กทม. - 10 จังหวัด ลุ่มน้ำเจ้าพระยา น้ำขึ้น 1 เมตร อ่างเก็บน้ำ 29 แห่ง เกินความจุ

กทม. - 10 จังหวัด ลุ่มน้ำเจ้าพระยา น้ำขึ้น 1 เมตร อ่างเก็บน้ำ 29 แห่ง เกินความจุ

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตือน 10 จังหวัด ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และกทม. เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด หลังมีฝนตกหนักในระยะนี้ ถึง 31 ก.ค. 67 เตรียมรับมือน้ำขึ้นสูงขึ้นกว่า 1 เมตร หลังเริ่มระบายน้ำท้ายเขื่อน ล่าสุด พบอ่างขนาดกลาง 29 แห่ง เกินความจุ

ประกาศเตือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แจ้ง 10 จังหวัด ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และกทม. เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด หลังมี"ฝนตกหนัก"ในระยะนี้ ถึง 31 ก.ค. 67 เตรียมรับมือน้ำขึ้นสูงขึ้นกว่า 1 เมตร หลังเริ่มระบายน้ำท้ายเขื่อน ล่าสุด พบอ่างขนาดกลาง 29 แห่ง เกินความจุ

กทม. - 10 จังหวัด ลุ่มน้ำเจ้าพระยา น้ำขึ้น 1 เมตร อ่างเก็บน้ำ 29 แห่ง เกินความจุ

10 จังหวัด ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

  1. อุทัยธานี
  2. ชัยนาท
  3. สิงห์บุรี
  4. อ่างทอง
  5. สุพรรณบุรี
  6. พระนครศรีอยุธยา
  7. ลพบุรี
  8. ปทุมธานี
  9. นนทบุรี
  10. สมุทรปราการ

รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ให้เฝ้าระวังและติดตามระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่เพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป โดยให้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด  พร้อมประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัท ห้างร้าน และผู้ประกอบกิจการ รวมถึงประชาขนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำให้เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ 

โดยในช่วงวันที่ 24 - 31  กรกฎาคม 2567 ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ และจากการคาดการณ์ปริมาณน้ำล่วงหน้า 1 – 3 วันข้างหน้า พบว่าปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น 

โดยวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 ที่สถานี C.2 อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน ประมาณ 1,200 – 1,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และลำน้ำสาขาประมาณ 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้ปริมาณน้ำที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา มีปริมาณระหว่าง 1,500 – 1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที 

และรับน้ำเข้าระบบกรมชลประทาน 2 ฝั่ง ในอัตรา 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จึงมีความจำเป็นต้องระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 800 – 1,100  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณคลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (แม่น้ำน้อย) มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 0.80 - 1.10 เมตร ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป โดยไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน 

อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 29 แห่งเกินความจุ 

สถานการณ์ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ พบว่า อ่างขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำไหลเข้าเป็นจำนวนมากคือ เขื่อนอุบลรัตน์ โดยสัปดาห์ที่ผ่านมามีน้ำไหลเข้าสะสมมากถึง 300 ล้านลบ.ม. พร้อมกันนี้ ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการเตรียมพร่องปริมาณน้ำในอ่างฯ ต่างๆ อย่างเหมาะสม รวมถึงอ่างขนาดกลาง ขณะนี้มีปริมาณน้ำเกินความจุ จำนวน 29 แห่ง