Be the Change: Sustainable in Everyday Life ‘ยั่งยืน’ ได้เมื่อเรา ‘เปลี่ยน’

Be the Change: Sustainable in Everyday Life ‘ยั่งยืน’ ได้เมื่อเรา ‘เปลี่ยน’

‘The People’ ขนทัพภาครัฐและเอกชนร่วมขับเคลื่อนสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคต ในงาน Be the Change: Sustainable in Everyday Life ‘ยั่งยืน’ ได้เมื่อเรา ‘เปลี่ยน’

‘The People’ สื่อรุ่นใหม่ที่นำเสนอเรื่องราวของ ‘คน’ แบบเจาะลึกในทุกแง่มุม ดำเนินการจัดงาน ‘Be the Change’ ภายใต้แนวคิด ‘Sustainable in Everyday Life’ ยั่งยืนได้เมื่อเราเปลี่ยน เพื่อเป็นอีกแรงสนับสนุนให้ผู้คนที่สนใจเรื่อง ‘ความยั่งยืน’ มาร่วมเปลี่ยนไปด้วยกัน พร้อมทำให้เห็นว่า ‘ทางเลือก’ ของการใช้ชีวิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสามารถทำได้ทุกวัน ทุกภาคส่วน ตั้งแต่ ‘เมือง x พลเมือง x หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง x ภาคธุรกิจ’

 

อนันต์ ลือประดิษฐ์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์และต้อนรับผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ไว้ว่า ‘มนุษย์เราต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอไม่ว่าจะอยู่ในยุคใด ในปัจจุบันเรารับทราบโดยทั่วกันว่าโลกของเรามีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ก็คงถึงเวลาที่เราต้องเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงนี้ไปพร้อมกัน’

จากนั้น นายพรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร ขึ้นกล่าวเปิดงานในหัวข้อ ‘Sustainable City พัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน’ โดยกล่าวว่า โจทย์สำคัญของกรุงเทพมหานครวันนี้ คือการทำให้เมืองเป็นเมืองที่น่าอยู่และเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเน้นการพัฒนาให้คนกรุงเทพฯ สามารถเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนสาธารณะได้อย่างไร้รอยต่อ

‘วันนี้ คนใช้รถไฟฟ้า แต่จะกลับบ้านต้องต่อวินมอเตอร์ไซค์ หรือทางเท้ามีปัญหา เพราะถ้าเส้นเรื่องหลักดี แต่เส้นเลือดฝอยไม่ดี คนก็จะไม่ใช้ขนส่งสาธารณะ’

เข้าสู่เซกชั่นที่สองที่ได้วิทยากร 4 คน 4 ด้าน มาร่วมแบ่งปันไอเดียการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนในหัวข้อ ‘Small Changes in Everyday Life พลังเล็กที่เปลี่ยนโลก’ ที่ชวนพวกเราหาแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตในแต่ละวันเล็กๆ น้อยๆ ไปกับ Mission ด้านความยั่งยืนของ Little Big People และตัวแทนผู้ประกอบการขนาดย่อมที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อมดีขึ้น

Be the Change: Sustainable in Everyday Life ‘ยั่งยืน’ ได้เมื่อเรา ‘เปลี่ยน’

 

เริ่มกันด้วย Speaker คนแรก ‘วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล’ นักทำสารคดี นักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ขึ้นบนเวทีเล่าถึงภาพรวมของปัญหาในเชิงโครงสร้าง ที่จะกำหนดเป็นนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ในหัวข้อ ‘การจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงโครงสร้าง’ เพื่อชี้ชวนให้เรามาทำความเข้าใจและเห็นความสำคัญ รวมถึงอัปเดตความคืบหน้าของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมากระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคน ด้วยความเป็นนักสารคดีที่ทำให้ไปเยือนในประเทศที่น้อยคนนักจะได้ไปและส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ได้พบเห็นสิ่งที่มนุษย์กระทำต่อกันอย่างเลวร้ายมามากมาย

แต่สุดท้ายเขาได้ข้อสรุปว่า ‘ไม่มีปัญหาไหนใหญ่กว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคสมัยนี้ เพราะไม่มีอะไรไม่เกี่ยวข้องกัน ปัญหาของโลกก็คือปัญหาของมนุษย์เช่นกัน’ จึงทำให้เขาหันมาให้ความสนใจสื่อสารในประเด็นสิ่งแวดล้อม แต่เพียงแค่สื่อสารเรื่องนี้ต่อสังคมอาจไม่เพียงพอต้องเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ซึ่งทำให้เขาได้มีโอกาสเข้าไปร่วมเป็นที่ปรึกษาในคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม โดยกล่าวสรุปว่า การเริ่มต้นด้วยตัวเองอาจไม่พอต้องมีกลไกทางสังคมและภาครัฐเข้ามามีบทบาท ‘การเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นด้วยตัวเอง แต่ต้องไปจบที่สภา’

 

Be the Change: Sustainable in Everyday Life ‘ยั่งยืน’ ได้เมื่อเรา ‘เปลี่ยน’

 

ต่อกันด้วย ‘ลุงรีย์ - ชารีย์ บุญญวินิจ’ Earth Creator และผู้บุกเบิก ‘ฟาร์มลุงรีย์’ (UncleRee Farm) ที่ขึ้นมาพูดในหัวข้อ ‘เรื่องระหว่างทางจาก Food Waste กว่าจะผุดเป็น Good Taste’ เขาย้อนกลับไปเล่าถึงจุดเริ่มเต้นทำให้เกิดฟาร์มแห่งนี้ โดยมาจากพื้นฐานความสนใจด้านศิลปะและงานเซรามิก ทำให้หลงรักเรื่องดิน จนขยายมาสู่ความสนใจด้านเกษตรเพื่อต้องการสร้างมูลค่าให้กับสิ่งที่เกิดขึ้นงอกเงยจากดิน จึงได้มาก่อตั้ง UncleRee Farm ฟาร์มเกษตรคนเมืองในวัย 26 จนปัจจุบันเข้าสู่ปีที่ 10 จากการเริ่มต้นเลี้ยงไส้เดือนเพื่อให้เกิดเป็นปุ๋ยแล้วนำมาเพาะเห็ด ซึ่งจะทำให้เขาสามารถพึ่งพาตัวเองและได้กลับมาอยู่บ้านและครอบครัว ประกอบกับการได้ศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่นเรื่องการจัดการอาหารเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกส่วนของวัตถุดิบมาพัฒนาฟาร์มแห่งนี้สานต่อสู่ธุรกิจร้านอาหารในชื่อ ‘โอมากาเห็ด’ ที่มียอดจองคิวอย่างต่อเนื่อง

โดยเขากล่าวสรุปถึงแนวคิดในการขับเคลื่อนอย่างยั่งยืนในแง่ธุรกิจต่อไปในอนาคตของเขาไว้ว่า ‘ธุรกิจที่ทำแล้วมีคนอื่นที่ได้เกิด’ โดยเขาได้จับมือกับชุมชนและคนโดยรอบฟาร์มบริเวณเพชรเกษม 46 เพื่อพัฒนาในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมต่อไปกับแนวทาง ‘คิดใหม่ คิดให้เรื่องเล็กเปลี่ยนโลก’


มาต่อที่ ‘ภูมิ - ภาคภูมิ โกเมศโสภา’ ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน Co-Founder Reviv (รีไวฟ์) และแพลตฟอร์ม Wonwon Startup คนรุ่นใหม่ที่ชวนพวกเรามาส่งเสริมวัฒนธรรมการซ่อมเสื้อผ้าให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ขึ้นมาพูดในหัวข้อ ‘การซ่อมจะทำให้สังคมดีขึ้นได้อย่างไร แล้วทำไมสินค้าปัจจุบันถึงพังเร็ว ซ่อมยาก?’ Reviv (รีไวฟ์) คือกลุ่มผู้บริโภคที่มารวมกันเพื่อส่งเสริมในเรื่องของการซ่อมและการใช้ซ้ำในสังคมไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยหลักการของ Circular Economy การซ่อมจะเป็นการรักษามูลค่าของสิ่งของไว้ได้มากที่สุด ซึ่งผู้บริโภคในหลายๆ ประเทศก็หันมาเรียกร้อง ‘สิทธิในการซ่อม’ กันมากขึ้น สำหรับ 3 โปรเจคที่กลุ่ม Reviv (รีไวฟ์) ได้ทำอยู่ประกอบด้วย Repairability Index, WonWon Platform และ Repair Cafe ซึ่งหวังว่าจะสามารถสร้างวัฒนธรรมการซ่อมให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านในเชิงโครงสร้างต่อไป


