เช็กเงินดิจิทัล 10000 ล่าสุด แอป ทางรัฐ หลัง 1 ส.ค. อัปเดตสถานะลงทะเบียน

เช็กเงินดิจิทัล 10000 ล่าสุด แอป ทางรัฐ หลัง 1 ส.ค. อัปเดตสถานะลงทะเบียน

เกาะติดทุกความเคลื่อนไหว เช็กเงินดิจิทัล 10000 ล่าสุด แอป ทางรัฐ หลัง 1 ส.ค. อัปเดตสถานะลงทะเบียน การยืนยันตัวตน

ยังอยู่ในกระแสความสนใจ ตรวจสอบเช็ก"เงินดิจิทัล 10000 ล่าสุด" หรือการแจกเงินดิจิตอล 10,000 บาท ของรัฐบาล ผ่าน แอปพลิเคชั่น "ทางรัฐ" นัดลงทะเบียน 1 ส.ค. 2567 หลังจากนั้นให้อัปเดตสถานะลงทะเบียน การยืนยันตัวตน 

วันนี้ 2 ส.ค. 2024 นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยความคืบหน้าโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิตัลวอลเล็ต Digital Wallet ที่เปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่เวลาแปดโมงเช้าของวันที่ 1 ส.ค. ล่าสุดถึงเมื่อเวลา 8.00 น. ของวันที่ 2 ส.ค. 2567 หรือผ่านไปประมาณ 24 ชั่วโมง มีประชาชนผู้ลงทะเบียนในระบบผ่นแอป ทางรัฐ เพื่อขอรับสิทธิ์รับแจกเงินดิจิตอล 10000 แล้วประมาณ 18.8 ล้านคน ล่าสุดเกิน 20 ล้านคนแล้ว ซึ่งระบบจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนตลอด 24 ชั่วโมง ไปจนถึงวันที่ 15 ก.ย. 2567

เช็กด่วน เงินดิจิทัล 10000 ล่าสุด

นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10000 ประชาชนลงทะเบียนแอป ทางรัฐ ได้สำเร็จเกิน 18 ล้านคนแล้ว จากทั้งหมด 5 ขั้นตอน ซึ่งคนที่ลงทะเบียนผ่านจะอยู่ที่ขั้นตอนที่ 3 รอการตรวจสอบจากทะเบียนราษฎร สังกัดกระทรวงมหาดไทย

เช็กเงินดิจิทัล 10000 ล่าสุด แอป ทางรัฐ หลัง 1 ส.ค. อัปเดตสถานะลงทะเบียน

ย้ำผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ต้องลงทะเบียน “ดิจิทัลวอลเล็ต” ก่อนรับสิทธิ์เติมเงิน 10,000 บาท

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า กรณีที่ข่าวบิดเบือน เรื่องผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet และกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะได้รับเงินดิจิทัลโอนเข้าบัตรประชาชนโดยอัตโนมัตินั้น ขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง

ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่มีจำนวน 14.98 ล้านคนทั่วประเทศ จะต้องลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ โดยหากอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีสมาร์ตโฟน สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ถึงวันที่ 15 กันยายน 2567 โดยสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” 

 

อัปเดตจากหน่วยงานรัฐ อย่าง กรมประชาสัมพันธ์ ชี้แจงสงสัยโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต  ขั้นตอนการลงทะเบียนของประชาชนผ่านแอปฯ ทางรัฐ หลังวันที่ 1 ส.ค. 2024 “ทางรัฐ” เป็นซูเปอร์แอปของภาครัฐที่พัฒนาขึ้นเพื่อเชื่อมโยงบริการจากหน่วยงานต่าง ๆ

ประชาชน สามารถติดต่อราชการผ่านช่องทางออนไลน์ได้ในแอปเดียว พัฒนาโดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ”

ค้นหาคำว่า “ทางรัฐ” ได้ทั้งระบบ IOS และ Android

  • สมาร์ทโฟน อย่าง ไอโฟน IOS ผ่าน App Store
  • สมาร์ทโฟน หลายยี่ห้อดัง ใช้ Android ผ่าน Google Play 

คำถามที่พบบ่อย (FAQ) เกี่ยวกับระบบลงทะเบียนประชาชน สำหรับเข้าร่วมโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ที่แอปพลิเคชัน ทางรัฐ Government Super App

