สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 10 ธ.ค. 66

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 10 ธ.ค. 66

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 10 ธ.ค. 66 ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 63,266 ล้าน ลบ.ม. น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 10 ธ.ค. 66 โดย สภาพอากาศวันนี้ บริเวณความกดอากาศสูงมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น ในภาคตะวันออกและภาคกลางตอนล่าง มีฝนบางแห่งเกิดขึ้นได้ ส่วนภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนฟ้าคะนอง

คาดการณ์ ในวันที่ 11 ธ.ค. 66 ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ในวันที่ 12 –15 ธ.ค. 66 ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลง กับมีฝนบางแห่งในระยะแรก ส่วนภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง

ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 9.ธ.ค. 66 น้อยกว่า ปี 65 จำนวน 4,276 ล้าน ลบ.ม. สรุปได้ดังนี้

  • ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 63,266 ล้าน ลบ.ม. (77%)
  • ปริมาณน้ำใช้การ 39,058 ล้าน ลบ.ม. (67%)

การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำขนาดใหญ่

ระดับน้ำเกินระดับควบคุมสูงสูด 7 แห่ง

  • ภาคเหนือ : แม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วคอหมา แม่มอก แควน้อยบำรุงแดนและบึงบอระเพ็ด
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ลำปาว
  • ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์ 

ระดับน้ำต่ำกว่าระดับควบคุมต่ำสุด 3 แห่ง

  • ภาคเหนือ: สิริกิติ์
  • ภาคกลาง : กระเสียว
  • ภาคตะวันออก : คลองสียัด 

โดยขอให้หน่วยงานดำเนินการ

  1. วางแผนการระบายน้ำโดยจัดลำดับความสำคัญตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด  
  2. ประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรและขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง
  3. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยการใช้น้ำภาคการเกษตรให้ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายได้ในพื้นที่

น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน   
น้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

สถานการณ์น้ำท่า

ภาคเหนือ เฝ้าระวังน้ำน้อย แม่น้ำสะแกกรัง (จ.อุทัยธานี) น้ำน้อยวิกฤติ แม่น้ำสาละวิน (จ.แม่ฮ่องสอน) แม่น้ำวัง (จ.ลำปาง) แม่น้ำน่าน (จ.อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก) และแม่น้ำโขง (จ.เชียงราย) 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฝ้าระวังน้ำน้อย ลำตะคอง (จ.นครราชสีมา) แม่น้ำโขง (จ.เลย) น้ำน้อยวิกฤต แม่น้ำโขง (จ.หนองคาย นครพนม มุกดาหาร และอุบลราชธานี)

ภาคกลาง เฝ้าระวังน้ำน้อย แม่น้ำเจ้าพระยา (จ.ชัยนาท) น้ำน้อยวิกฤติ แม่น้ำป่าสัก (จ.พระนครศรีอยุธยา) แม่น้ำเจ้าพระยา (จ.พระนครศรีอยุธยา)

ภาคตะวันออก น้ำน้อยวิกฤติ แม่น้ำจันทบุรี (จ.จันทบุรี) แม่น้ำบางปะกง (จ.ปราจีนบุรีและฉะเชิงเทรา)

ภาคตะวันตก เฝ้าระวังน้ำน้อย แม่น้ำแควน้อย (อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี) คลองบางสะพาน (จ.ประจวบคีรีขันธ์) เฝ้าระวังน้ำมาก แม่น้ำแควน้อย (อ.เมือง จ.กาญจนบุรี) น้ำน้อยวิกฤติ แม่น้ำเพชรบุรี (จ.เพชรบุรี) คลองทับสะแก (จ.ประจวบคีรีขันธ์) และคลองบางสะพาน 
(จ.ประจวบคีรีขันธ์)

ภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำมาก แม่น้ำตาปี (จ.สุราษฎร์ธานี) คลองท่าดี (จ.นครศรีธรรมราช) แม่น้ำโก-ลก (จ.นราธิวาส) เฝ้าระวังน้ำน้อย แม่น้ำปัตตานี (จ.ปัตตานี) น้ำมากวิกฤติ แม่น้ำโก-ลก (จ.นราธิวาส) น้ำน้อยวิกฤติ คลองละงู (จ.สตูล) และคลองอู่ตะเภา (จ.สงขลา)

เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 66 นายชัยวัฒน์ จันทวี ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 4 ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นประธาน
ในการประชุมคณะทำงานการบริหารจัดการน้ำเขื่อนบางลาง ครั้งที่ 18/2566 ภายใต้คณะกรรมการลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง 
โดยที่ประชุมมีมติ เห็นชอบปรับแผนการระบายน้ำเขื่อนบางลาง จาก 8 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน เป็น 10 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 8-9 ธ.ค. 66 และปรับแผนการระบายน้ำเขื่อนบางลางจาก 10 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน เป็น 12 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 10-11 ธ.ค. 66 กรณีเกิดปริมาณฝนตกหนักในพื้นที่ท้ายน้ำหรือเกิดน้ำล้นตลิ่งให้ทางโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปัตตานีร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเขื่อนบางลางประสานบูรณาการบริหารจัดการน้ำเพื่อพิจารณาการปรับลดแผนการระบายน้ำ