ปิดเซกซั่นด้วยการพาล่องเรือชมทิวทัศน์ท่องเที่ยวกันแบบไม่สร้างมลพิษไปกับ Speaker คนสุดท้าย ‘ซัน - ศิระ ลีปิพัฒนวิทย์’ ผู้ประกอบรายเล็กเจ้าของธุรกิจ ‘เรือไฟฟ้าสุขสำราญ’ ธุรกิจเรือนำเที่ยวคลองย่านฝั่งธนฯ กับหัวข้อ ‘Zero Waste Trip ชวนเที่ยวคลองด้วยเรือไฟฟ้าแบบไม่สร้างขยะ’ เขากล่าวว่า ได้เริ่มต้นธุรกิจเล็กๆ แห่งนี้เพราะต้องการเลี้ยงลูกและสามารถหารายได้ไปด้วย แม้อยู่ที่บ้านก็ตาม ด้วยความที่ได้สัมผัสวิถีชีวิตริมน้ำบริเวณคลองบางหลวงมาตั้งแต่เด็กๆ ความประทับใจและความผูกพันที่เกิดขึ้นในวันนั้นได้กลายมาเป็นธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อต้อนรับนักเดินทางที่ใส่ใจเรื่องความยั่งยืนทั้งไทยและต่างประเทศส่งมอบความสุขให้กับผู้มาเยือนด้วยรอยยิ้ม

แต่พบว่าการท่องเที่ยวที่เน้นปริมาณอย่างเดียวสร้างปัญหาและขยะให้กับสายน้ำใหักับย่านนี้ เขาจึงเกิดความต้องการสร้างโมเดลการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบที่จะส่งต่อสายน้ำที่มีคุณภาพให้กับลูกหลานของชุมชนต่อไป ซึ่งน่าดีใจว่าหลังจากที่ลูกค้าได้ท่องเที่ยวกับเขาหลายคนเมื่อกลับมาอีกครั้งได้เตรียมพาชนะที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีกเพื่อทดแทนการใช้พลาสติก โดยเขากล่าวทิ้งท้ายว่า ‘เทรนด์เรื่องสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ใครที่ทำธุรกิจแล้วพลาดการจับเทรนด์เรื่องนี้อนาคตก็อาจไม่สดใส และ แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ของแต่ละคนจะไม่อาจหยุดยั้งวิกฤติสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในตอนนี้ได้ แต่ทุกๆ การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ล้วนเริ่มต้นจากตัวเอง’

 

Be the Change: Sustainable in Everyday Life ‘ยั่งยืน’ ได้เมื่อเรา ‘เปลี่ยน’


หลังจากนั้นส่งมอบเวทีให้กับ หนุ่ย - พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ขึ้นมาดำเนินรายการต่อ ซึ่งเป็นการเสวนาที่เชิญภาคเอกชน 4 อุตสาหกรรมที่แตกต่างกันขึ้นมาร่วมพูดคุยในหัวข้อ ‘MISSION to SUSTAINABILITY การขับเคลื่อนจากภาคธุรกิจ ที่ดำเนินนโยบายอย่างยั่งยืน’ โดยได้ผู้บริหารจากองค์กรชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงแนวคิดและการสร้างผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืนมาแบ่งปันเป้าหมายและถึงเล่าเบื้องหลังการ ‘เปลี่ยน’ ผ่านทั้งภายในองค์กร และภายนอก ชุมชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ให้ยั่งยืนไปด้วยกันประกอบด้วย


ปัณวรรธน์ นิลกิจศรานนท์ รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายวิศวกรรมโครงสร้าง บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ตัวแทนจากภาคพลังงาน กล่าวว่า ความท้าทายสำหรับธุรกิจพลังงานต้องเผชิญกับคำว่า Energy Trilemma ทางแยกสามทางที่ยากลำบากในการตัดสินใจระหว่างการผลิตพลังงานที่สะอาด, การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยราคาพลังงานที่เข้าถึงได้ และความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งยังไม่สามารถทำทั้งหมดไปด้วยกันได้ สิ่งที่เชฟรอนกำลังทำคือการพัฒนาเทคโนโลยีที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ ‘ทางออกที่โลกนี้ต้องทำ คือเทคโนโลยีเพื่อทำให้พลังงานทางเลือกมีราคาถูกลงหรือทำให้การผลิตพลังงานปล่อยคาร์บอนน้อย จึงจะทำให้สามเหลี่ยมความท้าทายขยับเข้ามาใกล้กันได้’

