เช็กเลย 100 ล้าน ยึดจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ปปง. แจ้งยื่นหลักฐานเอาเงินคืน

เช็กเลย 100 ล้าน ยึดจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ปปง. แจ้งยื่นหลักฐานเอาเงินคืน

อัปเดต เช็กเลย 100 ล้าน ยึดทรัพย์จากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ล่าสุด ปปง. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แจ้งผู้ตกเป็นเหยื่อผู้เสียหายยื่นหลักฐานเอาเงินคืน

กรณีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ "หลอกโอนเงิน" ซึ่งมีผู้เสียหายจำนวนมากต้องการเอาเงินคืนนั้น เซ็กล่าสุด สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๗ 

เรื่อง ให้ผู้เสียหายยื่นคําร้องขอคุ้มครองสิทธิจากการกระทําความผิดมูลฐาน

ด้วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ได้มีคําสั่งให้ยึดและอายัด ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดไว้ชั่วคราว (เพิ่มเติม) ในความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญาอันมีลักษณะเป็นปกติธุระ ความผิดฐานฟอกเงิน และสนับสนุนการกระทํา ความผิดในความผิดฐานฟอกเงิน รายนางสาวเดือนนภา แก้วกําเนิด กับพวก มีกําหนดไม่เกิน ๙๐ วัน (เก้าสิบวัน) นับตั้งแต่วันที่เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมีคําสั่ง

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. ๒๕๖๕ จึงขอให้ผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทําความผิดมูลฐานในรายคดีดังกล่าว

และไม่มีส่วนร่วมในการกระทําความผิดนั้น ยื่นคําร้องพร้อมหลักฐานแสดงรายละเอียดแห่งความเสียหาย และจํานวนความเสียหายที่ได้รับต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ภายใน ๙๐ วัน (เก้าสิบวัน) นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ รายละเอียดการยื่นคําร้อง ปรากฏตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้

ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๗

เอกสารยื่นสํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เรื่องให้ผู้เสียหายยื่นคําร้องขอคุ้มครองสิทธิจากการกระทําความผิดมูลฐาน กรณีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ 

หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคําร้อง

  1. ผู้มีสิทธิยื่นคําร้องฯ ต้องเป็นผู้เสียหายตามมาตรา ๔๙/๑ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. ๒๕๖๕ กล่าวคือ ต้องเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทํา ความผิดมูลฐานและไม่มีส่วนร่วมในการกระทําความผิดนั้น โดยควรมีเอกสารประกอบการพิจารณา ดังนี้
  • สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้เสียหาย
  • สําเนาคําสั่งหรือคําพิพากษาของศาลให้ได้รับคืนทรัพย์สินหรือได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทําความผิดมูลฐาน
  • หนังสือมอบอํานาจพร้อมติดอากรแสตมป์ (ถ้ามี)
  • สําเนาเอกสารหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้เสียหายและรายละเอียดแห่งความเสียหาย
  • สําเนารายการเคลื่อนไหวทางบัญชีธนาคาร (Bank Statement)
  • สําเนาหลักฐานการทําธุรกรรม เช่น สําเนาสัญญาการกู้ยืมเงินพร้อมหลักทรัพย์ค้ําประกันสัญญา
  • สำเนาใบน่าฝากเงิน สาเนาการโอนเงิน เป็นต้น
  • สําเนาคําให้การที่ให้ถ้อยคําต่อพนักงานสอบสวน (ถ้ามี)
  • สําเนาหลักฐานการฟ้องร้องดําเนินคดีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากการกระทําความผิดมูลฐาน หรือเอกสารการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดําเนินคดีอาญาในความผิดมูลฐาน
  • สําเนาเอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

2. วิธีการยื่นคําร้องฯ มี ๒ ช่องทาง ดังนี้
 - ยื่นด้วยตนเองที่สํานักงาน ปปง. เลขที่ ๔๒๒ ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

- ยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (จ่าหน้าซองไปที่ สํานักงาน ปปง. เลขที่ ๔๒๒ ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๓๐ โดยวงเล็บมุมซองด้านบนว่า “ส่งแบบคําร้องขอคุ้มครองสิทธิ รายคดีนางสาวเดือนนภา แก้วกําเนิด กับพวก”
ทั้งนี้ สามารถยื่นคําร้องขอคุ้มครองสิทธิด้วยตนเองหรือมอบ อํานาจให้บุคคลอื่นมาดําเนินการแทนก็ได้ (โดยมีหนังสือมอบอํานาจพร้อมติดอากรแสตมป์ ๓๐ บาท) และเอกสารทุกฉบับต้องรับรองสําเนาถูกต้อง

3. ระยะเวลายื่นคําร้องฯ
ภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 
อนึ่ง สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มคําร้องเพื่อขอให้ศาสนําทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดไปคืน หรือชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน ได้ที่เว็บไซต์สํานักงาน ปปง. www.amlo.go.th

เช็กเลย 100 ล้าน ยึดจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ปปง. แจ้งยื่นหลักฐานเอาเงินคืน

อ้างอิง - ราชกิจจานุเบกษา

กรณีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ รายนางสาวเดือนนภา แก้วกําเนิด กับพวก นั้น เหตุเมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 ตำรวจไซเบอร์ ร่วมกับ ปปง. ปิดล้อมตรวจค้น 7 จุด ในจังหวัดอุดรธานี และ กทม. ยึดทรัพย์เครือข่ายฟอกเงินเชื่อมโยงแก๊งคอลเซ็นเตอร์กว่า 100 ล้านบาท อ้างตัวเป็นพนักงานส่งพัสดุ โทรหาเหยื่อมีของผิดกฎหมายต้องส่งบัญชีธนาคารตรวจสอบเพื่อแสดงความบริสุทธิ์มีผู้เสียหาย 166 ราย

จากการตรวจค้นเจ้าหน้าที่ตรวจยึด รวมมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท

  1. รถปอร์เช่ คาเยนน์ 1 คัน มูลค่ากว่า 7 ล้านบาท 

  2. รถ จยย. LAMBRETTA รุ่น X300 สีเขียว มูลค่า 1.5 แสนบาท

  3. เงินไทย 439,000 บาท 

  4. เงินสกุลลาว 530,000 กีบ 

  5. นาฬิกาโรเล็กซ์ รุ่น SUBMARINER สีเขียวมูลค่า 3.2 แสนบาท 

  6. นาฬิกายี่ห้อ FRANCK MULLER รุ่น YACHTING สีน้ำเงินมูลค่า 3 แสนบาท 

  7. กระเป๋าแบรนด์เนมจำนวนมาก 

  8. โฉนดที่ดิน

  9. อสังหาริมทรัพย์ และอื่นๆ