กรมชลฯ เผยปริมาณฝนปี 66 นี้น้อยกว่าปกติ 5% ปีนี้ความต้องการน้ำ 30,246 ล้าน ลบ.ม.

กรมชลฯ เผยปริมาณฝนปี 66 นี้น้อยกว่าปกติ 5% ปีนี้ความต้องการน้ำ 30,246 ล้าน ลบ.ม.

กรมชลประทาน เผยปริมาณฝนปี 2566 นี้น้อยกว่าปกติ 5% โดยฝนจะเริ่มในช่วงกลางเดือน พ.ค. - กลางเดือน ต.ค. ขณะที่ ปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลักยังคงเหลือความจุมาก ชี้ปีนี้ความต้องการน้ำเพื่อจัดสรรให้ทุกภาคส่วนอยู่ที่ 30,246 ล้าน ลบ.ม

กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี 2566 พบว่า ปริมาณฝนรวมของประเทศในช่วงฤดูฝนจะน้อยกว่าปี 2565 และจะน้อยกว่าปกติประมาณ 5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาซึ่งมีปริมาณสูงกว่าปกติ 14% ทั้งนี้ ฤดูฝนของไทยปี 2566 นี้ จะเริ่มต้นปลายสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคม และสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม 2566
 

โดยมีการคาดหมายว่า 17-21 พฤษภาคม 2566 ประเทศไทยตอนบนฝนเริ่มน้อยลง โดยยังมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อากาศร้อนตอนกลางวัน และ 22-26 พฤษภาคม 2566 จะมีฝนเพิ่มขึ้น วิเคราะห์ได้เป็นแนวคุ้งหรือแนวโค้งของลมตะวันตก ตะวันตกเฉียงใต้เริ่มพัดปกคลุม ปกคลุมบริเวณภาค อีสาน สาหรับภาคตะวันออก (จันทบุรี ตราด) และภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะฝั่งอันดามัน ด้านรับลมตะวันตก และตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมจะมีกำลังปานกลาง ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 คลื่นลมจะเริ่มแรงขึ้น

สำหรับปริมาณน้ำ 4 เขื่อนหลัก ณ วันที่ 17 พ.ค. 66 พบว่า 

  • เขื่อนภูมิพล มีความจุ 13,462 ล้าน ลบ.ม มีปริมาณน้ำไหลเข้า 17.73 ล้าน ลบ.ม น้ำใช้การได้ 4,040 ล้าน ลบ.ม ประมาณ 42% รับได้อีก 5,622 ล้าน ลบ.ม
  • เขื่อนสิริกิติ์ มีความจุ 9,510 ล้าน ลบ.ม มีปริมาณน้ำไหลเข้า 5.70 ล้าน ลบ.ม  น้ำใช้การได้ 1,405 ล้าน ลบ.ม ประมาณ 21% รับได้อีก 5,255 ล้าน ลบ.ม
  • เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน มีความจุ 939 ล้าน ลบ.ม มีปริมาณน้ำไหลเข้า 1.24 ล้าน ลบ.ม น้ำใช้การได้ 197 ล้าน ลบ.ม ประมาณ 22% รับได้อีก 699 ล้าน ลบ.ม
  • เขื่อนปาสักชลสิทธิ์ มีความจุ 960 ล้าน ลบ.ม มีปริมาณน้ำไหลเข้า 0.0 ล้าน ลบ.ม น้ำใช้การได้ 183 ล้าน ลบ.ม ประมาณ 19%  รับได้อีก 774 ล้าน ลบ.ม

อย่างไรก็ตาม สำหรับแผนการจัดสรรน้ำและการเพาะปลูกพืชฤดูฝน 2566 ทั้งประเทศ ปริมาณน้ำต้นทุน 20,247 ล้าน ลบ.ม ความต้องการน้ำ 30,246 ล้าน ลบ.ม น้ำชลประทาน 14,851 ล้าน ลบ.ม จัดสรรโดย อุปโภค-บริโภค 1,752 ล้าน ลบ.ม คิดเป็น 6% รักษาระบบนิเวศและอื่นๆ 6,175 ล้าน ลบ.ม คิดเป็น 20% เกษตรกรรม 21,865 ล้าน ลบ.ม คิดเป็น 72% อุตสาหกรรม 454 ล้าน ลบ.ม คิดเป็น 2% แผนการเพาะปลูก 22.71 ล้านไร่ นาปี 16.97 ล้านไร่