ตส. ผลักดันโปรแกรมเฝ้าระวัง 'เตือนภัยทางการเงิน' ของสหกรณ์-กลุ่มเกษตรกร

ตส. ผลักดันโปรแกรมเฝ้าระวัง 'เตือนภัยทางการเงิน' ของสหกรณ์-กลุ่มเกษตรกร

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ หรือ ตส. เดินหน้าผลักดันการใช้โปรแกรม “CFSAWS:ss Version 2” นวัตกรรมเฝ้าระวังและเตือนภัยทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

เร่งผลักดันการใช้โปรแกรมเฝ้าระวังและเตือนภัยทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรCFSAWS:ss Version 2” หนุนให้สหกรณ์ใช้วิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจการเงิน ลดความเสี่ยง สร้างความเชื่อมั่นให้กับสมาชิกในการลงทุนและร่วมทำธุรกรรม พร้อมประยุกต์ใช้ CAMELS Analysis ในการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจการเงินอย่างเป็นระบบและมาตรฐานเดียวกัน 
 
นางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์  อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้มุ่งส่งเสริมการใช้นวัตกรรมระบบบัญชีในการสร้างระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นและโปร่งใสแก่สหกรณ์  กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ผ่านการพัฒนาความสามารถด้านการเงินการบัญชี การสร้างการมีส่วนร่วมในการควบคุมภายใน รวมไปถึงการพัฒนาระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

โดยพัฒนาโปรแกรมเฝ้าระวังและเตือนภัยทางการเงิน ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร CFSAWS:ss Version 2 (Cooperative Financial Surveillance and Warning System :  Set Standard Version 2) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีโปรแกรมเตือนภัยทางการเงินที่ช่วยเหลือผู้ใช้งานสามารถวิเคราะห์เฝ้าระวัง และเตือนภัยทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยสามารถตรวจสุขภาพทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ทราบระดับการวิเคราะห์เพื่อเฝ้าระวังทางการเงินได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ช่วยลดเวลาและให้ความแม่นยำในการคำนวณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สามารถคำนวณอัตราส่วนทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อนำมาวิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้มและความเสี่ยงของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เทียบเคียงอัตราส่วนมาตรฐานทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานและจัดระดับการเฝ้าระวังทางการเงินและวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจการเงินเพื่อรายงานและให้ข้อเสนอแนะต่อสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในการปรับปรุงพัฒนา 

ตส. ผลักดันโปรแกรมเฝ้าระวัง \'เตือนภัยทางการเงิน\' ของสหกรณ์-กลุ่มเกษตรกร

การบริหารจัดการให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผู้สอบบัญชี ตลอดจนผู้สนใจทั่วไปใช้ในการอ้างอิง เพื่อเปรียบเทียบวิเคราะห์สู่การเฝ้าระวังและเตือนภัยทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในเบื้องต้น และนำไปปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานที่เข้มแข็งและมีเสถียรภาพทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

  

นอกจากนี้ ยังได้ประยุกต์ใช้ CAMELS Analysis ในการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจการเงินของสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกรอย่างเป็นระบบและเป็นมาตรฐานเดียวกันใน 6 มิติ ประกอบด้วย C (Capital Strength) : ความเข้มแข็งของเงินทุนหรือความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยง A (Asset Quality) : คุณภาพสินทรัพย์ M (Management Ability) :  ขีดความสามารถในการบริหาร E (Earning) : การทำกำไร L (Liquidity) : สภาพคล่องและ S (Sensitivity) : ผลกระทบ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ซึ่งจะทำให้ทราบถึงผลกระทบที่จะส่งผลเสียหายต่อการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร และผู้สอบบัญชีสามารถให้ข้อเสนอแนะที่ดีต่อสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในการปรับปรุงพัฒนา การดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จ  

อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวอีกว่า การนำเครื่องมือเทคโนโลยีโปรแกรมระบบเตือนภัยทางการเงินดังกล่าว มาใช้กับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรนั้น เป็นไปตามแผนปฏิบัติราชการของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ระยะ 5 ปี  (พ.ศ. 2566 - 2570)  ภายใต้วิสัยทัศน์ ตรวจสอบบัญชีและส่งเสริมการทำบัญชี เพื่อสร้างความเข้มแข็ง โปร่งใสแก่สหกรณ์และเกษตรกร สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำมาซึ่งการสร้างความเข้มแข็งทางการเงินการบัญชีแก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ได้มีระบบการเงินการบัญชีและการควบคุมภายในที่ดี สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างโปร่งใส สร้างความเชื่อมั่นให้สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร  ช่วยยกระดับศักยภาพสถาบันเกษตรกรและพัฒนาสหกรณ์  ให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป