ฮอต! เงินดิจิตอล 10000 ดิจิทัลวอลเล็ต ซื้อสินค้ารายใหญ่เจ้าเดียว พณ.แจงด่วน
ฮอตโซเชียล! เงินดิจิตอล 10,000 บาท หรือ เงินดิจิทัล 10000 ล่าสุด ตามนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาล ซื้อสินค้าจากธุรกิจรายใหญ่เจ้าสัวรายเดียว กระทรวงพาณิชย์ พณ. ชี้แจงด่วน
อัปเดตประเด็นฮอตโซเชียล! กรณี"เงินดิจิตอล 10000" หรือ เงินดิจิทัล 10000 ล่าสุด ตามนโยบาย"ดิจิทัลวอลเล็ต"ของรัฐบาล ซื้อสินค้าจากเครือข่ายธุรกิจรายใหญ่ เจ้าสัวรายเดียวนั้น เช็กกระทรวงพาณิชย์ พณ. ชี้แจงด่วนแล้ว
ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลถึงดิจิทัลวอลเล็ต สามารถซื้อสินค้าบริการจากธุรกิจรายใหญ่ได้เพียงเจ้าเดียว ทางสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า การชำระเงินภายใต้โครงการฯ เป็นแบบพบหน้า Face to Face โดยจะต้องตรวจสอบจาก
1. ที่อยู่ของร้านค้าเป็นไปตามที่ลงทะเบียนไว้กับโครงการฯ
2. ที่อยู่ของประชาชนที่ใช้สิทธิตามทะเบียนบ้านในขณะที่ลงทะเบียนโครงการฯ
3. ขณะที่ใช้จ่ายกับร้านค้า ต้องอยู่ในเขตอำเภอเดียวกัน การชำระเงินจึงจะสมบูรณ์
ประชาชนจะต้องใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็ก ที่รวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก โดยไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก-ค้าส่งสินค้าขนาดใหญ่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น
เงื่อนไขของสินค้าที่เข้าร่วมโครงการดิจิทัล 10,000 บาท
1.)สินค้าทุกประเภทเข้าร่วมโครงการได้ ยกเว้นสินค้า Negative List ได้แก่ สลากกินแบ่งรัฐบาล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ กัญชา กระท่อม พืชกระท่อม ผลิตภัณฑ์จากกัญชาและกระท่อม บัตรกำนัล บัตรเงินสด ทองคำ เพชร พลอย อัญมณี น้ำมัน เชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และ เครื่องมือสื่อสาร การปรับปรุงสินค้า Negative List ให้เป็นไปตามที่กระทรวงพาณิชย์ พิจารณากำหนด
การใช้จ่ายตามโครงการดิจิตอล 1 หมื่นบาท ไม่รวมถึงธุรกิจบริการ
วิธีการใช้จ่ายเงินสามารถใช้จ่ายได้ ดังนี้
รอบที่ 1 เป็นการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็กจนถึงร้านค้าสะดวกซื้อขนาดเล็ก
1. ประชาชนต้องชำระค่าสินค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์บนแอปพลิเคชันของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้า ที่มีลักษณะเข้าข่ายเป็นร้านค้าขนาดเล็กจนถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด โดยไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก-ค้าส่งสินค้าขนาดใหญ่ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น
2. ต้องมีการซื้อ-ขายสินค้ากันจริง
3. เป็นการใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ) โดยประชาชนต้องมีที่อยู่ในทะเบียนบ้านในอำเภอเดียวกันกับสถานประกอบการของผู้ประกอบการร้านค้าขนาดเล็ก
4. การซื้อ-ขายสินค้า ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมีการทำธุรกรรมซื้อขายและสแกน QR Code เพื่อชำระค่าสินค้ากันแบบพบหน้า (face-to-face) และไม่มีกระบวนการใด ๆ ในการซื้อขายที่ดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ หรือผ่านคนกลาง ไม่ว่าด้วยวิธีการใด และไม่ให้ทำซ้ำ ส่งต่อหรือวิธีการอื่นใดกับ QR Code ในแอปพลิเคชันของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมแบบพบหน้าดังกล่าว
รอบที่ 2 เป็นต้นไป เป็นการใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้า
1. ผู้ประกอบการร้านค้าต้องชำระค่าสินค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์บนแอปพลิเคชันของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้าอีกแห่งหนึ่ง
2. ต้องมีการซื้อ-ขายสินค้ากันจริง
ดังนั้นขอเตือนให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.moc.go.th หรือโทร. Call center 1203 (02-507-7000,02-507-8000)
สรุป ประชาชนจะต้องใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่รวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก โดยไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก-ค้าส่งสินค้าขนาดใหญ่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น และการใช้จ่ายตามโครงการฯ ไม่รวมถึงธุรกิจบริการ
อ้างอิง: ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์