'กรมอุตุนิยมวิทยา' คาดการณ์ 'อุณหภูมิสูงสุด' ภาคเหนือ พุ่งสูงสุด 42 องศา
"กรมอุตุนิยมวิทยา" คาดการณ์ "อุณหภูมิสูงสุด" ในแต่ละภาควันนี้ (23 เม.ย.66) ภาคเหนือ พุ่งสูงสุดในประเทศไทย 42 องศา ขณะที่ ภูเก็ต ค่าดัชนีความร้อนสูงสุด มากกว่า 54 องศา อยู่ระดับอันตรายมาก
"กรมอุตุนิยมวิทยา" รายงาน "อุณหภูมิสูงสุด" บริเวณประเทศไทย เมื่อวันที่นี้ (21 เม.ย.66) บริเวณ ภาคเหนือ วัดได้ 42.5 องศาเซลเซียส ที่ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ส่วน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณภูมิสูงสุด วัดได้ 40.2 องศาเซลเซียส ที่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
รายงานสภาพอากาศ 24 ชม.ข้างหน้า วันนี้ (23 เม.ย.66) บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงทะเลจีนใต้ ส่งผลให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุม ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น
"กรมอุตุนิยมวิทยา" คาดการณ์ "อุณหภูมิสูงสุด" ในแต่ละภาค (23 เม.ย. 66) ดังนี้
- ภาคเหนือ อุณหภูมิสูงสุด 37-42 องศา
- ภาคอีสาน อุณหภูมิสูงสุด 39-40 องศา
- ภาคกลาง อุณหภูมิสูงสุด 35-41 องศา
- ภาคตะวันออก อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศา
- ภาคใต้ อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศา
- กรุงเทพฯ และปริมณฑล อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ขณะที่ พยากรณ์ค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน ของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 21 - 23 เมษายน 2566 ระบุว่า
จังหวัดที่มีค่าดัชนีความร้อนสูงสุด ดังนี้
- วันที่ 21 เมษายน 2566
- เพชรบูรณ์ ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 41.0 องศาเซลเซียส (ระดับอันตราย)
- โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 41.6 องศาเซลเซียส (ระดับอันตราย)
- บางนา กทม. ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน มากกว่า 54.0 องศาเซลเซียส (ระดับอันตรายมาก)
- สัตหีบ จ.ชลบุรี ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน มากกว่า 54.0 องศาเซลเซียส (ระดับอันตรายมาก)
- ภูเก็ต ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 52.5 องศาเซลเซียส (ระดับอันตรายมาก)
- วันที่ 22 เมษายน 2566
- เพชรบูรณ์ ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 40.7 องศาเซลเซียส (ระดับเตือนภัย)
- โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 41.0 องศาเซลเซียส (ระดับอันตราย)
- บางนา กทม. ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 51.6 องศาเซลเซียส (ระดับอันตราย)
- จ.ชลบุรี ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 53.8 องศาเซลเซียส (ระดับอันตราย)
- ภูเก็ต ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 49.5 องศาเซลเซียส (ระดับอันตราย)
- วันที่ 23 เมษายน 2566
- เพชรบูรณ์ ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 46.5 องศาเซลเซียส (ระดับอันตราย)
- โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 44.3 องศาเซลเซียส (ระดับอันตราย)
- บางนา กทม. ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 51.3 องศาเซลเซียส (ระดับอันตราย)
- สัตหีบ จ.ชลบุรี ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 52.0 องศาเซลเซียส (ระดับอันตราย)
- ภูเก็ต ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน มากกว่า 54 องศาเซลเซียส (ระดับอันตรายมาก)
นอกจากนี้ "กรมอุตุนิยมวิทยา" รายงานพยากรณ์อากาศของประเทศไทยในช่วงสัปดาห์นี้ ระบุว่า ช่วงวันที่ 22 – 23 เม.ย. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมี อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งเกิดขึ้นได้ สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือและลมตะวันออกพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ในช่วงวันที่ 24 - 26 เม.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมี พายุฤดูร้อนเกิดขึ้น
โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และด้านตะวันออกของภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ส่วนอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 27 - 28 เม.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มอ่อนกำลังลง ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง ขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ด้วย