ผู้สูงอายุ วัยเกษียณกินอาหารอย่างไร สุขภาพดี สายตาดี เงินช่วยเหลือได้กี่บ.
ผู้สูงอายุ วัยเกษียณเลือกกินอาหารอย่างไร? ให้สุขภาพดีร่างกายแข็งแรง สายตาดี มีแรงเดินเข้าสังคม จดจำลูกหลานได้ เตรียมตัวก่อนปี 2568 ไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ เช็กรัฐบาลจ่ายเงินช่วยเหลือล่าสุดกี่บาท เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ได้เงินเท่าไร เข้าเงินวันไหน
เตรียมความพร้อมวัยเกษียณอายุ "ผู้สูงอายุ" เลือกกินอาหารอย่างไร? ให้สุขภาพดีร่างกายแข็งแรง สายตาดี มีแรงเดินเข้าสังคม จดจำลูกหลานได้ เตรียมตัวก่อนปี 2568 ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ เช็กรัฐบาลจ่ายเงินช่วยเหลือล่าสุดกี่บาท "เบี้ยยังชีพผู้สูง" ตลอดทั้งปี 2567 ได้เงินเพิ่มเติมเท่าไร? เข้าเงินบัญชีวันไหน
เป็นที่รู้กันดีแล้วว่าในปี 2568 ที่จะถึงนี้ ประเทศไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุแบบเต็มสมบูรณ์ โดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) คาดการณ์ว่า จะมีจำนวนผู้สูงอายุประมาณ 14.4 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นเกิน 20% ของประชากรทั้งหมด
ที่สำคัญ "อาหาร" ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องดูแลผู้สูงอายุ คนแก่ให้มาก เพราะจะมีการปรับเปลี่ยนทางร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการกลืนอาหาร เคี้ยวอาหารยากขึ้น ฟันผุ ฟันหลุดตามวัยอันควร ทำให้อาหารที่กินเข้าไป ต้องเป็นอาหารที่ย่อยง่าย และมีแคลเซียมสูงเหมาะสมกับการเสริมสร้างร่างการในวัยนี้
จากรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 – 2563 พบว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป เลือกกินผักและผลไม้ลดลง และกินผักผลไม้เพียงพอ (มากกว่าหรือเท่ากับ 5 ส่วนต่อวัน) เพียงร้อยละ 34.8
รวมทั้งกินเนื้อสัตว์และนม น้อยกว่าความต้องการของร่างกาย ทำให้ได้รับพลังงาน วิตามิน และแร่ธาตุไม่เพียงพอ โดยเฉพาะแคลเซียม ธาตุเหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซี
ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีภาวะผอม กล้ามเนื้อลีบ ความแข็งแรงของกระดูกลดลง เพิ่มความเสี่ยงการพลัดตกหกล้ม และหากมีความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมร่วมด้วย จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
ดร.นพ.สราวุฒิ บุญสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 1 กล่าวว่า ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มวัยที่เปราะบาง มีความเสี่ยงเจ็บป่วยได้ง่าย ร่างกายเริ่มมีความเสื่อมถอยของระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น การรับกลิ่นและรสชาติเปลี่ยนไป มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน มีภาวะกลืนลำบาก เบื่ออาหาร
ความสามารถในการดูดซึมสารอาหารและเคลื่อนไหวลำไส้ลดลง เกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผู้สูงอายุบริโภคอาหารได้น้อยลง นำไปสู่การเกิดปัญหาภาวะทุพโภชนาการและเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการกินอาหารที่เพียงพอและเหมาะสมตามวัย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่การมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
ผู้สูงอายุ วัยเกษียณเลือกกินอาหารอย่างไร? ให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง สายตาดี มีแรงเดินเข้าสังคม จดจำลูกหลานได้
การเลือกกินอาหาร "กินดี"
- ควรกินข้าว-แป้งวันละ 7-9 ทัพพี ผักวันละ 4 ทัพพี
- ผลไม้วันละ 1-3 ส่วน
- เนื้อสัตว์วันละ 6-8 ช้อน
- ดื่มนมวันละ 1-2 แก้ว
- กินอาหารแบบอ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย รสไม่จัด
- กินอาหารที่ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ นม ตับ เลือด ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วเมล็ดแห้ง ผักใบเขียว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เป็นต้น
การเลือกกินอาหาร บำรุงสายตา "ตาดี"
กินอาหารที่ช่วยในการทำงานของจอประสาทตา และชะลอการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม ได้แก่
- ผักผลไม้สีเหลืองส้ม ผักใบเขียว
- ปลาที่มีกรดไขมันดี
- ถั่วเมล็ดแห้ง
- ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่
การเลือกกินอาหารให้มีแรงเดินทำกิจกรรมเข้าสังคมได้
- กินอาหารที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและชะลอการเสื่อมของกระดูก ได้แก่
- เนื้อปลา
- เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
- ไข่
- นม
- ปลาเล็กปลาน้อย
- เต้าหู้
- ผักใบเขียวเข้ม
- ธัญพืชไม่ขัดสี
- ถั่วเมล็ดแห้ง
ที่สำคัญไปกว่านั้นควรรับประทานอาหารพร้อมกันทั้งครอบครัว เพื่อสร้างความอบอุ่นทางจิตใจให้ผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7-9 ชั่วโมง มีการเคลื่อนไหวร่างกาย หมั่นฝึกสมอง เข้าสังคม พบปะพูดคุย และตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพต่างๆได้
เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โอนเงินวันไหน ได้เงินกี่บาท?
- เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดือนกรกฎาคม 2567 จะจ่ายแบบขั้นบันได
- ผู้สูงอายุอายุ 60-69 ปี รับเบี้ยยังชีพจำนวน 600 บาท
- ผู้สูงอายุอายุ 70-79 ปี 700 บาท
- ผู้สูงอายุอายุ 80-89 ปี 800 บาท
- ผู้สูงอายุอายุ 90 ปีขึ้นไป 1,000 บาท
ตารางจ่ายเงินเบี้ยผู้สูงอายุ 2567
- เดือนกรกฎาคม : วันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567
- เดือนสิงหาคม : วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567
- เดือนกันยายน : วันอังคารที่ 10 กันยายน 2567
- เดือนตุลาคม : วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567
- เดือนพฤศจิกายน : วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567
- เดือนธันวาคม : วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2567
อ้างอิง : กรมอนามัย