ขั้นตอนการลงทะเบียนประชาชนสำหรับเข้าร่วมโครงการ ดำเนินการได้อย่างไร
- ประชาชนสามาถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ผ่าน แอปพลิเคชันทางรัฐ ดำเนินการพิสูจน์และยืนยันตัวตน (KYC) ผ่านแอปพลิเคชันทางรัฐโดยดำเนินการตามกระบวนการของแอปพลิเคชันทางรัฐ โดยก่อนวันที่ 1 สิงหาคม 2567 ประชาชนสามารถดำเนินการพิสูจน์และยืนยันตัวตน (KYC) ได้ หลังจากวันที่ 1 สิงหาคม 2567 ประชาชนสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ผ่านแอปพลิเคชันทางรัฐ 
 

  • ขั้นตอนการลงทะเบียนรับสิทธิกรณีที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกของแอปพลิเคชันทางรัฐ
    - คลิกปุ่ม "ลงทะเบียนรับสิทธิโครงการฯ" ที่หน้าแรกของแอปพลิเคชันทางรัฐ
  • อ่านและยอมรับเงื่อนไขโครงการ
    - กรอกข้อมูลส่วนบุคคลให้ตรงตามบัตรประชาชนดำเนินการตามคำแนะนำเพื่อถ่ายรูปใบหน้าเพื่อใช้ในการยืนยันอัตลักษณ์ ระบบจะรับข้อมูลเพื่อตรวจสอบกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ และแจ้งผลการตรวจสอบผ่านแอปพลิเคชันทางรัฐ ในขั้นตอนนี้สามารถปิดหน้าจอ และกลับเข้ามาตรวจสอบสถานะได้ภายหลัง
    - กรณีที่ข้อมูลส่วนบุคคล หรือผลการแสกนหน้าไม่ตรงกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ระบบจะแสดงข้อแนะนำเพื่อให้ปฏิบัติตามแก้ไขและดำเนินการอีกครั้ง
    - เมื่อการตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล หรือผลการแสกนหน้าถูกต้องสมบูรณ์ ระบบจะแสดงหน้าจอให้กรอกข้อมูลเพื่อสร้างบัญชีผู้ใช้ บัญชีผู้ใช้, รหัสผ่าน และ PIN ถึงขั้นตอนนี้ถือว่าการลงทะเบียนเข้าโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท เสร็จสิ้น
    - ระบบจะนำข้อมูลส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสิทธิตามเงื่อนไข และสามารถกลับเข้ามาตรวจสอบสถานะได้โดยใช้ข้อมูลบัญชีผู้ใช้ที่สร้างไว้
     
  • ขั้นตอนการลงทะเบียนรับสิทธิกรณีที่เป็นสมาชิกของแอปพลิเคชันทางรัฐ
    - คลิกปุ่ม "ลงทะเบียนรับสิทธิโครงการฯ" ที่หน้าแรกของแอปพลิเคชันทางรัฐ กดอนุญาตให้แอปพลิเคชันเข้าถึงส่วนบุคคล ระบบอาจให้แสกนหน้าเพื่อยืนยันอัตลักษณ์ หรือกรอกเบอร์โทรศัพท์ในกรณีที่ข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกยังไม่สมบูรณ์
     
  • อ่านและยอมรับเงื่อนไขโครงการฯ
    - ถึงขั้นตอนนี้ถือว่าการลงทะเบียนเข้าโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทเสร็จสิ้นระบบจะนำข้อมูลส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสิทธิตามเงื่อนไขของโครงการฯ และสามารถกลับเข้ามาตรวจสอบสถานะได้โดยใช้ข้อมูลบัญชีผู้ใช้

     
  • จำเป็นต้องลง ThaiD ก่อนหรือไม่
    - หากประชาชนมีแอป ThaiD และเคยยืนยันตัวตนกับ ThaiD แล้วสามารถพิสูจน์ยืนยันตัวตน(KYC) ผ่านแอป ThaiD ได้เลย
    - แต่หากยังไม่มีแอป ThaiD ขอแนะนำให้ทำการพิสูจน์ยืนยันตัวตน (KYC) กับแอปทางรัฐ
     
  • ทำไมต้องกรอกข้อมูลส่วนบุคคล และถ่ายภาพใบหน้า
    - เพื่อให้กระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวบุคคลมีความน่าเชื่อถือสูงเทียบเท่าแอปพลิเคชันของธนาคาร ป้องกันการสวมสิทธิ์โดยมิจฉาชีพ
     