สมัชชา พรหมศิริ Chief of Staff บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ตัวแทนจากภาคอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ความยั่งยืนคือการทำให้ธุรกิจสร้างสมดุลระหว่างการกำไรตอบแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างเหมาะสม โปร่งใสและการสร้างอิมแพคให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ซึ่งผลพลอยได้ก็คือการทำให้มีคนรุ่นใหม่อยากมาร่วมงานด้วย เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค รวมไปถึงการบริหารความเสี่ยงขององค์กรด้วยเช่นกัน ในการบริหารงานในด้านความยั่งยืนเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของโลก สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่อยู่ใน scope 3 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ ความท้าทายของการบริหารธุรกิจคือการเน้นย้ำในส่วนโปรดักซ์ที่ส่งมอบให้กับลูกค้า ด้วยการตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2050 ที่จะสร้าง Netzero Home ขับเคลื่อนผ่าน 3 กลยุทธ์ ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว, การก่อสร้างนวัตกรรมเพื่อโลก และการออกแบบและสถาปัตกรรมธรรมชาติ

อารภัฏ สังขรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด ตัวแทนจากภาคการเงิน กล่าวว่าเป็นธุรกิจหลักทรัพย์ที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเน้นในการหาแหล่งลงทุนให้กับธุรกิจต่างๆ สำหรับคำนิยามของความยั่งยืนในมุมมองสถาบันการเงินคือการ ‘Democratize Investing’ ที่ต้องการให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนให้มากขึ้น ด้วยการวางแนวทางเพื่อเปลี่ยนมายเซตให้กับคนภายในองค์กรในการสร้างผลลัพธ์ทางสังคม, ปรับเปลี่ยนโปรดักซ์เพื่อเข้าถึงคนในวงกว้างขึ้นด้วยทำให้เข้าถึงง่ายและเหมาะกับคนใช้งานหน้าใหม่ ผ่านแอป MayBank Invest ‘หน้าที่ของเมย์แบงค์ต้องการช่วยถ่ายทอดการสร้างความรู้ด้านการลงทุนให้กับพนักงานในบริษัทต่างๆ สถาบันการนักศึกษา และออนไลน์’

ณัษฐพงษ์ ธรรมฉัตรพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ธรรมฉัตร เอ็นเตอร์ไพรส์ จํากัด ผู้ผลิตภัณฑ์แบรนด์ฟรอลิน่า กล่าวว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอ ส่งผลทางลบในเชิงเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะวัตถุดิบหลัก เช่น ฝ้ายนั้นต้องใช้น้ำจำนวนมากในกระบวนการผลิต นอกจากวัสดุที่ทำให้ต้นทุนการทำสินค้าเพื่อให้กลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง ยังต้องคำนึงถึงกระบวนผลิต การจัดจำหน่าย และร้านค้าปลีก ซึ่งส่งผลต่อ carbon footprint ทั้งนี้แพสชันของคนทำงานและการทำเพื่อสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่ CSR แต่จำเป็นต้องอยู่ทุกๆ กระบวนการคือหัวใจสำคัญของผลิตภัณฑ์จากฟรอลิน่า ‘หลายๆ อย่างที่เราทำ ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อมและกำไรที่มากขึ้น ผมคิดว่าคนทำอาจจะยังไม่เข้าใจ สิ่งที่เราทำ คือ รับฟัง เริ่มทำจากเรื่องใกล้ตัว พอทำไปเรื่อยๆ มี zero waste การลดพลังงาน มันก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราพัฒนาและโฟกัสในสิ่งนี้ต่อไปได้’

งานในครั้งนี้ The People ได้รับความร่วมมือจากแบรนด์ชั้นนำในภาคธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น ‘แสนสิริ’ แบรนด์อสังหาฯ อันดับ 1 ผู้นำด้านดีไซน์และคุณภาพการบริการ อสังหาฯ รายแรกตั้งเป้า Net - Zero, ‘Maybank Securities Thailand’ บริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำระดับอาเซียน ที่ให้บริการด้านการลงทุนครบวงจรภายใต้แนวคิดที่มุ่งเน้นให้นักลงทุนมีความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน, ‘ฟรอลิน่า’ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผ้าขนหนูและชุดเครื่องนอนนวัตกรรมจากธรรมชาติ ที่มี ‘ความยั่งยืน’ เป็นหัวใจหลักในการพัฒนาสินค้าและบริการ, บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA ผู้นำองค์กรแห่งยางสีเขียวแบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดของโลก ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด ‘Green Rubber Company’ และ บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ STGT ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายถุงมือยางอันดับ1ของไทย ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด ‘Clean World Clean Gloves’ โดยกลุ่มบริษัทศรีตรังให้ความสำคัญและมุ่งเน้นการสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ พร้อมทั้งมุ่งส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนในระดับสากล

 

Be the Change: Sustainable in Everyday Life ‘ยั่งยืน’ ได้เมื่อเรา ‘เปลี่ยน’

 

โดยในบริเวณงานได้รับความร่วมมือจากพาร์ตเนอร์ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มาร่วมขับเคลื่อนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน อาทิ 

  • ‘สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร’ เปิดรับบริจาคเสื้อผ้าและสิ่งของมือสองคุณภาพดี กับโครงการ ‘สายแฟ(ชั่น) แคร์โลก และแนะนำโครงการ ‘ไม่เทรวม’ เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะในแหล่งกำเนิดต่างๆ ตั้งแต่ต้นทาง พร้อมได้เล่นเกมสอนการคัดแยกขยะแบบสนุกๆ ด้วยกัน 

 

  • ‘Recycle Day Thailand’ แพลตฟอร์มช่วยจัดการขยะที่จริงใจและครบวงจร สำหรับทั้ง B2C และ B2B

 

  • ‘UncleRee Think’ สินค้า บริการใหม่แบบ Upcycling และกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจาก Lessplasticable โดยลุงรีย์ UncleRee Farm

 

  • ‘Reviv’ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ส่งเสริมการซ่อมแซมเสื้อผ้าของคนรุ่นใหม่ ผู้ก่อตั้งแอปพลิเคชั่น ‘วนวน’ (WonWon) แพลตฟอร์มที่จะช่วยให้คนไทยหาร้านซ่อมเสื้อผ้าได้ง่ายขึ้น

 

  • ‘แมวกินปลา’ แพลตฟอร์มคนกลางจำหน่ายเนื้อปลาทะเลปลอดสารส่งทั่วไทย ที่เป็นดั่งจุดเชื่อมต่อระหว่างผู้คน สุขภาพ และท้องทะเล (จัดการของเหลือ เศษของเหลือจากการตัดแต่งปลา ถูกส่งต่อไปเปลี่ยนเป็น น้ำหมักปุ๋ยปลา เพื่อใช้ในสวนปาล์ม)

 

  • ‘Raakdin’ เครื่องย่อยเศษอาหารอัตโนมัติ เพื่อให้ขยะเหล่านั้นไม่ตกเป็นภาระของส่วนรวม และเป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศ

 

  • ‘The Farmer’ แพลตฟอร์มสื่อสารการเกษตร เพื่อความยั่งยืนของเกษตรกรไทย ที่จะนำตัวอย่างผลงานของเกษตรกรในเครือข่าย ‘กระเป๋าและผลิตภัณฑ์จักสานทำมือจากกระจูด’ มาร่วมออกร้าน

 

Be the Change: Sustainable in Everyday Life ‘ยั่งยืน’ ได้เมื่อเรา ‘เปลี่ยน’

 

Be the Change: Sustainable in Everyday Life ‘ยั่งยืน’ ได้เมื่อเรา ‘เปลี่ยน’

 

Be the Change: Sustainable in Everyday Life ‘ยั่งยืน’ ได้เมื่อเรา ‘เปลี่ยน’

 

Be the Change: Sustainable in Everyday Life ‘ยั่งยืน’ ได้เมื่อเรา ‘เปลี่ยน’

 

Be the Change: Sustainable in Everyday Life ‘ยั่งยืน’ ได้เมื่อเรา ‘เปลี่ยน’

 

Be the Change: Sustainable in Everyday Life ‘ยั่งยืน’ ได้เมื่อเรา ‘เปลี่ยน’

 

Be the Change: Sustainable in Everyday Life ‘ยั่งยืน’ ได้เมื่อเรา ‘เปลี่ยน’

 

Be the Change: Sustainable in Everyday Life ‘ยั่งยืน’ ได้เมื่อเรา ‘เปลี่ยน’

 

Be the Change: Sustainable in Everyday Life ‘ยั่งยืน’ ได้เมื่อเรา ‘เปลี่ยน’

 

Be the Change: Sustainable in Everyday Life ‘ยั่งยืน’ ได้เมื่อเรา ‘เปลี่ยน’