ปภ. เตือนพื้นที่ 'ฝนฟ้าคะนอง' ลมแรง - 7 จว. 'อากาศร้อนจัด' อุณหภูมิทะลุ 40 องศาฯ
ปภ. เตือนพื้นที่เฝ้าระวัง 'ฝนฟ้าคะนอง' ลมกระโชกแรง ขณะที่ 7 จังหวัดวันนี้ 'อากาศร้อนจัด' อุณหภูมิทะลุ 40 องศาฯ ด้าน กรมอุตุฯ 'พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า' เช็กเลย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. รายงานคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.00 น. พื้นที่เฝ้าระวัง 'ฝนฟ้าคะนอง' ลมกระโชกแรง 'อากาศร้อนจัด' และพื้นที่เฝ้าระวัง 'ฝุ่น PM 2.5'
โดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เตือนพื้นที่เฝ้าระวัง 'ฝนฟ้าคะนอง' และลมกระโชกแรง ดังนี้
- ภาคเหนือ : จ.เชียงใหม่ ลำปาง น่าน แพร่ ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.เลย ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์
- ภาคกลาง : จ.กาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ขอให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งงดการใช้เครื่องมือสื่อสารในพื้นที่โล่งแจ้งขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง
ในส่วนของพื้นที่เฝ้าระวัง 'อากาศร้อนจัด' อุณหภูมิตั้งแต่ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป
- ภาคเหนือ : จ.แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองฯ อ.แม่สะเรียง) ลำปาง (อ.เมืองฯ อ.เถิน) แพร่ (อ.เมืองฯ) อุตรดิตถ์ (อ.เมืองฯ) และนครสวรรค์ (อ.เมืองฯ)
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.อุดรธานี (อ.เมืองฯ) และหนองคาย (อ.เมืองฯ)
พื้นที่เฝ้าระวังคุณภาพอากาศ (ฝุ่น PM 2.5) ข้อมูลกรมควบคุมมลพิษ เวลา 06.00 น.
ระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
- ภาคเหนือ : จ.ลำพูน (อ.ลี้) และลำปาง (อ.เมืองฯ)
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.อุบลราชธานี (อ.เมืองฯ)
- ภาคกลาง : จ.ชลบุรี (อ.ศรีราชา)
ขณะที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 'พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า' รายภาค (ระหว่างวันที่ 2 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2566) ดังนี้
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 2 - 7 พฤษภาคม 2566 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 43 องศาเซลเซียส
ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 อากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 41 องศาเซลเซียส
ในช่วงวันที่ 2 - 3 และ 8 พฤษภาคม 2566 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. และในช่วงวันที่ 4 - 7 พฤษภาคม 2566 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 2 - 7 พฤษภาคม 2566 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่
ในช่วงวันที่ 2- 6 พฤษภาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 - 42 องศาเซลเซียส
ในช่วงวันที่ 7 - 8 พฤษภาคม 2566 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 37 องศาเซลเซียส
ในช่วงวันที่ 2 - 3 และ 7 - 8 พฤษภาคม 2566 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. และในช่วงวันที่ 4 - 6 พฤษภาคม 2566 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 2 - 7 พฤษภาคม 2566 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 - 42 องศาเซลเซียส
ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 39 องศาเซลเซียส
ในช่วงวันที่ 2 - 3 และ 8 พฤษภาคม 2566 ลมใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. และในช่วงวันที่ 4 - 7 พฤษภาคม 2566 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 2 - 7 พฤษภาคม 2566 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 40 องศาเซลเซียส
ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 38 องศาเซลเซียส
ในช่วงวันที่ 2 - 3 และ 8 พฤษภาคม 2566 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ในช่วงวันที่ 4 - 7 พฤษภาคม 2566 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 2 - 3 พฤษภาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 36 องศาเซลเซียส
ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 8 พฤษภาคม 2566 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส
ในช่วงวันที่ 2 - 3 พฤษภาคม 2566 ตั้งแต่ จ. สุราษฏร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ในช่วงวันที่ 4 - 7 พฤษภาคม 2566 ลมตะวันตก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
ในช่วงวันที่ 2 - 4 พฤษภาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 8 พฤษภาคม 2566 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล
ในช่วงวันที่ 2 - 7 พฤษภาคม 2566 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 40 องศาเซลเซียส
ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส
ในช่วงวันที่ 2 - 3 และ 8 พฤษภาคม 2566 ลมใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. และในช่วงวันที่ 4 - 7 พฤษภาคม 2566 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.