  • ข้อมูลส่วนบุคคลไม่ตรงกับทะเบียนราษฎร์ในขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องทำอย่างไร
    - ให้ตรวจสอบข้อมูลให้ตรงกับบัตรประชาชนและกดดำเนินการอีกครั้ง
    1 เลขบัตรประชาชน
    2 เลขหลังบัตรประชาชน (Laser code)
    3 ชื่อจริงภาษาไทย ตามบัตรประชาชน
    4 นามสกุลภาษาไทย ตามบัตรประชาชน
    5 วันเดือนปีเกิด (พ.ศ.) ตามบัตรประชาชน หากไม่มีวัน เดือนเกิดให้ระบุ 
     
  • กรณีแสกนหน้าเพื่อยืนยันอัตลักษณ์ไม่ผ่านในขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องทำอย่างไร
    - ในกรณีระบบแจ้งผลการยืนยันใบหน้าไม่ตรงกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ให้ทำตามคำแนะนำในการถ่ายรูปอย่างเคร่งครัด
    - ให้เห็นใบหน้าชัดเจน
    - จัดวางใบหน้าให้อยู่ในกรอบที่กำหนด
    - อยู่ในที่ซึ่งมีแสงสว่างเพียงพอ


หากใบหน้าปัจจุบันมีความแตกต่างจากรูปบนบัตรประชาชนค่อนข้างมาก ซึ่งอาจเกิดจากอ้วนขึ้น หรือ ผอมลง หรือมีการทำศัลยกรรม โปรดติดต่อสำนักงานเขตหรือจุดบริการในการทำบัตรประชาชนใหม่เพื่อปรับปรุงรูปใบหน้าในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์

  • จำเป็นต้องเดินทางไปยืนยันตัวตนที่จุดให้บริการของไปรษณีย์ไทย Counter Service หรือตู้บุญเติมหรือไม่
    - หากสแกนหน้าผ่านแอปพลิเคชันทางรัฐไม่สำเร็จ แต่ใบหน้าเหมือนกับภาพบนบัตรประจำตัวประชาชน  สามารถไปยืนยันตัวตน ณ จุดให้บริการของไปรษณีย์ไทย Counter Service หรือตู้บุญเติม
     
  • ทำไมเมื่อกรอกข้อมูลเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักแล้ว ระบบแจ้งว่าท่านเคยลงทะเบียนแล้ว
    - ผู้ลงทะเบียนอาจเคยลงทะเบียนกับระบบบริการภาครัฐที่เชื่อมต่อกับระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนของสพร. (DGA) หากไม่แน่ใจว่า เคยลงทะเบียนไว้กับระบบใด หรือใช้รหัสผ่านใด ให้กด "ลืมรหัสผ่าน" เพื่อทำการกู้คืนรหัสผ่านของท่าน Reset Password

 

  • ทำไมต้องให้ระบุเบอร์โทรศัพท์มือถือ และยืนยันเบอร์โทรศัพท์มือถือด้วย One Time Password (OTP)
    - เพื่อให้กระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวบุคคลมีความน่าเชื่อถือสูงเทียบเท่าแอปพลิเคชันของธนาคาร และให้ระบบสามารถติดต่อท่านได้กรณีที่ท่านลืมรหัสผ่าน (Password) และใช้ยกระดับความปลอดภัยโดยการยืนยันตัวตนแบบสองชั้น (2 Factor Authentication) 

 

  •  ไม่ได้รับ OTP หลังจากยืนยันเบอร์มือถือต้องทำอย่างไร
    - โปรดตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์ที่ระบุให้ถูกต้อง และยืนยันเบอร์โทรศัพท์อีกครั้งหนึ่ง หากยังไม่ได้รับรหัส OTP ผ่าน SMS ภายใน 5 นาที กรุณากลับมาทำรายการอีกครั้งในภายหลัง 1 - 2 ชั่วโมง

 

  • จะทราบได้อย่างไรว่าการลงทะเบียนเสร็จสมบูรณ์-- สถานะการลงทะเบียนโครงการฯ เสร็จสมบูรณ์ต่อเมื่อผู้ใช้ถูกพาเข้าสู่ชั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบ

สิทธิโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ความหมายคือทำการตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล และยืนยันอัตลักษณ์ พร้อมกับการสร้างบัญชีผู้ใช้ (บัญชีผู้ใช้, รหัสผ่าน และ PIN) เสร็จสมบูรณ์

เช็กเงินดิจิทัล 10000 ล่าสุด แอป ทางรัฐ หลัง 1 ส.ค. อัปเดตสถานะลงทะเบียน

ที่มา: กรมประชาสัมพันธ์ และ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ Digital Government Development Agency (Public Organization) DGA