พยากรณ์อากาศ กรมอุตุเตือน 'ฝนตกหนัก' อีกระลอก เช็กพื้นที่เสี่ยงท่วมฉับพลัน
พยากรณ์อากาศวันนี้ - 13 ก.ค. กรมอุตุฯเตือนทั่วไทยมี 'ฝนฟ้าคะนอง' ต่อเนื่อง ช่วง 8 - 9 ก.ค. 'ฝนตกหนัก' เช็กพื้นที่เฝ้าระวังอันตรายน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
พยากรณ์อากาศวันนี้ 'กรมอุตุนิยมวิทยา' พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า (18.00 น.วันนี้ - 18.00 น.วันพรุ่งนี้) เตือน 'ฝนฟ้าคะนอง' ทั่วไทย โดยมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม และมี 'ฝนตกหนัก' บางแห่งในภาคตะวันออก
สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2566 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกจะเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ส่วน 'พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า' ในช่วงวันที่ 7 - 13 กรกฎาคม 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนตลอดช่วง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ในขณะที่ในช่วงวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2566 จะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง
ข้อควรระวัง
ในช่วงวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2566 ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง
ขณะที่ 'พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน' (ทุกๆ 24 ชม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 7 - 16 กรกฎาคม 2566 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) ระบุว่า
วันนี้ (7 กรกฎาคม 2566) มรสุมกำลังปานกลาง ยังพัดปกคลุม ทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ทำให้ยังมีฝนเกิดขึ้นบางแห่ง ส่วนมากบริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ภาคตะวันออกด้านรับลมมรสุม ภาคกลาง กทม.และปริมณฑล เมื่อลมมรสุมอ่อนลง ประกอบกับยังมีลิ่มความกดอากาศสูงจากมหาสมุทรแปซิฟิกแผ่ปกคลุมทางภาคอีสาน ทำให้ทิศทางลมเปลี่ยนแปลง ฝนยังเกิดขึ้นในช่วงบ่ายถึงค่ำ ส่วนใหญ่เป็นฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง
สำหรับภาคใต้ด้านรับมรสุม (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่) ยังมีฝนเกิดขึ้นได้ ส่วนภาคใต้ตอนล่างฝนเริ่มกลับมา คลื่นลมฝั่งอันดามันยังมีคลื่นสูง ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือ ชาวประมงเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือในระยะนี้
ช่วง 8 - 10 กรกฎาคม 2566 มรสุมแรงขึ้น ฝนเพิ่มขึ้นได้บ้าง โดยเฉพาะด้านรับมรสุม แต่ยังตกไม่สม่ำเสมอ
ช่วง 11 - 16 กรกฎาคม 2566 ฝนยังตกได้บางพื้นที่ ระยะนี้ยังไม่มีสัญญาณการก่อตัวของพายุ
- ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย ระหว่างเวลา 18.00 น.วันนี้ (7 กรกฎาคม 2566) ถึง 18.00 น.วันพรุ่งนี้ (8 กรกฎาคม 2566) ดังนี้
ภาคเหนือ
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง น่าน ตาก และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคกลาง
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดสระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ออกประกาศวันที่ 7 กรกฎาคม 2566