สั่ง อ.ส.ค. พลิกโฉมยกระดับธุรกิจเพิ่มผลกำไร วางเป้าไกลเข้าตลาดหลักทรัพย์
รมช.ไชยา สั่ง อ.ส.ค.พลิกโฉมยกระดับธุรกิจเพิ่มผลกำไร วางเป้าไกลเข้าตลาดหลักทรัพย์
พร้อมแจ้งข่าวดีเกษตรกร ส่งเรื่องเพิ่มราคารับซื้อน้ำนมดิบเข้าครม.แล้ว
วันนี้ ( 9 ต.ค.66) เวลา 10.00 น. นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษา ได้เดินทางไปยังองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เพื่อมอบนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนด้านอุตสาหกรรมนม พร้อมเยี่ยมชมโรงงานผลิตภัณฑ์นม อ.ส.ค. มวกเหล็ก,ฟาร์มประสิทธิภาพสูง,ฟาร์มท่องเที่ยวเชิงเกษตร อ.ส.ค. และตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของสหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์ค(มิตรภาพ) จำกัด อำเภอมวกเหล็ก ในการนี้ นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ ประธานบอร์ด อ.ส.ค.กล่าวต้อนรับ นายสมพร ศรีเมือง ผู้อำนวยการ อ.ส.ค. ได้บรรยายสรุปผลการดำเนินงานของ อ.ส.ค. โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ
นายไชยา กล่าวว่า อาชีพการเลี้ยงโคนม ถือเป็นอาชีพพระราชทานจากในหลวงรัชกาลที่ 9 และทรงมีความมุ่งมั่นที่จะให้อาชีพการเลี้ยงโคนมเป็ยอาชีพที่สร้างความมั่นคงให้แก่เกษตรกร ซึ่ง อ.ส.ค.เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีบทบาทสำคัญ ซึ่งการดำเนินงานของ อ.ส.ค. นับจากนี้ไป ต้องมีการบริหารแบบมืออาชีพทั้งด้านการดำเนินธุรกิจ และการส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกร อยากให้ผู้บริหารได้คิดนอกกรอบ ในการพัฒนา อ.ส.ค. ซึ่งได้สั่งการให้ อ.ส.ค. ได้มีมีการจัดทำแผนธุรกิจเชิงรุกที่ช่วยเพิ่มรายได้ สร้างส่วนแบ่งการตลาดให้เพิ่มขึ้น รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่มีมูลค่าสูง ยกระดับการทำตลาดไปสู่ตลาดบน อีกทั้งเป้าหมายในระยะยาวที่จะผลักดันให้ดำเนินการคือการนำอ.ส.ค.เข้าสู่ลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะนำประโยขน์มาสู่ อ.ส.ค.โดยเฉพาะด้านการระดมทุน
ตนมองว่า การผลิตน้ำนม ตั้งแต่ต้นน้ำเริ่มต้นก็เกิดปัญหาขาดทุนแล้ว จึงต้องการให้ คณะกรรมการฯ หาวิธีการอย่างไร ที่การดำเนินการต่อต้องไม่ขาดทุน เพราะเชื่อมั่นว่า แบนด์ไทยเดนมาร์ค ยังเป็นที่นิยมที่มีเพราะมีต้นทุนมากกว่าแบนด์อื่น จึงขอให้ผู้บริหารไปคิดนอกกรอบว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน เพราะกิจการ อ.ส.ค. คงจะไม่ใช้แบนด์ที่ไปขายน้ำนมอย่างเดียว จึงขอให้ อ.ส.ค.ต่อยอด นำสิ่งที่มีอยู่พัฒนาเพื่อสร้างมูลค่า ขณะเดียวกัน ต้องช่วยเหลือเกษตรกร แก้ปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนค่าอาหารสัตว์
โดยนอกจากให้อ.ส.ค.ได้เร่งดำเนินการแล้ว ตนเองจะดำเนินการให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เช่น การสนับสนุนให้มีการทำคอนแทรกฟาร์มมิ่งระหว่างสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมกับสหกรณ์ที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สำคัญ เพื่อช่วยลดต้นทุนค่าวัตถุดิบ ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้บริหารมืออาชีพที่สามารถพัฒนาองค์กรและแข่งขันได้กับเอกชน ที่จะต้องนำองค์กรเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ผู้บริหารจึงต้องคิดนอกกรอบ จะให้เวลาไปคิดว่าจะทำอย่างไรภานใน 3-6 เดือนนี้
ส่วนการปรับราคา วันนี้กระทรวงเกษตรฯ ได้ส่งเรื่องไปที่ ครม.แล้ว แต่เรื่องนี้เกี่ยวข้องกระทรวงพาณิชย์ ก็ต้องดูผลกระทบว่าจะเกิดขึ้นอย่างไรต่อไป” จากนั้นคณะรัฐมนตรีได้เข้าเยี่ยมชม กระบวนการผลิตน้ำนมไทย-เดนมาร์ก และได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าของ สหกรณ์โคนมมิตรภาพจำกัด ซึ่งจัดตั้งเพื่อรวบรวมน้ำนมดิบ ของเกษตรกร มีนายบัญชา เชาวรินทร์ ผวจ.สระบุรีให้การต้อนรับ พร้อมกับรับฟังปัญหาของผู้เลี้ยงโคนม ที่มีปัญหาคล้ายคลึงกันจนทำให้จำนวนผู้เลี้ยงลดลง ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับฟังปีญหาและเดินหน้าแก้ไขภายในรัฐบาลชุดนี้