พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า กรมอุตุฯเตือนระวังพายุฤดูร้อน ทั่วไทยฝนฟ้าคะนอง
'พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า' กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนประเทศไทยยังเจอ 'พายุฤดูร้อน' มีฝนตกต่อเนื่องยาวถึง 15 พฤษภาคม 2566
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า (ระหว่างวันที่ 9 - 15 พฤษภาคม 2566) โดยในช่วงวันที่ 9 - 10 พฤษภาคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมี 'พายุฤดูร้อน' เกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่
ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 15 พฤษภาคม 2566 ลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 9 - 15 พฤษภาคม 2566 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านอ่าวเบงกอลตอนบน ขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วน คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ข้อควรระวัง : ในช่วงวันที่ 9 - 10 พฤษภาคม 2566 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง
ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 14 พฤษภาคม 2566 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งดังกล่าว
พยากรณ์อากาศ (รายภาค) ระหว่างวันที่ 9 - 15 พฤษภาคม 2566 มีดังนี้
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 9 - 10 พฤษภาคม 2566 พายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส
ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 15 พฤษภาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 9 - 10 พฤษภาคม 2566 พายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 14 พฤษภาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 9 - 10 พฤษภาคม 2566 พายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 14 พฤษภาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง
วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 9 - 10 พฤษภาคม 2566 พายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 14 พฤษภาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 37 องศาเซลเซียส
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 9 - 10 พฤษภาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูงต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ในช่วงวันที่ 11 - 15 พฤษภาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
ในช่วงวันที่ 9 - 10 พฤษภาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ในช่วงวันที่ 11 - 15 พฤษภาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่ จ.ภูเก็ต ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่ จ.กระบี่ ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส
กรุงเทพและปริมณฑล
ในช่วงวันที่ 9 - 10 พฤษภาคม 2566 พายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง
ลมใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 27 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส
ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 14 พฤษภาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 26 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส