ทางรัฐล่ม ใช้ไม่ได้ เปิด 5 วิธี ยืนยันตัวตน ลงทะเบียนรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท
วิธีแก้ “ทางรัฐ” ล่ม ค้าง ใช้ไม่ได้ เช็ก 5 วิธี ยืนยันตัวตน ก่อนลงทะเบียนรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านตู้อเนกประสงค์ภาครัฐ, แอป ThaID, ตู้บุญเติม, ไปรษณีย์ไทย และเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-Eleven พร้อมไขข้อสงสัย ลงทะเบียนแล้วได้เงินวันไหน เงินดิจิตอลซื้ออะไรได้บ้าง ไม่ได้บ้าง?
เปิด 5 วิธี ยืนยันตัวตน ก่อน"ลงทะเบียนรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท" วิธีแก้ “ทางรัฐล่ม” ค้าง ใช้ไม่ได้ ทั้งผ่านตู้อเนกประสงค์ภาครัฐ, แอป ThaID, ตู้บุญเติม, ไปรษณีย์ไทย และเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-Eleven
โดยประชาชนทั่วไปที่จะเข้าร่วมโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท ในวันที่ 1 สิงหาคม - 15 กันยายน 2567 โดยดำเนินการผ่านแอปฯทางรัฐ บนสมาร์ทโฟน ไม่มีการจำกัดจำนวนประชาชนที่จะเข้าร่วมใช้สิทธิในโครงการ
เปิด 5 วิธี ยืนยันตัวตน ก่อนลงทะเบียนรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านแอปฯ ทางรัฐ
วิธีที่ 1 การยืนยันตัวตนผ่าน ตู้อเนกประสงค์ภาครัฐ
ขั้นตอนดังนี้
- สอดบัตรประชาชนที่ตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ เพื่อเข้าสู่ระบบ
- ศึกษาการให้ความยินยอมให้ข้อมูลส่วนบุคคลในการใช้ตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ แล้วกด "ตกลง"
- กด "ลงทะเบียนทางรัฐ" ที่หน้าเมนู
- หน้าจอจะแสดงรายละเอียดข้อมูลของผู้ใช้งาน จากนั้นให้กด "ยืนยันข้อมูล"
- กรอกรหัส OTP 6 หลัก ที่ได้รับทาง SMS ที่ส่งไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ใช้งาน จากนั้นกด "ยืนยันเบอร์โทรศัพท์มือถือ"
- กรอกเบอร์โทรศัพท์ของผู้ใช้งาน จากนั้นกด "ยืนยันเบอร์โทรศัพท์มือถือ"
- หน้าจอจะแสดงผลว่า "ท่านยืนยันข้อมูลสำเร็จแล้ว" จากนั้นให้ดึงบัตรประชาชนออก และกดลิงก์ที่ได้จาก SMS เพื่อดำเนินการต่อในแอปพลิเคชันทางรัฐ
- กรอกชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านที่ผู้ใช้งานลงทะเบียนผ่านตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐไว้ก่อนหน้านี้ จากนั้นกด "เข้าสู่ระบบ"
- เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว จะเข้าสู่หน้าการยืนยันตัวตน ให้ผู้ใช้งานกด "เริ่มยืนยันตัวตน"
- ศึกษาข้อแนะนำในการสแกนใบหน้า แล้วกด "เริ่มยืนยันตัวตน"
11. สแกนใบหน้าโดยจัดวางใบหน้าให้อยู่ในกรอบ
12. พยักหน้าช้าๆ อย่างต่อเนื่อง
13. ระบุ Pin Code 6 หลัก เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
14. ระบุ Pin Code เดิมอีกครั้ง เพื่อยืนยันตัวตน
15. เปิดการใช้งานสแกนใบหน้าโดยกด "ใช้งาน" จากนั้นทำการสแกนใบหน้า
16. เมื่อผู้ใช้สแกนใบหน้าสำเร็จ ให้กด "เริ่มใช้งาน"
17. จากนั้นผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้บริการต่างๆ ในแอปพลิเคชันทางรัฐได้ทันที
วิธีที่ 2 ยืนยันตัวตนผ่าน แอปพลิเคชัน ThaID
ขั้นตอนดังนี้
- เปิดแอปฯ ทางรัฐ แล้วกด "สมัครใช้งาน"
- กด "เข้าสู่ระบบ ด้วย ThaiD"
- ศึกษาข้อกำหนดและความเป็นส่วนตัว จากนั้นกด "ยอมรับ" จากนั้นระบบจะนำเข้าสู่ "แอปฯ ThaiD"
- กรอกรหัสผ่านที่ผู้ใช้งานได้จากการลงทะเบียนแอปฯ ThaiD
- ระบบจะนำไปสู่ การยืนยันตัวตนให้กดที่ "ยินยอม"
- กรอกรหัสผ่านอีกครั้ง
- จากนั้นระบบจะนำเข้าสู่ "แอปฯ ทางรัฐ"
- ระบุ Pin Code 6 หลัก เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
- เปิดการใช้งานสแกนใบหน้าโดยกด "ใช้งาน" จากนั้นทำการสแกนใบหน้าเพื่อเข้าสู่ระบบ
- เมื่อผู้ใช้สแกนใบหน้าสำเร็จให้กด "เริ่มใช้งาน"
- จากนั้นผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้บริการต่างๆ บน "แอปฯ ทางรัฐ" ได้ทันที
วิธีที่ 3 การยืนยันตัวตนผ่าน ตู้บุญเติม
ขั้นตอนดังนี้
- เปิดแอปฯ ทางรัฐ แล้วเลือกช่องทางการสมัครโดยกดเลือก "สมัครที่ตู้บุญเติม"
- เตรียมบัตรประชาชนและโทรศัพท์มือถือของท่านไปที่ตู้บุญเติมที่รองรับการยืนยันตัวตน
- เลือกเมนู "ทางรัฐ" แล้วทำตามขั้นตอนบอหน้าจอของตู้บุญเติม
- เสียบบัตรประชาชนของท่านที่ช่องเสียบบัตรประชาชนของตู้บุญเติม
- มื่อทำตามขั้นตอนที่ตู้บุญเติมเสร็จแล้ว ให้กดลิงก์ที่ได้รับทาง SMS เพื่อดำเนินการต่อในแอปฯ ทางรัฐ (กรุณาดึงบัตรประชาชนของท่านออกหลังจากดำเนินการเสร็จสิ้น)
- หลังจากกดลิงก์ที่ได้รับทาง SMS จะเข้าสู่ขั้นตอนสแกนใบหน้าในแอปฯ ทางรัฐ ศึกษาข้อแนะนำแล้วกด "เริ่มสแกนใบหน้า"
- สแกนใบหน้าโดยจัดวางใบหน้าให้อยู่ในกรอบ
- เมื่อผู้ใช้สแกนใบหน้าสำเร็จให้กด "สมัครสมาชิก"
- ศึกษาข้อกำหนดและความเป็นส่วนตัว แล้วกดทำเครื่องหมายที่ช่องสี่เหลี่ยม จากนั้นกด "ยอมรับ"
- กรอกชื่อ "บัญชีผู้ใช้" และ รหัสผ่าน ตามคำแนะนำ แล้วกด "ยืนยัน"
- ระบุ Pin Code 6 หลัก เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
- ระบุ Pin Code เดิมอีกครั้ง เพื่อยืนยันตัวตน
- เปิดการใช้สแกนอัตลักษณ์บุคคล
- เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนเสร็จสิ้นแล้วกด "เริ่มใช้งาน"
- จากนั้นผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้บริการต่างๆ ในแอปพลิเคชันทางรัฐได้ทันที
วิธีที่ 4 การยืนยันตัวตนผ่าน ไปรษณีย์ไทย
ขั้นตอนดังนี้
- เปิดแอปฯ ทางรัฐ แล้วเลือกช่องทางการการยืนยันตัวตน โดยกดเลือก "ยืนยันตัวตนที่ทำการไปรษณีย์"
- เตรียมบัตรประชาชน และโทรศัพท์มือถือของท่านไปยังที่ทำการไปรษณีย์ (สามารถใช้บริการได้ทุกสาขา)
- จากนั้นแจ้งเจ้าหน้าที่ว่าต้องการ "ยืนยันตัวตน แอปฯ ทางรัฐ" และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
- เมื่อทำตามขั้นตอนเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมตรวจสอบหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน และ ชื่อ-สกุล ในใบเสร็จ จากนั้นให้กดลิงก์ที่ได้รับทาง SMS เพื่อดำเนินการต่อในแอปฯ ทางรัฐ
- หลังจากกดลิงก์ที่ได้รับทาง SMS จะเข้าสู่ขั้นตอนการสแกนใบหน้าในแอปฯ ทางรัฐศึกษาข้อแนะนำแล้วกด "เริ่มสแกนใบหน้า"
- สแกนใบหน้าโดยจัดวางใบหน้าให้อยู่ในกรอบ
- เมื่อผู้ใช้งานสแกนใบหน้ายืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว ให้กด "สมัครสมาชิก"
- ศึกษาข้อกำหนดและความเป็นส่วนตัวแล้วกดทำเครื่องหมายที่ช่องสี่เหลี่ยม จากนั้นกด "ยอมรับ"
- กรอกชื่อ บัญชีผู้ใช้ และ รหัสผ่าน ตามคำแนะนำ แล้วกด "ยืนยัน"
- ระบุ Pin Code 6 หลัก เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
- ระบุ Pin Code เดิมอีกครั้งเพื่อยืนยันตัวตน
- เปิดการใช้งานอัตลักษณ์บุคคล โดยกดปุ่ม "ยืนยัน"
- เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนเสร็จสิ้นแล้วกด "เริ่มใช้งาน"
- จากนั้นผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้บริการต่างๆ ในแอปพลิเคชันทางรัฐได้ทันที
วิธีที่ 5 ยืนยันตัวตนผ่าน เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-Eleven
- เปิดแอปฯ ทางรัฐ แล้วเลือกช่องทางการการยืนยันตัวตน โดยกดเลือก "ยืนยันตัวตนที่ 7-Eleven"
- ระบุเลขบัตรประชาชน และเบอร์โทรศัพท์มือถือ จากนั้นกด "สร้าง QR Code"
- แจ้งพนักงานว่ามายืนยันตัวตนแอปฯ ทางรัฐ และแสดง QR Code ให้สแกน จากนั้นเสียบบัตรประชาชนที่เครื่องอ่านบัตร รับใบเสร็จแล้วกดลิงก์ที่ได้จาก SMS เพื่อดำเนินการต่อในแอปฯ ทางรัฐ
- หลังจากกดลิงก์ที่ได้รับทาง SMS จะเข้าสู่ขั้นตอนสแกนใบหน้าในแอปฯ ทางรัฐ ศึกษาข้อแนะนำแล้วกด "เริ่มสแกนใบหน้า"
- สแกนใบหน้าโดยจัดวางใบหน้าให้อยู่ในกรอบ
- เมื่อผู้ใช้งานสแกนใบหน้ายืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว ให้กด "สมัครสมาชิก"
- ศึกษาข้อกำหนดและความเป็นส่วนตัว แล้วกดทำเครื่องหมายที่ช่องสี่เหลี่ยม จากนั้นกด "ยอมรับ"
- กรอกชื่อ บัญชีผู้ใช้ และ รหัสผ่าน ตามคำแนะนำ แล้วกด "ยืนยัน"
- ระบุ Pin Code 6 หลัก เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
- ระบุ Pin Code เดิมอีกครั้ง เพื่อยืนยันตัวตน
- เปิดการใช้งานอัตลักษณ์บุคคล โดยกดปุ่ม "ใช้งาน"
- เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนเสร็จสิ้นแล้วกด "เริ่มใช้งาน"
- จากนั้นผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้บริการต่างๆ ในแอปพลิเคชันทางรัฐได้ทันที
ลงทะเบียนแล้วได้เงินวันไหน
- ได้รับเงินในช่วงไตรมาส 4 ปี 2567 ประมาณเดือนตุลาคม 2567
เงินดิจิทัล 10,000 บาท ซื้ออะไรได้บ้าง?
- สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ผักสด ผลไม้ อาหารสด เครื่องจักสาน เป็นต้น
- สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ข้าวสาร ไข่ไก่ เป็นต้น
- ยารักษาโรค เช่น ยาแก้ไข ยาแก้ท้องเสีย เป็นต้น
- ธูปเทียนและเครื่องสักการะ ชุดถวายสังฆทาน เป็นต้น
- เครื่องดื่ม (ไม่มีแอลกอฮอล์) สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก กะปิ น้ำปลา ซอสปรุงรส เป็นต้น
- สินค้าเพื่อการศึกษา เช่น เครื่องแบบนักเรียน เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ เป็นต้น
- สินค้าวัตถุดิบเพื่อการเกษตร เช่น ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์พืช เป็นต้น
เงินดิจิทัล 10,000 บาท ซื้ออะไรไม่ได้บ้าง?
ข้อมูลล่าสุดวันที่ 1 สิงหาคม 2567 สินค้า Negative list ดังนี้
- เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์
- โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน
- ผลิตภัณฑ์กัญชาและกระท่อม
- บัตรกำนัล
- บัตรเงินสด
- ทองคำ
- เพชร พลอย อัญมณี
- น้ำมันเชื้อเพลิง
- ก๊าซธรรมชาติ
- ร้านทำผม
- ร้านนวด
- ร้านเสริมสวย
- สลากกินแบ่งรัฐบาล
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ยาสูบ
- กัญชา
- กระท่อม
- พืชกระท่อม