สสว. จับมือสภาอุตฯท่องเที่ยว สร้างต้นแบบชุมชนท่องเที่ยว 20 ชุมชน
ผอ.สสว. เผยจับมือสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สร้างต้นแบบชุมชนท่องเที่ยว 20 ชุมชน มุ่งสร้างรายได้กว่า 500 ล้านบาท
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ร่วมแถลงความสำเร็จการดำเนินงานโครงการ SME Restart ปีงบประมาณ 2566
ซึ่งเป็นการดำเนินงานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและศักยภาพในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในการก้าวสู่การ
ท่องเที่ยววิถีใหม่
และที่สำคัญคือ การสร้างต้นแบบกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและชุมชนท่องเที่ยวให้สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน โดยมีกิจกรรมการดำเนินงานทั้งการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว การพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว 20 ชุมชน ให้มีความในการรองรับนักท่องเที่ยวโดยเชื่อมโยงกับกลุ่มูรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่เพื่อสร้างต้นแบบการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวที่สามารถสร้างรายได้ให้เกิดความยั่งยืน
นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวภายหลังเป็นประธานในงานว่า สสว.ได้มอบหมายให้ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ดำเนินงานโครงการ SME Restart ปีงบประมาณ 2566 โดยเริ่มดำเนินงานโครงการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
โดยมีกิจจกรมการดำเนินงานประกอบไปด้วยการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่ม SME ในภาคธุรกิจการท่องเที่ยว ใน 5 สาขาอาชีพ เช่น โรงแรมและที่พัก บริการพาหนะขนส่งทางน้ำและบก ร้านอาหาร ธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์
ภายใต้ “กิจกรรม Tourism Transform” โดยให้ความรู้ตาม Mega Trend เช่น Wellness & Senior Tourism /BCG & SDG เป็นต้น
เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการไปพัฒนาสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการ และ
พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในยุค New Normal/Next Normal และการอบรม Workshop “Business Collaboration” เพื่อเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวทั้ง 5 สาขา กับผู้ประกอบการจากชุมชนท่องเที่ยวในพื้นที่ใกล้เคียง จากนั้นจะคัดเลือกกลุ่มธุรกิจและชุมชนท่องเที่ยวจำนวน 15 กลุ่ม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวเข้าไปพัฒนาในเชิงธุรกิจและการตลาดโดยเน้นการเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว 5 สาขาอาชีพกับชุมชนท่องเที่ยวในพื้นที่เพื่อสร้างต้นแบบการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว
ทั้งนี้ สสว. ได้รับการร่วมมือสนับสนุนจากองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) อพทง และ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการคัดเลือกชุมชนท่องเที่ยวที่ได้รับการพัฒนาจำนวน 35 ชุมชน ให้เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ
นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า ในการจัด กิจกรรม Tourism Transform และ Workshop Business Collaboration สทท.ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมใน 10 พื้นที่ทั่วประเทศ ได้แก่ ภูเก็ต กระบี่ นครศรีธรรมราช เชียงใหม่ พิษณุโลก อุดรธานี นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน) ชลบุรี (พัทยา) และกรุงเทพมหานคร
โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 1,000 ราย และชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม 35 ชุมชน จากทั่วประเทศ จากนั้นได้คัดเลือกชุมชนท่องเที่ยวจำนวน 20 ชุมชน เพื่อมาทำการพัฒนายกระดับโดยการทำ Digital Content ของกิจกรรมท่องเที่ยวในชุมชน การทำ Business Model รวมถึงการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงระหว่างจุดท่องเที่ยวในพื้นที่กับชุมชนท่องเที่ยวเพื่อให้ชุมชนมีความพร้อมในการทำการตลาดเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว รวมถึงการเชื่อมเครือข่ายธุรกิจแบบ B2B กับผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่เป็นสมาชิก สทท. เพื่อร่วมมือกันหาตลาดให้กับชุมชนท่องเที่ยว
นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ได้กล่าวเสริมว่า ในโครงการนี้สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้จัดทำเส้นทางท่องเที่ยว 20 เส้นทางที่มีการเชื่อมโยงกับชุมชนท่องเที่ยวทั้ง 20 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ โดย สทท.ได้นำเส้นทางท่องเที่ยวทั้งหมดให้ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวทั่วประเทศดำเนินการขาย โดยผ่านเระบบเว็บไซด์สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว Easy Web Tour ที่ สทท.ได้พัฒนาขึ้นตามนโยบายเติมนวัตกรรมให้การท่องเที่ยวไทย ทำให้เส้นทางท่องเที่ยวทั้ง 20 เส้นทางภายใต้โครงการสามารถเข้าสู่ตลาดการท่องเที่ยวที่มีโอกาสขายได้จริง
โดยมีเส้นทางท่องเที่ยวของชุมชนหลาย ๆ ชุมชนที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว เช่น เส้นทางท่องเที่ยวชุมชนเชียงแสน ชุมชนนางแล จ.เชียงราย เส้นทางท่องเที่ยวชุมชนบ้านถ้ำรงค์ จ.เพชรบุรี ชุมชนท่องเที่ยวบ้านโคกเมือง จ.บุรีรัมย์ การใช้เครื่องมือ Easy Web Tour ทำให้เส้นทางท่องเที่ยวของชุมชนได้มีโอกาสทางการตลาดที่มีเอเย่นต์ทัวร์มาช่วยขายเส้นทางท่องเที่ยวจนสามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวได้กว่า 500 ล้านบาท