ย้อนคำวินิจฉัยสำคัญทางการเมือง 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ในช่วง 15-16 ปีหลังสุด

ย้อนคำวินิจฉัยสำคัญทางการเมือง 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ในช่วง 15-16 ปีหลังสุด

ย้อนดูคำวินิจฉัยสำคัญๆทางการเมือง 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ในช่วง 15-16 ปีหลังสุดว่ามีเหตุการณ์สำคัญๆอะไรบ้าง หลังเมื่อวานนี้ (19 ก.ค.2566) ได้มีมติเอกฉันท์ 7-2 สั่งให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. ระหว่างประชุมสภาโหวตนายกรัฐมนตรี รอบ 2

ทีมข่าวกรุงเทพธุกิจออนไลน์ พาไปย้อนดูคำวินิจฉัยสำคัญๆทางการเมือง 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ในช่วง 15-16 ปีหลังสุดว่ามีเหตุการณ์สำคัญๆอะไรบ้าง หลังเมื่อวานนี้ (19 ก.ค.2566) ได้มีมติเอกฉันท์ 7-2 สั่งให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. ระหว่างประชุมสภาโหวตนายกรัฐมนตรี รอบ 2

สำหรับมติของ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' 7-2 ให้ พิธา หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. จากกรณีการถือครองหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) หรือ หุ้น itv เป็นกิจการสื่อสารมวลชนหรือไม่

7 เสียงข้างมาก ประกอบด้วย วรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ , นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ , อุดม สิทธิวิรัชธรรม , จิรนิติ หะวานนท์ , ปัญญา อุดชาชน , อุดม รัฐอมฤต , วิรุฬห์ แสงเทียน 

2 เสียงข้างน้อย คือ นภดล เทพพิทักษ์ และ บรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์

โดยหลังจากนี้ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มีเวลา 15 วันในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา จากนั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการการไต่สวนต่อไป ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในกระบวนการดังกล่าวราวๆ 3-4 เดือน

ย้อนคำวินิจฉัยสำคัญๆทางการเมือง 'ศาลรัฐธรรมนูญ'

คำวินิจฉัยแบ่งเป็น คำสั่ง คำวินิจฉัย และมติที่สำคัญทางการเมือง ช่วง 15-16 ปีหลังสุดของศาลรัฐธรรมนูญ มีเหตุการณ์สำคัญๆเกิดขึ้นมากมายดังต่อไปนี้ 

- 30 พฤษภาคม 2550 ยุบพรรคไทยรักไทยและ 3 พรรคเล็กจากคดีจ้างลงเลือกตั้ง

- 9 กันยายน 2551 วินิจฉัยให้ สมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเนื่องจากเป็นลูกจ้างเอกชน

- 2 ธันวาคม 2551 ยุบพรรคพลังประชาชน ซึ่งมีผลให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะหัวหน้าพรรค ถูกตัดสิทธิทางการเมืองและพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามไปด้วย

- 29 พฤศจิกายน 2553 ไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์

- 13 กรกฎาคม 2555 ยับยั้งการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ของรัฐสภา 2555–2557

- 24 มกราคม 2557 วินิจฉัยให้สามารถเลื่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการทั่วไปได้

- 24 มีนาคม 2557 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 2 ก.พ. 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

- 7 พฤษภาคม 2557 วินิจฉัยให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

- 7 มีนาคม 2562 ยุบพรรคไทยรักษาชาติ เพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 10 ปี

- 18 กันยายน 2562 วินิจฉัยว่าประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่เข้าข่ายลักษณะต้องห้ามเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ใช่ "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ"

- 20 พฤศจิกายน 2562 มติให้ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ พ้นจากสมาชิกสภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยเห็นว่ายังเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทด้านสื่อมวลชนที่ยังไม่แจ้งยกเลิกกิจการ แม้ว่าจะยุติการผลิตสิ่งพิมพ์และจ้างพนักงานไปแล้ว

- 21 มกราคม 2563 ยกคำร้อง คดีพรรคอนาคตใหม่ ล้มล้างการปกครอง หรือที่พรรคอนาคตใหม่เรียกว่า คดีอิลลูมินาติ

- 21 กุมภาพันธ์ 2563 ยุบพรรคอนาคตใหม่ เพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 10 ปี

- 2 ธันวาคม 2563 วินิจฉัยว่าประยุทธ์ จันทร์โอชาที่ยังอาศัยอยู่ในบ้านพักประจำตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกทั้งที่พ้นตำแหน่งไปแล้วไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

- 17 พฤศจิกายน 2564 วินิจฉัยว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับสมรสซึ่งให้จดทะเบียนเฉพาะชายและหญิงเท่านั้นไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญส่วนที่คุ้มครองสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค และแนะนำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรากฎหมายต่อไป

โดยความเห็นส่วนตัวของตุลาการระบุว่า เพื่อป้องกันการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐโดยมิชอบ ทำลายสถาบันครอบครัวและกฎธรรมชาติ เป็นต้น

- 30 กันยายน 2565 ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ประยุทธ์ จันทร์โอชายุติปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 หลังรับคำร้องเรื่องรัฐธรรมนูญห้ามบุคคลดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรวมเกิน 8 ปี และให้ประยุทธ์ส่งคำชี้แจงภายใน 15 วัน

ก่อนในวันที่ 30 กันยายน 2565 มีคำวินิจฉัย 6 ต่อ 3 ให้เริ่มนับวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2560 มีผลใช้บังคับ
 

 

อ้างอิงจาก

wikipedia