อัปเดตเส้นทาง 'พายุขนุน' ล่าสุด เช้าวันนี้ 8 ส.ค. 2566
อัปเดตเส้นทาง 'พายุขนุน' ล่าสุด มุ่งหน้าไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น - คาบสมุทรเกาหลี ไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตเส้นทางพายุ 'ขนุน' (KHANUN) เช้าวันนี้ (8 สิงหาคม 2566) ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก มีพายุก่อตัว 2 ลูก คือ
1.พายุโซนร้อนขนุน มีศูนย์กลางบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือ มุ่งหน้าไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น และคาบสมุทรเกาหลี (ทิศทางไม่ได้มุ่งเข้าสู่ประเทศไทย) จึงไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย แต่ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทางในระยะนี้
2.พายุดีเปรสชั่น มีโอกาสทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนต่อไป พายุยังอยู่ห่างจากประเทศไทยมาก
*ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ*
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า (ระหว่างวันที่ 7 - 13 สิงหาคม 2566) โดยในช่วงวันที่ 7 - 11 สิงหาคม 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศจีนตอนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 13 สิงหาคม 2566 ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ข้อควรระวัง : ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง