'จัดซื้อจัดจ้าง' ต้องรู้! ล่าสุด ป.ป.ช. ปปป. สตง. ปปง. จับมือลุย ร้องเรียนพุ่ง

'จัดซื้อจัดจ้าง' ต้องรู้! ล่าสุด ป.ป.ช. ปปป. สตง. ปปง. จับมือลุย ร้องเรียนพุ่ง

ข้าราชการ พนักงานราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ ระวัง 'จัดซื้อจัดจ้าง' ต้องรู้! อัปเดต ป.ป.ช.-ปปป.-สตง.-ปปง. จับมือกันลุยโกงเงินหลวง หลังยอดร้องเรียนพุ่ง

แจ้งถึง ข้าราชการ พนักงานราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เกี่ยวกับเรื่อง 'จัดซื้อจัดจ้าง' ต้องรู้! อัปเดต ป.ป.ช.-ปปป.-สตง.-ปปง. จับมือกันลุยโกงเงินหลวง

การปราบโกงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง สานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ได้แก่

  1. สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.)
  2. กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.)
  3. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
  4. สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) 

ทั้งนี้ 4 หน่วยงาน บูรณาการความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ด้านการเงินและการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

 

นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. กล่าวว่า การบูรณาการความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบด้านการเงินและการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เป็นการดำเนินงานโดยอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ

ได้แก่ กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เพื่อบูรณาการในการตรวจสอบการกระทำความผิด รวมถึงผู้ร่วมกระทำความผิดในการทุจริตจัดซื้อจัดจ้างในระบบราชการ เพราะที่ผ่านมามีเหตุร้องเรียนจำนวนมาก

มีข้อสังเกตว่า

  • มูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐประจำปีในแต่ละปีนั้นมีจำนวนมหาศาล
  • จำนวนเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างมีจำนวนเฉลี่ยสูงถึงกว่าร้อยละ 80 ของเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 

นอกจากนี้ จากการทำงานของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดที่ได้ร่วมเครือข่าวภาคประชาสังคม ได้แก่ ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต ที่ได้ติดตามเฝ้าระวังกระบวนการจัดจ้างพิเศษ หรืองบประมาณมูลค่าสูงที่มีการจับตาจากภาคประชาชนว่าดำเนินการอย่างโปร่งใสหรือไม่

การบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีระบบ และจะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยมี สตง. ในฐานะแหล่งข้อมูลสำคัญในการสืบค้นระบบข้อมูลทางการเงินในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการต่าง ๆ ซึ่งจะมีแนวทางการตรวจสอบกระบวนการทางการเงินอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การร้องเรียนผ่านช่องทางต่างๆ เช่น

  • การร้องเรียนการทุจริตผ่านหมายเลขโทรศัพท์ 1205 ของสำนักงาน ป.ป.ช.
  • การพัฒนาระบบการไต่สวนให้ทันกรอบเวลาที่กำหนด
  • การสืบสวนเส้นทางทางการเงิน
  • รวมถึงการยึดทรัพย์ของเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำความผิด 

ซึ่งเป็นมาตรการที่จะถูกนำมาบังคับใช้อย่างเด็ดขาดและรวดเร็ว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

ถือเป็นการยกระดับความโปร่งใสของโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

  1. สร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคเอกชนที่จะเข้าร่วมเสนอราคาในโครงการภาครัฐ
  2. ก่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
  3. เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง
  4. ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศในการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ
  5. ส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม 

และที่สำคัญ จะช่วยให้เงินภาษีของประชาชนถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ

อ้างอิง - สำนักงาน ป.ป.ช.