เงินดิจิตอล หรือ แจกเงินดิจิทัล 10000 ล่าสุด ลงทะเบียน-เงื่อนไข
พูดคุยถึงกันมาก เงินดิจิตอล หรือ แจกเงินดิจิทัล 10000 ล่าสุด ลงทะเบียน-เงื่อนไข เรื่องนี้ต้องรู้ก่อนใคร
สอบถามพูดคุยถึงกันมาก เงินดิจิตอล หรือ "แจกเงินดิจิทัล 10000 ล่าสุด" ลงทะเบียน-เงื่อนไขต่าง ๆ "กรุงเทพธุรกิจ" รู้ลึกรู้จริงติดตามเรื่องนี้มาตลอดตั้งแต่แรก
แจกเงินดิจิทัล 10000 ล่าสุด
คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต (Digital Wallet) ประชุมครั้งที่ 3/2567 ครั้งล่าสุด 10 เมษายน 2567 ได้เห็นชอบกรอบหลักการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet มีวัตถุประสงค์
- กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่
- ช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพ
- ยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือ
- กลุ่มเปราะบาง
- เกษตรกร เป็นต้น - ส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีความเข้มแข็งในด้านเศรษฐกิจ
- สามารถพึ่งพาตนเองได้
- รวมทั้งสร้างและเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชน
- ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม
เหตุผล ความจำเป็น แจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท
- ในปี 2567 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) คาดว่าจะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 2.7 ต่อปี (ข้อมูลสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สศช.) ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าที่หลายหน่วยงานเคยประมาณไว้ ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าศักยภาพและมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับในอดีต ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเทียบ GDP ในไตรมาสที่ 4 กับ GDP ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 ที่ขจัดผลของฤดูกาลแล้ว (Seasonally Adjusted) พบว่า GDP ในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 หดตัวร้อยละ 0.6
- ในปัจจุบันเศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับความท้าท้ายทั้งในและนอกประเทศ เช่น ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ การฟื้นตัวของรายได้ของประชาชนที่ไม่เท่ากันตั้งแต่หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงและบั่นทอนกำลังซื้อของประชาชนและภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้า โตต่ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออกสินค้าและบริการอยู่ที่ร้อยละ 69
- รัฐบาลมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการฯ เพื่อเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้กระจายตัวไปสู่ท้องถิ่นและชุมชน โดยการดำเนินโครงการฯ ที่มีขอบเขตและเงื่อนไขที่เหมาะสมกับบริบทเศรษฐกิจในปัจจุบันย่อมส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมและช่วยดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ ยังต้องมีความระมัดระวังและป้องกันความเสี่ยงทางด้านการคลังรวมถึงมีแนวทางในการช่วยลดผลกระทบดังกล่าว เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนโดยรวม ตลอดจนรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐอย่างเคร่งครัด
เงินดิจิตอล 10000 ใครจะได้บ้าง
1. กลุ่มเป้าหมายเงินดิจิทัล
ประชาชนจำนวนประมาณ 50 ล้านคน โดยจะมีเกณฑ์ ได้แก่ อายุเกิน 16 ปี ณ เดือนที่มีการลงทะเบียน ไม่เป็นผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษีและมีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท
2. เงื่อนไขการใช้จ่ายเงินดิจิทัล
2.1 ระหว่างประชาชนกับร้านค้า ใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ) โดยกำหนดให้ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น
2.2 ระหว่างร้านค้ากับร้านค้า ไม่กำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเชิงพื้นที่ระหว่างร้านค้ากับร้านค้าในระดับอำเภอและขนาดของร้านค้า
การใช้จ่ายเงินสามารถใช้จ่ายได้หลายรอบ โดยรอบที่ 1 จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็กเท่านั้น (ตามกระทรวงพาณิชย์กำหนด) ตั้งแต่รอบที่ 2 ขึ้นไป จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้าโดยไม่จำกัดขนาดร้านค้า
3. ประเภทสินค้าเงินดิจิตอล
สินค้าทุกประเภทสามารถใช้จ่ายผ่านโครงการฯ ได้ ยกเว้น สินค้าอบายมุข น้ำมัน บริการ และออนไลน์ เป็นต้น และสิ่งที่กระทรวงพาณิชย์จะกำหนดเพิ่มเติม
4. คุณสมบัติร้านค้าที่สามารถถอนเงินสดจากโครงการฯ ต้องเป็นร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี ดังนี้
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT)
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax: PIT) เฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax: CIT) ทั้งนี้ ร้านค้าไม่สามารถถอนเงินสดได้ทันทีหลังประชาชนใช้จ่าย แต่ร้านค้าจะสามารถถอนเงินสดได้เมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่ในรอบที่ 2 เป็นต้นไป
ลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท
5. การจัดทำระบบ
จะเป็นการพัฒนาต่อยอดของรัฐบาลดิจิทัลโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีเป้าหมายให้เป็น Super App ของรัฐบาล โดยการใช้งานจะพัฒนาให้สามารถใช้จ่ายได้กับธนาคารอื่น ๆ ในลักษณะ open loop ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดทำของภาครัฐ รัฐบาลจะดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปอย่างรอบคอบ โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ตามกฎหมาย
6. แหล่งเงินของเงินดิจิทัล 10000
จะใช้เงินจากงบประมาณจาก 3 แหล่ง ได้แก่
- เงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 152,700 ล้านบาท
- การดำเนินโครงการผ่านหน่วยงานของรัฐ จำนวน 172,300 ล้านบาท
-การบริหารจัดการเงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 175,000 ล้านบาท
โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับกฎหมายต่าง ๆ เช่น มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 (พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ) ซึ่งกำหนดว่ารัฐต้องดำเนินนโยบายการคลังตามหลักการรักษาเสถียรภาพและการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และหลักความเป็นธรรมในสังคม และต้องรักษาวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ ซึ่งกำหนดว่าการดำเนินการใด ๆ ของรัฐที่มีผลผูกพันทรัพย์สินหรือก่อให้เกิดภาระทางการเงินการคลังแก่รัฐ ต้องพิจารณาความคุ้มค่า ต้นทุน และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐด้วย
7. ช่วงเวลาการดำเนินโครงการ
ประชาชนและร้านค้าจะสามารถเข้าร่วมโครงการฯ ภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 และจะมีการเริ่มใช้จ่ายภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567
เงินดิจิทัลโอนให้ครั้งเดียวเลย 10000
โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ที่จะเข้ากระเป๋าเงินของประชาชนจำนวน 10,000 บาท จะเป็นการเข้าล็อตเดียวหรือทยอยจ่ายนั้น นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า เข้าล็อตเดียว
ส่วนกรณีร้านค้าที่จะสามารถเบิกเงินได้ที่แบ่งครั้งที่สองก่อน เอาอะไรมาวัดตรงนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระบวนการที่ได้มีการกำหนดในชั้นอนุกรรมการมีข้อห่วงใยในเรื่องของการทุจริตคอร์รัปชัน เช่น เรื่องของการซื้อรถ แลกรถ และประเด็นในเรื่องของการสร้างตัวคูณทางเศรษฐกิจ จะมีเพียงพอหรือไม่นั้น ซึ่งหลังจากที่ได้พิจารณาอย่างละเอียดทางฝ่ายเลขาฯ ได้นำเสนอมาที่ชั้นอนุกรรมการแล้วส่งเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ครั้งที่ 3/2567 ในวันนี้ โดยเสนอให้กลไกการใช้จ่ายเงินดิจิทัล ต้องใช้ 2 รอบเป็นอย่างต่ำเพื่อให้เกิดตัวคูณทางเศรษฐกิจอย่างที่เหมาะสม เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการเงิน Digital Wallet โดยรอบแรกประชาชนใช้กับร้านค้าขนาดเล็ก จะเป็นร้านหน้าบ้าน ร้านก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น เมื่อใช้แล้วร้านค้าดังกล่าวก็นำเงินไปซื้อสินค้าทุน กับร้านค้าอื่น ๆ ต่อไปอีกหนึ่งถอดจึงจะขึ้นเงินได้
เงื่อนไขร่วมเงินดิจิทัลโครงการเติมเงิน 10,000 บาท
ในการกำหนดเรื่องของเงินเดือน และเงินฝากด้วย รวมถึงคนที่ได้เคยเข้าโครงการ Easy E-Receipt ไปแล้วยังสามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้หรือไม่นั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ยังสามารถเข้าร่วมโครงการฯ ได้ เนื่องจากโครงการ Easy E-Receipt เป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายในช่วงต้นปีระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ปิดไปแล้ว ไม่มีการเกี่ยวเนื่องกับโครงการเติมเงิน 10,000 บาทฯ
ส่วนที่เปลี่ยนจาก 70,000 บาทต่อเดือนเป็น 840,000 บาทต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการของทางกรมสรรพากรเท่านั้น ตัวเลขเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ร้านค้าร่วมเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท
ขยายความในประเด็นร้านค้าขนาดเล็ก กรณี 7-ELEVEN กับ Makro ถือว่าเป็นร้านค้าขนาดเล็กหรือไม่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังกล่าวว่า รายละเอียดนี้สุดท้ายต้องมีการ finalize อีกรอบ แต่ในเบื้องต้นร้านสะดวกซื้อลงมาคือร้านค้าขนาดเล็ก ส่วน Makro และห้างสรรพสินค้า แน่นอนว่าไม่รวมอยู่ด้วย
ด้าน เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า เหตุผลที่เลือกร้านค้าขนาดเล็กเพื่อให้กระจายอยู่ในพื้นที่ กระจายอยู่ในชุมชน และต้องการให้เกิดการหมุนในระบบเศรษฐกิจให้มากที่สุด
ส่วนของร้านที่ไม่สามารถใช้ได้ในรอบแรก จะไม่รวมห้างสรรพสินค้า ไม่รวมห้างค้าปลีก และค้าส่งขนาดใหญ่ ทั้งนี้จะรวมตั้งแต่ร้านค้าปลีกทุกประเภท และร้านสะดวกซื้อทั้งแบบ Stand Alone และแบบที่ตั้งอยู่ในสถานบริการน้ำมันลงมา เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนที่จะยกเว้นก็คือห้างค้าส่งขนาดใหญ่ ห้างค้าปีกขนาดใหญ่ ซุปเปอร์มาร์เก็ต และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
อ้างอิง - รัฐบาลไทย และ พรรคเพื่อไทย