สทนช. เตือน 14-18 พ.ย. 66 ภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

สทนช. เตือน 14-18 พ.ย. 66 ภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ประกาศเตือน เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้ ในช่วงวันที่ 14 – 18 พฤศจิกายน 2566

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ พบลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยประกอบกับมี หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ทำให้บริเวณภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง สทนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) โดยมีพื้นที่เสี่ยงบริเวณภาคใต้ ต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 14 – 18 พฤศจิกายน 2566 ดังนี้

เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

  • จังหวัดชุมพร (อำเภอเมืองชุมพร ปะทิว และหลังสวน) 
  • จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์ และสุขสำราญ) 
  • จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ท่าชนะ ไชยา พุนพิน กาญจนดิษฐ์ ดอนสัก บ้านนาสาร เกาะสมุย และเกาะพะงัน) 
  • จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ขนอม สิชล นบพิตำ ลานสกา ท่าศาลา ปากพนัง ชะอวด และหัวไทร) 
  • จังหวัดพัทลุง (อำเภอบางแก้ว ป่าบอน เขาชัยสน อำเภอเมืองพัทลุง และปากพะยูน) 


 

  • จังหวัดสงขลา (อำเภอระโนด สะทิงพระ สิงหนคร จะนะ สะเดา และเทพา) 
  • จังหวัดปัตตานี (อำเภอเมืองปัตตานี หนองจิก และแม่ลาน) 
  • จังหวัดนราธิวาส (อำเภอเมืองนราธิวาส บาเจาะ ยี่งอ เจาะไอร้อง ตากใบ สุไหงโก-ลก และสุคิริน) 
  • จังหวัดยะลา (อำเภอเมืองยะลา รามัน ยะหา และบันนังสตา)

สทนช. เตือน 14-18 พ.ย. 66 ภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็ก ที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จังหวัดระนอง และสุราษฎร์ธานี และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกัก ที่มีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างฯ และส่งผลกระทบให้น้ำท่วมบริเวณด้านท้ายน้ำ
 

ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ

2. ติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม โดยปรับแผนระบายน้ำจากเขื่อนและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นพื้นที่หน่วงน้ำ เพื่อลดผลกระทบจากมวลน้ำที่จะไหลหลากมายังบริเวณพื้นที่เสี่ยง

3. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที

4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์

สทนช. เตือน 14-18 พ.ย. 66 ภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก