฯ อ.สามเงา)
พื้นที่เฝ้าระวัง พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง
ภาคเหนือ : พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ และนครสวรรค์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง : ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
พื้นที่เฝ้าระวังคุณภาพอากาศ (PM 2.5) ข้อมูลกรมควบคุมมลพิษ เวลา 06.00 น.
ระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ภาคเหนือ : แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองฯ อ.แม่สะเรียง อ.ปาย) เชียงใหม่ (อ.เมืองฯ อ.ฮอด อ.เชียงดาว อ.แม่แจ่ม) เชียงราย (อ.เมืองฯ อ.แม่สาย อ.เชียงของ) ลำพูน (อ.เมืองฯ อ.ลี้) ลำปาง (อ.เมืองฯ) พะเยา (อ.เมืองฯ) และน่าน (อ.เมืองฯ อ.เฉลิมพระเกียรติ)
ระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ภาคเหนือ : ลำปาง (อ.แม่เมาะ) แพร่ (อ.เมืองฯ) อุตรดิตถ์ (อ.เมืองฯ) ตาก (อ.เมืองฯ อ.แม่สอด) และกำแพงเพชร (อ.เมืองฯ)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เลย (อ.เมืองฯ) บึงกาฬ (อ.เมืองฯ) ศรีสะเกษ (อ.เมืองฯ) และอุบลราชธานี (อ.เมืองฯ)