กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ขึ้นทะเบียน ‘ข้าวหมูแดงนครปฐม’ เป็นมรดกภูมิปัญญา

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ขึ้นทะเบียน ‘ข้าวหมูแดงนครปฐม’ เป็นมรดกภูมิปัญญา

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ประกาศขึ้นทะเบียน "ข้าวหมูแดงนครปฐม" ชุดไทยราชนิยม กว่า 18 รายการ เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงาน เว็บไซต์ราชกิจจานุเษกษา เผยแพร่ประกาศ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม พ.ศ.2566 ลงนามโดยนายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ความว่า

อาศัยอำนาจ ตามความมาตรา 18 (5) และมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559  อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2566 จึงประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จำนวน 18 รายการดังนี้

1.ประเภท รายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ต้องได้รับการส่งเสริมและรักษาอย่างเร่งด่วน

1.1 วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

  1. ภาษาโส้

1.2  ศิลปการแสดง

  1. ตุ๊บเก่ง 
  2. โนราควน

1.3 งานฝีมือดั้งเดิม

  1. ผ้ามุกนครพนม 
  2. ขุดเรือยาว
  3. ผ้าทอใยกัญชงม้ง

2.ประเภท รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

2.1 ศิลปการแสดง

  1. เพลงพวงมาลัย

2.2  แนวปฏิบัติทางสังคม  พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล

  1. ชุดไทยราชนิยม
  2. ประเพณีแห่พระศรีอริยเมตไตรย วัดไลย์
  3. งานปีผีมด
  4. ประเพณีลอยเรืออูรักลาโว้ย
  5. ประเพณีจุดไฟตูมกา ออกพรรษายโสธร

2.3  ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล

  1. ข้าวแคบ
  2. “ข้าวหมูแดงนครปฐม”
  3. แกงหัวตาล

2.4  งานช่างฝีมือดั้งเดิม

  1. ปลาตะเพียนใบลาน
  2. เครื่องถมนคร

2.5 การละเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว

  1. ว่าวเอก 

ประกาศ ณวันที่ 27 ธันวาคม 2566 

 

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ขึ้นทะเบียน ‘ข้าวหมูแดงนครปฐม’ เป็นมรดกภูมิปัญญา

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ขึ้นทะเบียน ‘ข้าวหมูแดงนครปฐม’ เป็นมรดกภูมิปัญญา